ผักเหลียง ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

28 สิงหาคม 2556 ไม้พุ่มเตี้ย 0

ผักเหลียงโดยธรรมชาติผักเหมียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า เจริญเติบโตได้ดีภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ พบได้ทั้งบริเวณเนินเขาและที่ราบในความสูงจากระดับน้ำทะเล 2 500 เมตร หรือสูงกว่านั้น ในบริเวณที่มีดินร่วนซุยและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีต้นไม้ปกคลุมให้ร่มเงาเพียงพอ ฝนตกชุกคือมีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตรต่อปี ระยะเวลาฝนตกไม่น้อยกว่า 150 วันต่อปีและฝนแล้งติดต่อกันไม่เกิน 45 วัน

ผักเหมียงจึงพบมากในภาคใต้ตอนกลางฝั่งตะวันตกของประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ ตรัง (ฝั่งอันดามัน) ชุมพร (ฝั่งอ่าวไทย) เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าผักเหมียงขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือมีการปลูกแถบจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตกมากกว่าฝั่งตะวันออก อาจเป็นเพราะปริมาณน้ำฝนชุกและต่อเนื่องในฝั่งตะวันตกจึงเหมาะสมกว่าที่จังหวัดชุมพรได้มีการปลูกผักเหมียงใต้ร่มเงาไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน ชมพู่ หรือร่วมกับต้นไม้ชนิดอื่นๆ เช่น จันทร์เทศ กานพลู หมาก โดยปลูกให้ผักเหมียงขยายพันธ์งอกไปเป็นกลุ่มใต้ร่มเงา และมีการเก็บเกี่ยวตลอดโดยให้ต้นสูงได้ประมาณศีรษะคน (สวนนายสนั่น นางบุญหนุน ชูกลิ่น ที่ ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร) ที่อำเภอนาหม่อม จังหวัดสงขลาได้มีการปลูกผักเหมียงในร่องยาง คนใต้นิยมนำมากินเป็นผักเคียงกับขนมจีนน้ำยาปักษ์ใต้ อาหารที่ได้รับความนิยมที่ประกอบจากผักเหมียง คือ ผักเหมียงต้มกะทิหรือแกงเคย ผักเหมียงได้ชื่อว่าเป็น ราชินีแห่งผักพื้นบ้านภาคใต้

pakmiang

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.
วงศ์ : GNETACEAE
ชื่อสามัญ :ผักกระเหรี่ยง
ชื่อท้องถิ่น :เขลียง,เหลียง, เรียนแก่ (นครศรีธรรมราช) ผักกะเหรี่ยง (ชุมพร) ผักเมี่ยง, เหมียง (พังงา)

ลักษณะทั่วไปของผักเหลียง

  • ต้น:ผักเหมียงเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 2 5 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้นประมาณ 20 เซนติเมตร เนื้อไม้ค่อนข้างอ่อนสามารถโน้มลงได้โดยลำต้นไม้หัก ผิวเปลือกเรียบ เปลือกอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
  • ใบ :ใบผักเหมียงมีลักษณะคล้ายยางพารา ใบออกมาจากปลายยอดของต้นและกิ่ง ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปรีปลายใบเรียวแหลม มีขนาด กว้าง 4 10 เซนติเมตร ยาว 10 20 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 1 2 เซนติเมตร เนื้อใบบางแต่เหนียวคล้ายแผ่นหนัง ใบมีสีเขียวเป็นมัน แต่หากต้นอยู่ในที่โล่งสีของใบจะจางลงหรืออาจขาวทั้งหมด ยอดใบอ่อนมีรสชาติหวานมัน รับประทานได้ทั้งดิบและสุก
  • ดอก :ผักเหมียงมีทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย โดยดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะออกต่างต้นกัน กล่าวคือหากต้นใดมีดอกตัวผู้จะไม่มีดอกตัวเมีย ดอกตัวผู้เป็นดอกขนาดเล็กออกเป็นช่อตาม ข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 3 4 เซนติเมตร ในแต่ละช่อมีปุ่มดอกขนาดเล็กเรียงกันเป็น ข้อๆ ประมาณ 5 8 ข้อ กลีบดอกมีสีขาว ดอกตัวเมียเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีขนาดของดอก ใหญ่กว่าดอกตัวผู้ ดอกออกเป็นช่อตามข้อของกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 5 7 เซนติเมตร ใน แต่ละช่อมีปุ่มดอกเรียงเป็นข้อๆ ประมาณ 7 10 ข้อ ทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะเริ่มออก ดอกในช่วง เดือนพฤศจิกายน ธันวาคม ผลแก่สามารถเก็บไว้ขยายพันธุ์ได้ในช่วงเดือนมีนาคม เมษายน ผักเหมียงจะออกดอกเมื่อมีอายุประมาณ 5 6 ปี
  • ผล :จะมีลักษณะเป็นรูปกระสวย เปลือกกว้างประมาณ 1 1.5 เซนติเมตร มีความยาว ประมาณ 2.5 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีเปลือกสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลือกและเนื้อจะมีสีเหลือง เนื้อมีรสหวาน ใน 1 ช่อจะมีผลประมาณ

pakmiangrom

pakmiangdok
pakmiangbai
pakmiangpol

การใช้ประโยชน์จากต้นเหลียง :
ใบผักเหมียงใช้รับประทานสดและประกอบเป็นอาหาร เช่น แกงเลียง ต้มกะทิ ใช้ห่อเมี่ยงคำ ผัดวุ้นเส้น แกงไตปลา และผัดผัก ในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซีย นิยมนำเนื้อในเมล็ดของผักเหมียงมาทำข้าวเกรียบ

สรรพคุณทางยา – ใบ รับประทานเพื่อบำรุงเส้นเอ็น กระดูก สายตา และสามารถนำมาใช้ลอกฝ้าได้อีกด้วย

วิธีการขยายพันธุ์ผักเหลียง
เกษตรกรที่คิดจะปลูกผักเหลียงไว้ขายเป็นรายได้เสริมหรือปลูกเพื่อบริโภค เริ่มลงมือปลูกวันนี้เพียง 2 ปี ก็เก็บยอดขายได้ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ตลอดไป ขยายพันธุ์ง่ายได้ผลทุกวิธี ผักเหลียงเป็นพันธุ์ไม้ป่า และไม้ยืนต้นขนาดกลางที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพร่มเงา เป็นพืชที่นิยมบริโภค เนื่องจากเป็นผักป่าปลอดสารเคมี มีรสชาติอร่อยและมีคุณค่าทางอาหารสูง สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายชนิด ปัจจุบันมีการขยายปลูกผักเหลียงในสวนผลไม้ สวนยางพารา ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น ด้วยเมล็ด ไหลราก กิ่งตอนและปักชำ โดยมีวิธีการดังนี้

pakmiangpolsook

  1. การเพาะเมล็ดผักเหลียง
    นำเมล็ดมาล้างให้สะอาด แล้วนำไปเพาะบนกระบะที่มีส่วนผสมของดินทรายกับขี้เถ้าแกลบ กลบให้วัสดุเพาะเสมอเมล็ด รดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ เมล็ดจะเริ่มงอกประมาณเดือนที่ 4 จนถึง 1 ปี ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะมีอัตราการรอดสูง ทรงพุ่มสวย ทนแล้งได้ดี แต่อายุการเก็บเกี่ยวต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
  2. การตอนกิ่งผักเหลียง
    การตอนกิ่งควรตอนจากต้นหรือกิ่งกระโดงที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป โดยสังเกตเปลือกของกิ่งควรมีสีน้ำตาลอมเขียวเล็กน้อย การควั่นควรควั่นให้ชิดกับข้อ รอยควั่นมีระยะห่างกันเท่ากับเส้นรอบวงของต้นหรือกิ่งที่จะตอน เมื่อควั่นเสร็จแกะเปลือกขูดเนื้อเยื่อเจริญออกให้หมด ใช้ขุยมะพร้าวแช่น้ำจนอิ่มใส่ถุงพลาสติกผูกปากถุง กรีดถุงจากก้นถึงปากถุงนำมาหุ้มที่รอยควั่นผูกเชือกหัวท้ายให้แน่น หมั่นตรวจดูความชื้นอย่าปล่อยให้แห้งรากจะงอกภายในเวลาประมาณ 2 3 เดือน ตรวจดูรากสามารถดูดน้ำได้หรือไม่ เมื่อรากทำงานดีแล้วตัดเอาลงถุงปลูก เมื่อต้นแข็งแรงดีจึงนำลงหลุมปลูก การปลูกด้วยกิ่งตอนจะได้ทรงพุ่มดี ให้ผลผลิตมากและรวดเร็ว
    pakmiangking
  3. การใช้ต้นจากรากแขนง
    ผักเหมียงที่มีอายุประมาณ 4 5 ปี หากต้นและรากเจริญดีก็จะงอกต้นใหม่ สามารถขุดนำไปปลูกได้ แต่อัตราการรอดตายประมาณร้อยละ 50 80 เพื่อเพิ่มอัตราการรอดตายควรนำต้นใหม่มาปลูกในถุงเพาะชำจนมีความแข็งแรงเสียก่อนนำลงปลูก

การเตรียมพื้นที่ปลูกผักเหลียง
ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ต้นพันธุ์ที่ใช้ต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง วางต้นพันธุ์ให้เอียง 45 องศา ในหลุมที่ขุดแล้วกลบดินแต่พอแน่น รดน้ำให้ชุ่มใช้ไม้หลักปักผูกเชือกให้เรียบ ร้อยเพื่อป้องกันลม ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนหรือช่วงฝนตกจะช่วยให้ไม่เสียเวลา และแรงงาน ในการรดน้ำ การให้ปุ๋ยแบ่งใส่ 2 ครั้ง ในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝน ใช้ปุ๋ยสูตร อัตรา 30 กิโลกรัม/ไร่/ปี กรณีปลูกร่วมในสวนยาง ในสวนไม้ผล ในช่วงต้นฤดูฝนใช้ปุ๋ยอัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่/ปี

pakmiangyang
pakmiangsuan

การเก็บเกี่ยวผักเหลียง
เริ่มเก็บเกี่ยวเมื่อต้นผักเหมียงมีอายุ 2 ปีขึ้นไป เก็บเกี่ยว 15-30 วัน/ ครั้ง เก็บยอดอ่อนถึงยอดเพสลาด ควรเด็ดให้ชิดข้อ ไม่เด็ดกลางข้อหรือตัด เพราะจะทำให้การแตกยอดอ่อนในครั้งต่อไปจะช้า เมื่อเก็บแล้วอย่าให้ใบหรือยอดอ่อนนั้นถูกแสงแดดและลม ควรพรมน้ำแต่พอชุ่ม สามารถเก็บได้นาน ประมาณ 5-6 วัน

pakmiangyod

โรคและแมลงที่ปรากฏ :

  1. โรคใบจุดส่าหร่าย (Agal leaf-spot, red rust)
    เชื้อสาเหตุ : Cephaleuros virescens
    ลักษณะของโรค : เป็นจุดกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร มองเห็นเป็นขุยฟูเหมือนกำมะหยี่ มีสีเขียวอมเหลือง สีส้มหรือสีน้ำตาลอมส้ม เมื่อขูดจุดแผลจะหลุดโดยง่าย เนื้อเยื่อเป็นสีเหลือง
  2. ตะไคร่บนใบ (Leaf epiphyte)
    เชื้อสาเหตุ : เป็นการเจริญร่วมกันของราและสาหร่าย
    ลักษณะของโรค : เป็นจุดเล็ก ๆ อาจมีสีขาวอมเทา สีเขียวอ่อน หรือสีอื่น ๆ พบในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง ทรงพุ่มหนาทึบ ไม่ตัดแต่งกิ่ง

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้พุ่มเตี้ย

แสดงความคิดเห็น