พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ

11 ตุลาคม 2556 ศาสตร์พระราชา 0

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างสำหรับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกรทำการเพาะปลูกได้อย่างสมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝนและน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการ อีกทั้งความผันแปรเนื่องจากฝนตกไม่พอเหมาะกับความต้องการ เป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำมากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ น้ำคือชีวิต ดังพระราชดำรัส ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม ๒๕๒๙ ความตอนหนึ่งว่า

…หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…

การพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีหลักและวิธีการสำคัญๆ คือ

  1. การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใดต้องเหมาะสมกับรายละเอียดสภาพภูมิประเทศเสมอ
  2. การพัฒนาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ต้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีแต่ละท้องถิ่นเสมอ
  3. พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กัลป์คนกลุ่มหนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้น จะมีความเหมาะสมเพียงใดก็ตามด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่ง จึงพระราชทานพระราชดำริไว้ว่าราษฎรในหมู่บ้านซึ่งได้รับประโยชน์จะดำเนินการแก้ปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการช่วยเหลือผู้ที่เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบายที่มุ่งหวังให้ราษฎรสังคมของตนเอง และมีความหวงแหนที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย

nampahsakklong

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้เป็น ๕ ประเภทดังต่อไปนี้

  1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคได้แก่ อ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำ
  2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร
  3. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ
  4. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม
  5. โครงการบรรเทาอุทกภัย

namhuai-hong-khrai

อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่มีการพัฒนาแหล่งน้ำหลายๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลายๆ อย่างพร้อมกันไป อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โครงการพัฒนาที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการแก้มลิง เป็นต้น
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้

  1. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้นและสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น
  2. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควรโครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น บริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำกินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่นๆ ต่อไป ซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของธรรมชาติไว้ได้
  3. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่างๆ ไว้ และมีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงสามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้น
  4. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปี ทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย
  5. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชุมพร ซึ่งช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจทั้งภาคเอชนและภาครัฐบาลเป็นอันมาก
  6. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ จะช่วยให้ราษฎรที่อยู่ในป่าเขาในท้องที่ทุรกันดารได้มีไฟฟ้าให้สำหรับแสงสว่างในครัวเรือนได้
  7. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักบริเวณน้ำลำธารเป็นชั้นๆ พร้อมระบบกระจายจากฝายต่างๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทุ่งบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความอุดมสมบูรณ์ต่อไป

อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่มีการพัฒนาแหล่งน้ำหลายๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลายๆ อย่างพร้อมกันไป อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โครงการพัฒนาที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการแก้มลิง เป็นต้น

namfaycon

namklong
DIGITAL CAMERA

โครงการการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังต่อไปนี้

  1. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภค ได้แก่เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำขนาดต่างๆ อันเนื่องจากพระราชดำริ มีจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ดังตัวอย่าง คือ
    (๑) ภาคเหนือ : เขื่อนเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อ. เมือง จ. พะเยา เป็นต้น
    (๒) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก อ. เมือง จ. สกลนคร อ่างเก็บน้ำลำพะยัง อ. เขาวง จ. กาฬสินธุ์ เป็นต้น
    (๓) ภาคกลาง : โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรีและสระบุรี อ่างเก็บน้ำคลองทรายทอง อ. เมือง จ. นครนายก และโครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียว อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี เป็นต้น
    (๔) ภาคใต้ : โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อ่างเก็บน้ำใกล้บ้าน อ. เมือง จ. นราธิวาส อ่างเก็บน้ำคลองหลา อ. หาดใหญ่ จ. สงขลา และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองหอยโข่ง อ. ขนงใหญ่ จ. สงขลา เป็นต้น
  2. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่งานพัฒนาแหล่งน้ำของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ฯ อ. ดอยสะเก็ด และ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ จ. เชียงใหม่
  3. โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่ การระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกขอบพรุบาเจาะ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส
  4. โครงการบรรเทาอุทกภัย ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรีและสระบุรี และโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำบ้านท่าด่านแม่น้ำนครนายก จังหวัดนครนายก ที่เป็นการจัดการทรัพยากรน้ำแบบอเนกประสงค์ที่มุ่งพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการชลประทาน แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในบริเวณใต้เขื่อนในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
  5. การจัดการทรัพยากรน้ำในลักษณะ เขื่อนระบายน้ำ งานขุดลอกหนองและบึง และงานสระเก็บน้ำ ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่ เขื่อนระบายลำน้ำเชิน อ.ชุมแพ จ. ขอนแก่น งานขุดลอกหนองโสน ต.ในเมือง จ. นครราชสีมา และงานสระเก็บน้ำในท้องที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีลำน้ำธรรมชาติ หรือสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยให้ทำการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำและที่เก็บกักน้ำประเภทอื่น เช่น งานสระเก็บน้ำในท้องที่บ้านฉัตรมงคล อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
  6. การจัดการทรัพยากรน้ำในบรรยากาศ นอกจากการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินที่กล่าวไปแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงคิดค้นวิธีการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีการอื่น ๆ ในรูปของการจัดการน้ำในบรรยากาศ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
    (๑) การทำฝนเทียม หรือ “ฝนหลวง” เป็นกระบวนการนำน้ำที่มีในบรรยากาศมาใช้ประโยชน์ ด้วยการเหนี่ยวนำไอน้ำในบรรยากาศให้กลั่นตัวเป็นละอองน้ำ เมื่อละอองน้ำรวมตัวหนาแน่นจะเกิดเป็นเมฆ จากนั้นจึงกระตุ้นให้เมฆมีการรวมตัวกันหนาแน่นและเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกิดเป็นฝนตกลงมา
    (๒) “เครื่องดักหมอก” เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกในอากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหลอเลี้ยงต้นไม้ได้ โดยทรงให้จัดทำแผงดักหมอกที่ทำขึ้นจากวัสดุพื้นบ้านง่ายๆ ไอน้ำที่อยู่ในรูปของหมอกเมื่อสามารถนำมาใช้ได้จึงก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า เป็นต้น

ป้ายคำ : ,

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น