ฝรั่งเป็นไม้ผลที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตและการดำรงชีพของเกษตรกรไทย มาเป็นเวลานานจนถึงทุกวันนี้ เป็นไม้ผลขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ที่มีอายุการให้ผลผลิตเร็ว ออกดอกติดผลง่าย นอกจากนี้ยังมีคุณค่าทางโภชนาการ คือ ผลฝรั่งอุดมไปด้วย วิตามินซี แคลเซียม และเหล็ก ในปริมาณสูง และยังมีเยื่อใยสูง หากบริโภคทุกวันจะช่วยแก้ปัญหาระบบขับถ่ายได้เป็นอย่างดี จึงจัดเป็นผลไม้อนามัยอย่างแท้จริง สำหรับแหล่งปลูกฝรั่งที่สำคัญในประเทศไทยจะนิยมปลูกในเขตภาคกลางตอนล่าง คือเขตอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Psidium guajava L.
ชื่อสามัญ : Guava
วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่ออื่น : จุ่มโป่ (สุราษฎร์ธานี) ชมพู่ (ปัตตานี) มะก้วย (เชียงใหม่,เหนือ) มะก้วยกา (เหนือ) มะกา (กลาง,แม่ฮ่องสอน) มะจีน (ตาก) มะมั่น (เหนือ) ยะมูบุเตบันยา (มลายู นราธิวาส) ยะริง (ละว้า เชียงใหม่) ยามุ (ใต้) ย่าหมู (ใต้) และ สีดา (นครพนม,นราธิวาส)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ขนาดกลาง สูง 3-5 เมตร ผิวเปลือกต้นเรียบเกลี้ยง กิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม ใบ หนา หยาบ ใต้ท้องใบเป็นริ้ว เห็นเส้นใบชัดเจน ขนขึ้นนวลบาง ใบยาวประมาณ 10 ซม. กว้างประมาณ 6 ซม. ดอกช่อ ช่อหนึ่งมีดอกย่อย 3 – 5 ดอก ดอกเล็ก สีขาวอมเขียวอ่อน กลีบเลี้ยงแข็ง ผล รูปทรงกลม รูปไข่ หรือรูปรี ผิว เกลี้ยง สีเขียว เนื้อในขาว รสหวาน กรอบ ผลสุกสีเหลือง- เขียว มีเมล็ดเล็กๆ แข็งอยู่ภายใน
พันธุ์ต่างๆ
สรรพคุณ
ฝรั่งมีสารแทนนินอยู่มาก สารนี้มีฤทธิ์ฝาดสมานน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่ง สารแทนนินในฝรั่งยังยับยั้งการลุกลามของเชื้อโรค ช่วยสมานท้องและลำไส้ โดยช่วยลดอาการอักเสบของกระเพาะลำไส้ และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียน และยังช่วยอาการเกร็งตัวของลำไส้ ทำให้อาการปวดท้องบรรเทาลงได้ แก้ปวดเบ่ง
วิธีและปริมาณที่ใช้
– ใช้ฝรั่งแก้ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน
วิธีที่ 1 รับประทานสด
วิธีที่ 2 ต้มดื่ม
วิธีที่ 3 ชงน้ำร้อนดื่ม
วิธีที่ 4 ต้มคั้นเอาน้ำ
วิธีที่ 5 บดผงรับประทาน
– ใช้เป็นยาห้ามเลือด
– ช่วยระงับกลิ่นปาก
– เป็นยากันหรือแก้โรคลักปิดลักเปิด ฝรั่งมีไวตามินซีมาก
หมายเหตุ
ฝรั่งที่ควรปลูก ควรเป็นฝรั่งขี้นก เพราะมีโรคน้อย มีเพลี้ยแป้งน้อย ดูแลรักษาง่าย ที่สำคัญมีสรรพคุณทางยาที่ดีที่สุด มีไวตามินซีสูงกว่าฝรั่งพันธุ์อื่น ๆ
สารเคมี
ใบ มีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วย Caryophyllene cineol, นอกจากนี้ยังมี Tannin, sesquiter penoids และ triterpenoid compounds.
ผล มี fixed oil 6% Volatile oil 0.365% tannin 8-15% beta-sitosterol, quercetin, Vitamin C (330 mg.%), Arabinose,
ฝรั่งเป็นไม้ผลที่ปรับตัวและเจริญได้ดีทั้งในเขตร้อนและกึ่งร้อน การเลือกสภาพพื้นที่หรือการเตรียมพื้นที่ปลูกให้เหมาะสมควรพิจารณาดังนี้
การขยายพันธุ์
วิธีการขยายพันธุ์ที่ไม่ทำให้ฝรั่งกลายพันธุ์ และเป็นที่นิยมของเกษตรกรมีอยู่ 2 วิธีการคือ
การตอนกิ่ง โดยใช้วิธีการตอนแบบควั่นกิ่ง ซึ่งมีขั้นตอนปฏิบัติ ดังนี้
การปักชำกิ่ง วิธีการปักชำที่ประสบผลสำเร็จ มีอยู่ 2 วิธีการ คือ
การปลูก
การปลูกฝรั่งแบบยกร่อง :
การปลูกฝรั่งและไม้ผลทุกชนิดบนพื้นที่ราว 140 ไร่นั้น คุณพงษ์สวัสดิ์เลือกการยกท้องร่องปล่อยน้ำเข้าร่องเป็นรูปแบบการทำเกษตรของ จ. นครปฐม ด้วยเหตุผลที่ว่าทำให้การจัดการสวนง่ายขึ้นไม่ว่าเรื่องการให้น้ำ, ให้ปุ๋ย การเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้ เรือทั้งหมด แล้วระบบท้องร่องยังช่วยเรื่อง ความชื้นให้แปลงฝรั่งได้อีกด้วย
การเตรียมพื้นที่และวางระยะกดารปลูกฝรั่งแบบยกร่อง
เตรียมท้องร่องให้มีความกว้างประมาณ 7 เมตร ทั้งฝรั่งกิมจูและแป้นยอดแดง ใช้ระยะระหว่างต้น 1.8 X1.8 เมตร ปลูกเป็น 3 แถว ยาวตลอดท้องร่อง ซึ่งคุณพงษ์สวัสดิ์ ยอมรับว่าเป็นระยะที่ชิดเกินไปแนะนำว่าอย่างน้อยควรปลูก ที่ระยะปลูก 2X2 เมตร น่าจะเหมาะสมกว่า ดังนั้นคุณพงษ์สวัสดิ์จึงขยายพื้นที่ปลูกฝรั่งกิมจูไปอีก 20 ไร่ แต่ปรับเปลี่ยนระยะปลูกใหม่ คือ ปลูกเป็นแถวคู่ในท้องร่อง ไม่ใช้ระยะปลูกชิดแบบเดิมเพราะต้องมาจัดการเรื่องของการตัดแต่งกิ่งที่แน่น ทึบและซ็อนชนกันมากไป ซึ่งส่งผลให้ฝรั่งไม่ออกดอก แต่จะงามใบแทน นอกจากนี้แปลงฝรั่งที่ร่มใบแน่นทึบ จะทำให้แดดส่องไม่ถึง ไม่โปร่ง อากาศถ่ายเทไม่สะดวกจะเป็นแหล่งสะสมโรค-แมลง โดยเฉพาะเพลี้ยแป้งศัตรูทีสำคัญของฝรั่ง
การเตรียมดิน
การปลูกฝรั่งในพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึงควรทำการยกร่องปลูก โดยยกร่องให้มีขนาดความกว้างของหลังร่องประมาณ 6 เมตร มีคูน้ำกว้างประมาณ 1.5 เมตร ความยาวของสันร่องแล้วแต่พื้นที่ ความสูงไม่จำกัด แต่ถ้าเป็นที่ดอนไม่จำเป็นต้องยกร่อง จากนั้นก็ปรับปรุงดินโดยการตากดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเมล็ดวัชพืช ใส่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักในปริมาณเท่า ๆ กัน อัตราปุ๋ย 1 ส่วนต่อดิน 2 ส่วน เพื่อให้ดินร่วนซุย
วิธีปลูก
หลังจากเตรียมหลุมปลูกเรียบร้อยแล้ว ให้นำกิ่งพันธุ์ที่ชำไปปลูกลงในหลุม กลบดินให้แน่นพอสมควร แล้วใช้ไม้ปักเป็นหลักผูกกันลมโยกและรดน้ำทันที จากนั้นใช้ทางมะพร้าวมาคลุมพรางแสงแดดให้แก่ต้นฝรั่งจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้งตัวได้
การให้น้ำ
หลังจากปลูกฝรั่งแล้วต้องหมั่นคอยรดน้ำในช่วงระยะแรกจนกว่าต้นฝรั่งจะตั้งตัวได้หลังจากนั้นก็ต้องสังเกตดูความชุ่มชื้นของดิน ถ้าดินแห้งมากต้องรีบให้น้ำ และถ้ามีฝนตกหนักก็ควรระบายน้ำออกบ้าง การให้น้ำจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นตามความต้องการของต้นฝรั่ง ปริมาณความชื้นของดินในระหว่างการออกผลมีความสำคัญ เพราะจะก่อให้เกิดการร่วง การแตก และขนาดของผล
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งจะช่วยให้ฝรั่งเกิดกิ่งอ่อน ทำให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก แสงแดดส่องทั่วถึง สะดวกในการเก็บผลและการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง และยังทำให้ได้ผลผลิตที่แน่นอน ช่วยให้ผลมีขนาดใหญ่ สำหรับสวนใหม่ควรมีการตัดแต่งกิ่งทุกปี เพื่อกระตุ้นการเจริญและการสร้างตาดอก โดยทั่วไปต้นที่สมบูรณ์จะตัดกิ่งก้านออก 25-30 เปอร์เซ็นต์ สำหรับต้นที่ไม่แข็งแรงให้ตัดกิ่งก้านออกประมาณ 15-20 เปอร์เซ็นต์และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล ตามคำแนะนำ ก็จะทำให้ต้นสร้างตาดอกได้ดี และมีอายุการให้ผลผลิตนานขึ้นกว่าปกติ เกือบเท่าตัว
การห่อผลฝรั่ง :
การห่อผลนั้นจะต้องห่อตั้งแต่ขนาดเท่าหัวนิ้วโป้งมือหรือราวผลมะนาวเล็ก หรือผลลำไยผลโต เกษตรกรจะต้องคัดผลที่ผลกลม ผิวสวยดูสมบูรณ์ไว้พียงผลเดียว ตัดผลที่คู่กันทิ้งไป การห่อผลจะใช้ถุงพลาสติกที่ใช้เพื่อการห่อฝรั่งโดยเฉพาะ ถุงห่อดังกล่าวจะมีรูระบายในตัว เกษตรกรไม่ต้องกรีดหรือเจาะรูระบายน้ำเหมือนแต่ก่อน จากนั้นตัดกระดาษสุดโทรศัพท์มาสัก 2 หน้า เพื่อกระดาษจะได้ทีความหนาพอเพื่อจะพรางแสงแดด ให้ผิวฝรั่งขาวสวย เหตุที่เลือกให้กระดาษจากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง เพราะเป็นกระดาษที่ทนแดด ทนฝนไม่ขาดยุ่ยง่าย เหมือนกระดาษหนังสือพิมพ์
** หลังจากการห่อผลฝรั่งนับไปอีกราว 2 เดือนฝรั่งก็จะแก่พร้อมเก็บเกี่ยว คนงานที่เก็บเกี่ยวผลฝรั่งจะต้องมีความชำนาญ มีประสบการณ์ ถึงจะปล่อยให้เก็บได้ เพราะฝรั่งหากเก็บผลที่ไม่แก่ ยังเขียวอยู่จะมีรสฝาด ทานไม่ได้เลย ไม่สามารถแปรรูปอะไรได้เลย คือ ผลฝรั่งที่เก็บผิดก็จะเสียไป การฝึกคนงานที่จะมาเก็บผลผลิตได้นั้นจะเริ่มทักษะจากการได้ผลก่อน,ตัดแต่ง กิ่งก่อน แล้วจึงฝึกเรื่องการเก็บฝรั่งนอกจากการนับอายุโดยคร่าวๆแล้วสามารถสังเกตจาก เนื้อกระดาษที่จะดูเก่าตามเวลา หากไม่แน่ใจคนเก็บก็จะเปิดกระดาษดูเพื่อดูสีฝรั่งว่าขาวหรือยัง
การเก็บเกี่ยว
นับจากดอกบานจนถึงผลแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวได้จะใช้เวลาประมาณ 5 เดือน ฝรั่งที่ยังอ่อน ผิวจะมีสีเขียวเข้ม เมื่อเริ่มแก่สีเขียวจะจางลงและเต่งตึงเป็นมัน ไม่ควรเก็บผลที่ยังไม่แก่เต็มที่เพราะยังมีการสร้างแป้งและสีไม่เต็มที่ ผลจะนิ่ม การเก็บเกี่ยวควรใช้กรรไกรตัดขั้วผลมาด้วยโดยไม่ต้องเอาถุงพลาสติกที่หุ้มผลฝรั่งออกเพื่อประหยัดเวลา ถ้าไม่มีขั้วติดผลจะทำให้ฝรั่งเสื่อมคุณภาพเร็ว และถูกเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
ป้ายคำ : ผลไม้