ผ้าย้อมคราม ผ้าสีครามภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น

สีครามเป็นสีย้อมธรรมชาติที่เก่าแก่มาก ซึ่งมนุษย์รู้จักกันมามากว่า 6000 ปี ประชากรที่อาศัยในเขตร้อนของโลกล้วนเคยทำสีครามจากต้นไม้ชนิดต่างๆตามภูมิภาคนั้นๆ แต่สีครามคุณภาพดีผลิตจากเอเชีย ดังเช่น สีครามจากอินเดียเป็นที่นิยมของคนอังกฤษมากกว่าสีครามจากเยอรมันและฝรั่งเศส แต่การใช้สีครามลดลงเหลือเพียง 4 % ของทั่วโลกในปี 2457 ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2535 ประเทศของเราพบกับปัญหา มลพิษจากสิ่งแวดล้อม สาเหตุหนึ่ง เกิดจากสารเคมีสังเคราะห์ซึ่งรวมถึงสีย้อมด้วย สีย้อมผ้าส่วนใหญ่เป็นออกไซด์ของโลหะหนัก ซึ่งโลหะหนัก หลายชนิดเป็นสารก่อมะเร็ง ใส่แล้วรู้สึกร้อน ดังนั้น จึงหันมานิยมสีย้อมธรรมชาติ ซึ่งในขณะ เดียวกันก็ได้นำภูมิปัญญาเก่า ๆ ที่ได้สืบทอดกันมาแต่สมัยโบราณจากเดิมเกือบลือหายไปแล้วนั้น กลับมาพัฒนาเป็นอาชีพหลักของลูกหลานในทุกวันนี้

payomcrams

ผ้าย้อมคราม เป็นผ้าพื้นเมือง จ.สกลนคร ที่มีมาแต่โบราณ ปัจจุบันเป็นที่รู้จักและยอมรับถึงคุณภาพ สวยงาม สวมใส่สบาย แต่สำหรับชาวบ้านผู้ผลิตกลับไม่ค่อยได้มีผลประโยชน์เรื่องรายได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากขาดความรู้ด้านการแปรรูป ทำให้เสียโอกาสเพิ่มมูลค่าสินค้าไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ หรือ สพภ. เห็นความสำคัญ จึงเข้าช่วยต่อยอดผ้าย้อมคราม ทั้งพัฒนาการผลิต เติมดีไซน์สมัยใหม่ และการตลาดเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้ชุมชน ที่สำคัญยังเชื่อมโยงเป็นสินค้ารักษ์โลก ผู้สวมใส่ภูมิใจได้ว่านอกจากจะได้ใส่เสื้อผ้าสวยงามแล้ว ยังมีส่วนช่วยสิ่งแวดล้อมด้วย และวันนี้ทีม ช่องทางทำกิน ก็มีข้อมูลผ้าย้อมครามมานำเสนอ

payomcramdok

ประธานวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมคราม ผ้าไหม บ้านกุดแฮด ต.กุดบาก จ.สกลนคร เล่าให้ฟังถึงที่มาของ ผ้าย้อมคราม ว่า บ้านกุดแฮดเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาว ไทยกะเลิง มีฝีมือในเรื่องการทำผ้าย้อมครามที่ได้รับถ่ายทอดภูมิปัญญามาจากรุ่นสู่รุ่น ในอดีตจะทอเป็นผ้านุ่ง สวมใส่ในชีวิตประจำวัน ภายหลังความนิยมผ้าทอย้อมครามมีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการที่มีบุคคลภายนอกสนใจ ทั้งนักท่องเที่ยว รวมถึงมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อผ้าย้อมครามถึงในชุมชน ทำให้ชาวบ้านเริ่มรวมกลุ่มตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามขาย หารายได้เสริมจากอาชีพหลักคือการทำนา
ชาวไทยกะเลิงเชื่อว่า คราม เป็นต้นไม้ที่มีชีวิตและจิตวิญญาณของธรรมชาติ เปรียบเท่ากับเทพยดา เมื่อนำมาย้อมผ้าย้อมครามสวมใส่ก็จะเหมือนมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คอยปกป้อง ทำให้ผู้สวมใส่สุขกายสบายใจ แต่ก่อนหน้านี้เริ่มหาคนที่ทำสวย สมบูรณ์แบบ น้อยลง จนภายหลังจึงมีการผลิตเพื่อจำหน่ายได้มากขึ้น หลังได้รับการสนับสนุนการผลิต และการตลาด จาก สพภ. และ ม.เกษตรศาสตร์ สกลนคร ทำให้มองเห็นช่องทางในการสร้างรายได้ให้กับชุมชนมากขึ้น

จากที่ขายเป็นผ้าผืน ก็นำมาดัดแปลง แปรรูป จนได้ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย เป็นที่ต้องการ จนทุกวันนี้ผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด ตอนนี้ในกลุ่มก็มีความตื่นตัวค่อนข้างสูงในเรื่องนี้ สิ่งที่ทุกคนเห็นพ้องกันก็คือ ภูมิปัญญา ความรู้เก่าก่อนของบรรพบุรุษจะถูกรวบรวมไว้เพื่อถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน ให้ได้เรียนรู้รากเหง้าที่มา วัฒนธรรมของเรา และเชื่อว่าสิ่งที่คนรุ่นเราได้เริ่มไว้จะต่อยอดสร้างรายได้ให้ลูกหลานในชุมชน ไม่ต้องเดินทางออกไปทำงานไกลบ้านอีกต่อไป

วัตถุดิบที่ใช้ในการย้อมสีผ้าด้วยน้ำคราม ได้แก่

  • ฝ้าย
  • น้ำคราม ใบคราม ต้นคราม (เป็นไม้พุ่มล้มลุก ปลูกด้วยเมล็ด เมื่อต้นครามอายุได้ 3-4 เดือน ใบและกิ่งจะให้สีน้ำเงิน)
  • น้ำด่าง ปูนขาว (สำหรับกินหมาก), น้ำขี้เถ้า, มะขามเปียก
  • น้ำสมอ
  • น้ำสะอาด

อุปกรณ์

  • ถังที่มีฝาปิด (โอ่ง)
  • เส้นฝ้าย
  • ขัน
  • ส้อมกวนคราม
  • ตะแกรงกรองคราม
  • พลาสติก

ขั้นตอนการทำ
เริ่มจากการเตรียมใบคราม นำทั้งกิ่งและใบมามัดรวมกันเป็นฟ่อน 10 กิโลกรัม ใส่ลงไปในถัง 200 ลิตร ใช้มือกดให้แน่น เติมน้ำให้ท่วมหลังมือ แช่ทิ้งไว้ 12 ชั่วโมง ทำการกลับด้านครามแช่ไว้อีก 12 ชั่วโมง จากนั้นแยกกากใบออกทิ้ง จะได้น้ำครามสีเหลืองปนเขียวประมาณ 100 ลิตร เสร็จแล้วเติมปูนขาว 500 กรัมลงไป ทำการตีน้ำคราม หรือเรียกว่าซ้อมคราม 30-40 นาที จนฟองยุบ พักทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้เนื้อครามตกตะกอนที่ก้นถัง รินน้ำใสสีน้ำตาลเหลือง ๆ ชั้นบนทิ้ง เหลือไว้แต่ชั้นล่างที่จะเป็นเนื้อครามเนื้อเนียนละเอียด

payomcramton

payomcrammor

การเตรียมน้ำย้อม
ผสมเนื้อครามเปียก 1 กิโลกรัม ต่อน้ำขี้เถ้า 3 ลิตร แช่ไว้ 3 วัน จากนั้นค่อยเติมน้ำมะขามเปียกต้ม 3 ลิตรลงไป ทำการโจกคราม (ตักสูง ๆ เทลง) ทุกเช้า-เย็น สังเกตดูเมื่อเห็นน้ำครามให้สีเขียวอมเหลือง ฟองสีน้ำเงินเข้ม ไม่แตกยุบ แสดงว่าน้ำครามสมบูรณ์ พร้อมต่อการใช้ย้อมผ้าแล้ว

ขั้นตอนการย้อม
ให้นำเส้นใยผ้าฝ้ายที่ต้องการย้อมมาล้างไขมัน สะอาดแล้วก็บิดให้หมาด ๆ จับเป็นวง จุ่มลงหม้อน้ำย้อม กำให้แน่นแล้วไล่เรียงไปเรื่อย ๆ รอบวงของฝ้าย สังเกตสีน้ำย้อมจะใสขึ้นจึงหยุดย้อม บิดฝ้ายที่ย้อมให้หมาด ๆ กระตุกให้เรียงเส้น เก็บไว้ในภาชนะมิดชิดหรือห่อด้วยถุงพลาสติก
ละลายครามกับน้ำด่างพอประมาณให้เนื้อครามเหลว โจกคราม 2-3 ครั้ง พักไว้ 4-5 ชั่วโมง จากนั้นนำฝ้ายที่ย้อมไว้ในรอบแรกมาย้อมอีกครั้งและทำเช่นเดิมอีก ย้อมซ้ำจนได้สีเข้มตามที่ต้องการ จึงนำเส้นใยฝ้ายที่ย้อมนั้นมาล้างในน้ำให้สะอาด จนไม่เหลือสีครามออกมาในน้ำล้าง บิดให้หมาด ผึ่งในที่ร่มให้แห้ง ก่อนนำไปสู่กระบวนการทอ

payomcramfay payomcramtak payomcramkor payomcramsaey payomcramtag payomcramtor

จุดเด่นของผ้าย้อมครามบ้านกุดแฮด
ทำมาจากฝ้ายแท้ ย้อมครามแบบธรรมชาติ โดยเส้นใยธรรมชาติจะมีความหนา เมื่อนำมาทอผ้าจะทำให้เนื้อนุ่ม ระบายอากาศได้ดี โดยส่วนใหญ่จะทอขายเป็นผืน ๆ ราคาเฉลี่ยอยู่ที่เมตรละ 200-300 บาท แต่ละคนจะทอผ้าได้สูงสุด 2-3 เมตรต่อวัน ส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างจากการทำนา ปัจจุบันโดยเฉลี่ยชาวบ้านที่นี่จะมีรายได้จากการทำผ้าย้อมครามประมาณ 15,000 บาทต่อคนต่อปี

ที่มา
วิสาหกิจชุมชนทอผ้าย้อมครามฯ บ้านกุดแฮด ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร ติดต่อได้ที่ โทร.08-7946-6861, 08-7234-7212
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสกลนคร กรมประชาสัมพันธ์

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ของใช้ในชีวิตประจำวัน

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene MangaXP