พุทธรักษา ดอกไม้วันพ่อ

ดอกพุทธรักษาเป็นไม้ในเขตร้อนตามบันทึกถูกพบครั้งแรกในหมู่เกาะเวสอินดี้ และแถบอเมริกาใต้ จะพบได้ทั้งในที่ลุ่มและที่ดอนในเขตต่างๆอย่างไรก็ตามไม้นี้ถูกนำมาพัฒนา เป็นไม้ประดับและขยายพันธุ์ให้ดีขึ้นโดยชาวยุโรปในช่วงเวลาหลายปีนั้นต้นไม้ ได้มีการปรับตัวให้ทนกับทุกสภาพอากาศในประเทศต่างๆแม้ว่าสภาพอากาศในเขตที่ หนาวจัดเป็นอุปสรรคในการปลูกแต่ถ้าสามารถเข้าใจวงจรการเจริญเติบโตของมัน แล้วการใช้เทคนิคต่างๆ ก็สามารถชนะธรรมชาติได้ในที่สุด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canna indica L.
ชื่อวงศ์ : CANNACEAE
ชื่ออื่น พุทธศร ดอกบัวละวง
ถิ่นกำเนิด : หมู่เกาะฮาวาย

ถ้าเราย้อนหลัง ไปในอดีตสักร้อยปี จะพบว่าดอกพุทธรักษาเป็นไม้ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและถูกนำมาปลูกอย่าง แพร่หลายในสวนทั้งขนาดเล็กและใหญ่ หลังจากนั้นไม่นานความนิยมก็ลดลงแต่ก็ฟื้นกลับมาอีกจนกระทั่งถึงปัจจุบัน พุทธรักษาเป็นไม้ดอกระดับนานาชาติโดยหลายๆประเทศยอมรับให้เป็นไม้หลักในการตกแต่งสถานที่ที่สำคัญๆ ลักษณะช่อดอกที่หลากสีสร้างความเร้าใจให้กับนักจัดสวนยุคใหม่ที่เน้นไม้ที่ ปลูกง่ายและสวยงามอยู่เสมอ

puttaraksasom

ชื่อไทยของดอกพุทธรักษานั้นไม่มีการบันทึกว่าตั้งโดยผู้ใดแต่เป็นชื่อที่ไพเราะมีความหมาย ดอกพุทธรักษาเป็นสัญลักษณ์ตัวแทนวันพ่อ เป็นพันธุ์ไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม แปลว่า พระพุทธเจ้าคอยปกป้องคุ้มครอง เหมาะกับวัฒนธรรมของบ้านเราที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติที่ชาวพุทธทุกคนควรปกป้องและรักษาไว้ แต่ชื่อสากลที่เรียกว่า แคนนาส์ (Cannas) มาจากศัพท์ของภาษากรีกที่เขียนเป็นอังกฤษว่า (Kanna) ที่หมายถึง ต้นไม้ที่มีลักษณะคล้ายต้นอ้อ มีการเรียกไม้นี้ในต่างประเทศอย่างหลากหลาย อาทิเช่น แคนนา ลิลี่ (Canna lily) อินเดียนช็อตแพล้น (Indian short plant) ฯลฯ ในประเทศสเปน ชาวบ้านนำเมล็ดที่กลมแข็งสีดำมาใช้ทำลูกปัด เครื่องดนตรีที่เรียกว่า โฮชา (Hosha) ของชาวซีมบาเว ที่ใช้ในการเขย่านั้นใช้เมล็ดพุทธรักษาเป็นส่วนประกอบ

puttaraksadang

ลักษณะทั่วไป
พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า มีการเจริญเติบโตโดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกับกล้วย ลักษณะหน่อที่เจริญเป็นต้นเหนือพื้นดินนั้นมีลักษณะกลมแบนสีเขียวขนาดลำต้นโตประมาณ 2-4 เซนติเมตร ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นได้ชัดโคนใบมีก้านใบซึ้งยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ขนาดใบกว้างประมาณ 10-15 เซนติเมตร ยาวประมาณ 25-35 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8-10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

puttaraksachor puttaraksaban puttaraksasomko

สรรพคุณของดอกพุทธรักษา
ในประเทศปาปัวนิวกินีกินหัวต้นพุทธรักษาเป็นอาหารหลักเหมือนหัวเผือกหัวมัน ของไทยเราสมัยโบราณนำหัวต้มรับประทานบำรุงปอด แก้อาเจียนหรือไอเป็นเลือด บางครั้งนำดอกมาใช้ห้ามเลือด รักษาแผลที่มีหนอง เมล็ดบดพอกแก้ปวดศรีษะ ส่วนพันธุ์พุทธรักษาปัจจุบันยังไม่มีการยืนยันในสรรพคุณ จึงขอแนะนำว่าอย่าพึ่งไปลองกิน ควรใช้ทดลองตามสรรพคุณแต่ภายนอกร่างกายจะดีกว่า
สรรพคุณทางยา:

  • ดอก ตำพอกห้ามเลือด รักษาแผลหนอง
  • ใบ แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้อาเจียน

การปลูกพุทธรักษานิยมปลูก 2 วิธี

  1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ควรใช้แปลงปลูกขนาด 2 x 10 เมตร โดยการยกร่องคล้ายแปลงปลูกผัก การเตรียมดินใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10-20 กิโลกรัม/แปลง ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x30 แต่ถ้าปลูกเพื่อประดับบ้าน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เป็นแนวรั้วบ้านหรือปลูกเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในพื้นที่ที่จำกัด ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก
  2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับอาคารบ้านเรือน ส่วนใหญ่ใช้เป็นดอกประดับภายนอก ควรใช้กระถางทรงสูง ขนาด 10-16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:แกลบผุ:ดินร่วนอัตรา1:1:1ผสมดินปลูกและควร เปลี่ยนกระถาง12ครั้งต่อปีเพราะการขยายตัวของหน่อแน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ แทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษาพุทธรักษา

  • แสง : ชอบแสงรำไร หรือแสงแดดจัดกลางแจ้ง
  • น้ำ : ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 3-5 วัน/ ครั้ง
  • ดิน : เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย
  • ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ปีละประมาณ 4-6 ครั้ง

การขยายพันธุ์
นิยมขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เพาะเมล็ด

puttaraksakla

วิธีที่นิยมและได้ผลดี การแยกหน่อ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคที่ เป็นปัญหา ส่วนแมลงที่รบกวน ได้แก่ พวกเพลี้ยแป้งและเพลี้ยหอย ซึ่งจะพบมากในหน้าร้อน

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วย มาลาไธออนหรือไดอาซินอนถ้าหากกอมีขนาดใหญ่และทึบอาจใช้ยาดูดซึม จำพวกไซกอน ละลายน้ำรด ตามอัตราที่ระบุไว้ในฉลากก็ได้

พุทธรักษา เป็นไม้ที่หาเลี้ยงตัวเองได้ ไม่ต้องการการดูแลเอาใจใส่ อยู่ในที่น้ำท่วมหรือที่แห้งแล้งก็ได้ เพียงแต่ถ้าที่แห้งลักษณะต้นจะเล็กและดูเหมือนต้นไม่สมบูรณ์ สวยงามเท่าต้นที่อยู่ในพื้นที่แฉะชื้น จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเห็นว่าพื้นที่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล โดยรอบที่เป็นที่รกร้างว่างเปล่า กรุงเทพมหานครจะนำเอาต้นพุทธรักษามาลงปลูกเป็นแถวเป็นแนว บังกอหญ้ารกๆให้พ้นจากสายตาคนที่สัญจรไปมา เนื่องจากพุทธรักษาเป็นไม้ที่เมื่อลงปลูกแล้ว ไม่ต้องไปสนใจก็สามารถงอกงามให้ดอกสีสวยจับตาผู้คนที่ผ่านไปได้ดี โดยถ้าลงมือปลูกช่วงหน้าฝนด้วยแล้ว ไม่ต้องไปรดน้ำให้แตกหน่อแตกขยายพุ่มเพราะความที่สามารถหาน้ำและอาหาร กินได้เอง ที่ริมถนน ทุ่งวัชพืชจึงค่อยๆแปรสภาพกลายเป็นทุ่งพุทธรักษา มาบดบังสายตากันเกือบหมดแล้ว

puttaraksana

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ดอกไม้ประดับ

แสดงความคิดเห็น