ไม้ยืนต้นขนาดกลาง – ใหญ่ ทรงพุ่มกลมสวยงามมาก หากอยู่ในที่โล่งแจ้งและไม่มีพรรณไม้ใหญ่อยู่ใกล้เคียง ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตัดแต่งกิ่งออกเลยตลอดอายุการปลูก (สวยด้วยธรรมชาติปราศจากการแต่งเติม)
ชื่อสามัญ : Phayom
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Shorea roxburghii G. Don.
วงศ์ : Dipterocarpaceae
ชื่ออื่นๆ : กะยอม (เชียงใหม่) ขะยอม (ลาว) ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ) แดน (เลย) เชียง เซี่ย (เชียงใหม่) สุกรม (ภาคกลาง) พะยอมทอง (ปราจีนบุรี สุราษฎร์ธานี) ยางหยวก (น่าน)
ถิ่นกำเนิด : ประเทศไทย และเอเชีย เช่น ศรีลังกา พม่า ฟิลิปปินส์ ลาว
ลักษณะทั่วไป
ต้นพะยอม เป็นไม้ยืนต้นโบราณ สูงขนาด 1530 เมตร ทรงพุ่มกลม เปลือกสีเทาเข้ม แตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งจำนวนมาก เป็นใบเดี่ยวเรียงเรียบสลับ ออกดอกช่อใหญ่สีขาว มีกลิ่นหอม ออกตามกิ่งและที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบโคนเชื่อมติดกัน เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 ซม. ออกดอกพร้อมกันทั้งต้น ในช่วงเดือน ธันวาคม ถึง กุมภาพันธ์
ฤดูการออกดอก : ปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน (ม.ค. – เม.ย.)
เวลาที่ดอกหอม : ตอนเย็นแดดอ่อนถึงมืด
ปลูกได้ในพื้นที่แห้งแล้ง ผู้ที่สนใจจะปลูกไม้หอมที่อยู่ในเขตแห้งแล้งและยังไม่มีระบบชลประทานเข้าถึง ไม่ควรมองข้ามพันธุ์ไม้หอมชนิดนี้
ถึงแม้ว่าจะออกดอกเพียง 1 ครั้ง/ปี แต่ดอกสวยงามมาก และออกดอกพร้อมกันเกือบทั้งต้น
เป็นพันธุ์ไม้หอมที่เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ (ปัจจุบันชาวสวนไม่ค่อยมีพะยอมใส่ในน้ำตาลสดกันแล้ว)
ข้อมูลอื่นๆ :
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด แต่ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดเนื่องจากที่สวนไม้หอมฯ ยังไม่มีการติดเมล็ด
การตอนกิ่ง จะออกรากยาก แต่เป็นวิธีที่จะทำให้ออกดอกในกระถางได้
การปลูก
พะยอมเป็นไม้ที่ชอบดินทรายหรือดินที่ระบายน้ำดี เมื่อปลูกในดินเหนียวและแฉะพบว่าออกดอกน้อยมาก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
รายการอาหาร
แกงดอกพยอม
เครื่องปรุง
เครื่องปรุงน้ำพริก
วิธีทำ
นำเครื่องน้ำพริกทั้งหมดโขลกให้ละเอียด ละลายน้ำพริกกับน้ำใส่ลงหม้อ ยกขึ้นตั้งไฟ พอเดือดใส่ปลาแห้ง ใส่ปลาสลิดแห้งแกะก้างออกหั่นเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม เนื้อปลากรอบ หมูสามชั้น ใส่น้ำส้มมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาล ใส่ดอกพยอมรูดเอาทั้งดอกบานและตูม ใส่มะกรูดปอกผิวออก ผ่าครึ่งใส่ลงในหม้อ ชิมรสเปรี้ยว เค็ม หวาน ให้ได้สามรส พอดอกพยอมสุก ยกลง ตักใส่ถ้วยรับประทานได้
พล่าดอกพยอม
เครื่องปรุง
วิธีทำ
ลวกดอกพยอม ใส่จาน ใส่กุ้งเผา หมูเนื้อแดงต้ม หนังหมู ใส่พริกชี้ฟ้า (ผ่าเอาเม็ดออกซอยเป็นชิ้นยาวๆ) พริกขี้หนู ราดด้วยน้ำปรุงรส น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลทราย คลุกให้เข้ากัน โรยกระเทียมเจียว โรยผักชี
เอกสารอ้างอิง :
1. ปิยะ เฉลิมกลิ่น และคณะ. 2546. หอมกลิ่นดอกไม้เมืองไทย. จัดพิมพ์โดยโครงการ BRT บริษัท จิรวัฒน์ เอ็กเพรส จำกัด กรุงเทพฯ. 336 หน้า (147)
2. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น 2546. 1,488 หน้า (778)
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง