ผักเบี้ยหิน ผักโขมหิน

29 กรกฏาคม 2558 สมุนไพร 0

ผักเบี้ยหิน ใช้ปรุงเป็นอาหารหรือรับประทานสดแล้ว ยังมีสรรพคุณทางยา แก้เหงือกบวม แก้เจ็บคอ ขับระดูขาว และใช้ทาภายนอกแก้แผลอักเสบ เป็นต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trianthema portulacastrum Linn.
วงศ์ : AIZOACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ผักโขมหิน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก ฤดูเดียว เลื้อยทอดไปบนพื้นดิน ยาวถึง 1 เมตร ไม่มีรากงอกจากข้อ ลำต้นกลมสด อวบน้ำ สีเขียวแกมม่วง เส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 2-5 มม. ผิวลำต้นเรียบ เป็นมัน กิ่งอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย

  • ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวแบบตรงข้าม ใบรูปไข่ กลม รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ โคนใบมน ปลายใบมน ขอบ ใบเรียบ มีเส้นสีม่วงตามแนวขอบใบ ผิวใบเรียบหรือมีขนเล็กน้อย ใบกว้าง 1-4.5 ซม. ยาว 1.5-5 ซม. ก้านใบยาว 5-12 มม. ก้านใบเป็นร่องเล็กๆด้านบน ใบและยอดอ่อนอ่อนมีขนปกคลุมเล็กน้อย
  • ดอก เป็นดอกเดี่ยว เกิดที่ซอกใบ ด้านซ้ายหรือขวาสลับกันในแต่ละข้อ ดอกฝังตัวในหลอด กลีบที่เชื่อมติด กับโคนก้านใบในซอกใบ ไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอกบาน 4-5 มม. ข้างๆหลอดกลีบมี ใบประดับ 2 อัน สีม่วง แกมเขียว รูปสามเหลี่ยมกว้าง 1-2.5 มม. ยาว 3-4 มม. หลอดกลีบสีม่วงแกมเขียว ติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 1-1.5 มม. ไม่ ร่วง กลีบดอก 5 กลีบ สีชมพูอ่อนหรือชมพูแกมขาว แยกกัน กลีบรูปขอบขนานปลายแหลม กว้าง 1-1.5 มม. ยาว 2- 3 มม. ตอนปลายกลีบเป็นติ่งแหลมสีม่วง เกสรเพศผู้ จำนวนมาก ติดบนกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสีขาวยาว 2-3 มม. อับเรณูสีชมพู เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่ superior ovary มีก้านเกสรเพศเมียยาว 3 มม. ยอดเกสรเป็นเส้น รังไข่รูป ทรงกระบอก 1 ห้อง ออวุล 2-8 อัน axile placentation
  • ผลและเมล็ด ผลแห้งแบบ turbinate ติดที่ซอกใบภายในหลอดกลีบ เมล็ดกลมหรือรี ค่อนข้างแบน สี ดำ เส้นผ่าศูนย์กลางเมล็ด 1-1.5 มม. จำนวน 2-8 เมล็ด

pagkomhintonpagkomhinlas pagkomhinbaipagkomhindok

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบความชื้นปานกลาง
ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด

สรรพคุณทางสมุนไพร

  • ทั้งต้น ไทยใช้เป็นยาแก้ฟกบวม บำรุงโลหิต ขับลม ในประเทศอินเดีย ใช้ปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ เป็นโรคไต
  • ราก แก้ลมอัณฑพฤกษ์ เจริญไฟธาตุ ขับเสมหะ และริดสีดวงทวาร ทำให้ประจำเดือนมาปกติและ เป็นยาถ่าย
  • ตำรายาไทยจะใช้ทั้งต้นเป็นยาบำรุงโลหิต (ทั้งต้น)
  • รากมีสรรพคุณช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
  • ช่วยแก้ลมอัณฑพฤกษ์ (ราก)
  • รากใช้เป็นยาขับเสมหะ (ราก)
  • ช่วยแก้อาการเจ็บ แก้เหงือกบวม (ใบ)
  • ทั้งต้นมีสรรพคุณเป็นยาขับลม (ทั้งต้น)
  • ช่วยแก้โรคท้องมาร เยื่อบุช่องท้องอักเสบ (ทั้งต้น)
  • รากมีสรรพคุณเป็นยาถ่าย (ราก)
  • ในประเทศอินเดียจะใช้ทั้งต้นปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ทั้งต้น)
  • ช่วยขับระดูขาวของสตรี (ใบ)
  • รากใช้เป็นยาช่วยทำให้ประจำเดือนของสตรีมาเป็นปกติ แต่ถ้าใช้มากเกินไปจะทำให้แท้งบุตรได้ (ราก)
  • ใช้รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
  • ใช้รักษาโรคไต (ทั้งต้น)
  • ใบใช้เป็นยาทาภายนอกแก้แผลอักเสบ (ใบ)
  • ทั้งต้นใช้เป็นยาแก้ฟกบวม (ทั้งต้น)

pagkomhinkla pagkomhins pagkomhinap

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของผักเบี้ยหิน
จากการศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของผักเบี้ยหินกับหนูทดลอง โดยแบ่งหนูแรทที่ถูกกระตุ้นให้เป็นเบาหวานด้วย streptozotocin ออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6 ตัว แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มที่รักษาด้วยยามาตรฐานซึ่งใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide) ในขนาด 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนอีก 2 กลุ่มให้สารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหิน ขนาด 100 และ 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าสารสกัดเมทานอลของผักเบี้ยหินสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูแรทได้อย่างมี นัยสำคัญ หลังกินเข้าไป 1 ชั่วโมง และจะออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลได้ดีที่สุดหลังกินเข้าไป 4 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าสารดังกล่าวมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดของหนูที่เป็นเบาหวานได้เทียบเท่ากับการรักษาโดยใช้ยามาตรฐานที่ใช้ลดน้ำตาลในเลือด (glibenclamide)

ข้อควรระวัง ผู้หญิงที่กำลังมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เพราะอาจทำให้แท้งได้

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene MangaXP