พุทราเป็นผลไม้ไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือดและบำรุงร่างกาย เนื่องจากภายในผลของพุทรานั้นมีวิตามินซีเป็นส่วนประกอบหลัก และยังมีส่วนประกอบของวิตามินบี 2 และน้ำตาล, โปรตีนที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ผู้ที่รับประทานลูกพุทราอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดไขมันในเส้นเลือดหรือคอเลสเตอรอล ช่วยลดอาการผนังเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยลดอาการเส้นเลือดอุดตันรวมถึงลดอาการเส้นเลือดในสมองแตกอีกด้วย แถมพุทรายังช่วยบำรุงระบบประสาท และช่วยบรรเทาอาการของคนนอนไม่ค่อยหลับอีกด้วย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zizyiphus mauritiana Lamk.
ชื่อวงศ์ : RHAMNACEAE
ชื่ออื่น : มะตันหลวง, มะท้อง, มะตอง, มะตันต้น ที่ฉาน-แม่ฮ่องสอนเรียก หมากขอ ส่วนทางภาคอีสานเรียกว่า หมากทัน ทางภาคกลางเรียก พุทรา กะเหรียง-กาญจนบุรีเรียก มะท้อง
ลักษณะ
พุทราเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 5-10 เมตร ใบ เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ใบมีลักษณะกลมโต หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 2-6 ซม. ยาว 3-8 ซม. ท้องใบจะมีขนสีน้ำตาลหรือสีขาว หลังใบมีสีเขียวเข้ม ตามต้นและกิ่งก้านมีหนาม ดอกออกเป็นกระจุกที่ซอกใบ เป็นช่อมีสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองเล็กๆ กลีบดอกเหลืองอ่อน มีกลิ่นเหม็นมาก ผลเป็นผลสด รูปผลกลม บางชนิดผลกลมปลายแหลมคล้ายผลละมุดไทย หรือรูปกระสวย เมื่อสุกมีสีเหลืองรับประทานได้ บางชนิดมีรสหวานสนิท บางชนิดก็เปรี้ยวและฝาด โดยมากพุทราเป็นไม้ที่เกิดเองในป่ามีรสเปรี้ยว ฝาด พุทราสามารถขยายพันธุ์ได้ โดยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง
พุทรา การใช้ประโยชน์จากพุทรา พุทรามีประโยชน์หลายด้านได้แก่
- ใช้เป็นอาหาร ผลสุกหรือผลแก่จัด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ หรือนำพุทรามาเชื่อมเป็นผลไม้เชื่อม หรือนำมาทำน้ำผลไม้ หรือนำผลสุกมาตำทั้งเมล็ด ใช้ทำพุทราแผ่น ฯลฯ เป็นต้น
- พุทรามีคุณค่าทาง โภชนาการ ในพุทรามีวิตามินซี น้ำตาล ฟอสฟอรัส และแคลเซียม ไขมัน มิวซิเลจ และอื่น ๆ
- สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยาของพุทรา
- เปลือกต้น,ใบ มีรสฝาดอมเปรี้ยว จึงมีสรรพคุณใช้แก้อาการจุกเสียด แก้ท้องเสีย แก้ท้องร่วง แก้อาเจียน
- ผลดิบ มีรสฝาด จึงมีสรรพคุณใช้เป็นยาบำรุง และแก้ไข้ ช่วยระงับอาการคนเป็นโรคประสาทอ่อน ๆ
- ผลสุก มีรสหวาน ฝาด และเปรี้ยว จึงมีสรรพคุณใช้ขับเสมหะ แก้ไอ และเป็นยาระบาย
- ผลแห้งหรือใบ หากนำปิ้งไฟ หรือคั่ว/อบให้แห้งก่อน จึงนำมาใช้ชงน้ำดื่ม จะมีสรรพคุณใช้แก้ไอ
- ราก ใช้ต้มดื่มเพื่อรักษาหรือแก้ไข้ได้ดี
- เมล็ด นำเมล็ดพุทรามาเผาไฟ แล้วป่น ใช้ทำยารักษาซางชักของเด็ก หรือตำสุมหัวเด็ก รักษาอาการหวัดคัด จมูก รักษาอาการบวม รักษาพยาธิ ฝี อาการลงท้อง และอาการตกเลือด
ลักษณะทางธรรมชาติ
- เป็นไม้ผลยืนต้นอายุหลายสิบปี ปลูกได้ทุกภาคทุกพื้นที่ และทุกฤดูกาล ชอบดำร่วนมีอินทรีย์วัตถุมากๆ ต้นที่ปลูกในแปลงแบบยกร่องแห้งลูกฟูกจะมีอายุยืนนานกว่าต้นที่ปลูกในแปลงแบบยกร่องน้ำหล่อ ต้อง การความชื้นสูงแต่ไม่ทนต่อสภาพน้ำท่วมขังค้างนาน
- พันธุ์พื้นเมืองจะเจริญเติบโตเป็นลำต้นสูงแล้วแตกกิ่งสาขาเป็นพุ่มเหมือนไม้ผลยืนต้นทั่วๆไป
- สายพันธุ์ต่างประเทศ การเจริญเติบโตส่วนลำต้นช้า แต่กิ่งแตกออกมาจากลำต้นนั้นกลับเจริญเติบโตเร็วมาก กิ่งจึงยาวและเรียวเล็ก ถ้าปล่อยให้ยาวตามปกติโดยไม่มีการจัดการใดๆทรงต้นจะเป็นพุ่มขนาดใหญ่แผ่ปกคลุมพื้นดิน การแก้ไขก็คือ ช่วงที่กิ่งประธานแตกออกมาจากลำต้นนั้น ให้จัดกิ่งประธานชี้ตรงขึ้นโดยมัดติดกับหลักไว้ ระหว่างกิ่งประธานกำลังเจริญยาวขึ้นนั้นจะมีกิ่งแขนงและกิ่งย่อยแตกออกมาเรื่อยๆ ซึ่งจะต้องจัดระเบียบให้กิ่งเหล่านี้เจริญยาวไปตามทางทิศที่ต้องการตลอดเวลาด้วยจนกระทั่งออกดอกติดผลถึงเก็บเกี่ยวผลผลิต
- พุทราพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ ขยายพันธุ์โดยเสียบยอด หรือทาบกิ่งกับตอพันธุ์พื้นเมืองจะโตเร็วให้ผลผลิตดีและมีระบบรากแข็งแรงกว่าต้นพันธุ์ดีที่ขยายพันธุ์ด้วยวิธีตอนส่วนของยอดพันธุ์ดีจากกิ่งข้าง เมื่อนำมาเสียบยอดบนตอพื้นเมืองจะโตช้าให้ผลผลิตไม่ดี แต่ถ้าใช้ส่วนยอดของกิ่งกระโดงพันธุ์ดีเสียบบนตอพื้นเมืองจะโตเร็วและให้ผลผลิตดี
- นิสัยออกดอกง่าย กิ่งไหนพร้อมก่อนกิ่งนั้นเป็นออกดอกทันที ส่วนกิ่งที่ยังไม่พร้อมก็จะออกทีหลังทำให้มีดอกผลหลายรุ่น บำรุงยาก กรณีนี้แก้ไขโดยการฉีดพ่นสารอาหารเปิดตาดอกถี่ขึ้นเพื่อเร่งกิ่งที่ยังไม่พร้อมให้พร้อมเร็วขึ้น
- ต้นสมบูรณ์ดี ผ่านการบำรุงแบบให้มีอาหารกินตลอด 24 ชม.ต่อเนื่องนานหลายปี หลังตัดแต่งกิ่ง ประมาณ 2-2 เดือนครึ่งก็จะเริ่มออกดอก
- ธรรมชาติการออกดอกแปลกจากไม้ผลอย่างอื่น ในกิ่งแขนงกิ่งเดียวกันนั้นบางครั้งดอกที่ปลายกิ่งออกก่อนแล้วออกตามลำดับมาทางโคนกิ่ง แต่บางครั้งดอกที่โคนกิ่งออกก่อนแล้วออกตามลำดับไปทางปลายกิ่ง ระยะเวลาห่างกัน 15-20 วัน การที่ดอกออกมาไม่พร้อมกันส่งผลให้การเจริญพัฒนาของผลพลอยต่างกันไปด้วย
- เป็นดอกสมบูรณ์เพศมีเกสรทั้งตัวผู้ตัวเมียอยู่ในดอกเดียวกัน ถ้าไม่มีแมลงมาช่วยเกสรแต่ขอให้มีลมช่วยเท่านั้นเกสรก็สามารถผสมกันติดเป็นผลได้
- เกสรตัวผู้หรือเกสรตัวเมียอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างไม่สมบูรณ์เกิดจากขาดสารอาหาร/ฮอร์โมนหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม (อากาศร้อนหรือฝนตกชุก) แล้วผสมกันแล้วพัฒนาเป็นผลจะเป็นผลไม่สมบูรณ์ ไม่โต รูปทรงบิดเบี้ยว
- ออกดอกติดผลได้แบบไม่มีฤดูกาล หรือเมื่อใดที่เริ่มลงมือปฏิบัติบำรุงตามขั้นตอน จากนั้นก็จะออกดอกติดผลได้
- ปัจจุบันมีการนำสายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาหลากหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ล้วนแต่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคค่อนข้างสูง
- ให้ผลลิตเร็วด้วยอายุต้นเพียง 4-6 เดือนหลังปลูกก็เริ่มให้ผลผลิตรุ่นแรกแล้ว
- ศัตรูพืชของพุทราทุกสายพันธุ์ คือ หนอนเจาะผล ถึงขนาดสร้างความเสียหายแก่ผลผลิตถึง 3 ใน 4 ส่วน และจำหน่ายได้เพียง 1 ใน 4 ส่วนของผลผลิตทั้งหมด กระนั้นชาวสวนพุทราก็ยังอยู่ได้ แสดงว่าต้นทุนการผลิตต่ำถึงต่ำมากนั่นเอง
- ออกดอกง่าย ถ้ากิ่งที่แตกออกมาแก่ได้อายุเป็นต้องออกดอกทันที แม้ไม่ได้บำรุงสะสมอาหารเพื่อการตาดอกและไม่ต้องเปิดตาดอกก็สามารถออกดอกได้
สายพันธุ์
พันธุ์พื้นเมืองมีเพียงสายพันธุ์เดียว
- สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ได้แก่ สามรส. เจดีย์หรือเจดีย์ทอง. ไข่เต่า.บอมเบ (แอ๊ปเปิ้ล). กัลกัตตา. ถ้วยทอง. เหรียญทอง. เหรียญทองพิเศษ.
- สายพันธุ์ที่เคยได้รับความนิยมสูงแต่ปัจจุบันเสื่อมความนิยมลงแล้ว ได้แก่ อีดก. อีด่าง.อีหวาน. พิเศษหวาน. ครูบา. ศรีราชา. พันท้ายนรสิงห์. ดกพิเศษ. สีนวล. สีทอง. ฉนวนทอง. สาลี่ (บอมยักษ์). พาราณสี. มัทราส. การาจี. สหรัญประ. โกลด์สตาร์. โฮมสเตท.
- สายพันธุ์จากต่างประเทศหลายสายพันธุ์ที่กำลังได้รับความนิยมและมีการตั้งชื่อสายพันธุ์แล้วในปัจจุบัน ได้แก่ จัมโบ้. นมสด.
หมายเหตุ : ยังมีสายพันธุ์ต่างประเทศที่มีคุณสมบัติดีอีกหลายสายพันธุ์แต่ยังไม่มีการตั้งชื่อและขาดการประชาสัมพันธ์….พุทรานมสดไม่ใช่มีรสชาติหรือกลิ่นเหมือนนมสด แต่ที่เรียกว่านมสดเพาะเนื้อฉ่ำน้ำเล็กน้อยแต่ยังคงความหวานกรอบเหมือนพุทราอยู่เท่านั้น
การขยายพันธุ์
- พันธุ์พื้นเมืองขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ดและทาบกิ่ง การเตรียมเมล็ดโดยแช่น้ำร้อน 50 องศาแล้วเพาะทั้งเปลือก ใช้เวลา 20 วันงอก…เพาะโดยขลิบเปลือกเมล็ดก่อน ใช้เวลา 15 วันงอก…..เพาะโดยทุบเปลือกเมล็ดให้แตกก่อน ใช้เวลา 10 วันงอก…และเพาะโดยกะเทาะเปลือกเมล็ดออกเหลือแต่เมล็ดใน ใช้เวลา 7 วันงอก
- พันธุ์ต่างประเทศขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด (กลายพันธุ์). ตอน. ทาบกิ่ง. ตอน. เพาะเมล็ดพื้นเมืองเสริมรากเสียบยอดพันธุ์ดี(ดีที่สุด).
การเพาะเมล็ดส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดพุทราพันธุ์พื้นเมืองมาเพาะ เพื่อทำเป็นต้นตอในการทาบกิ่ง และติดตาพันธุ์ดี มีงานทดลองเพาะเมล็ดพุทราโดยวิธีการต่าง ๆพบว่า
- นำเมล็ดไปเพาะทั้งเมล็ดจะงอกภายใน 20 วัน
- นำเมล็ดไปแช่น้ำร้อน เพื่อทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง เมล็ดจะงอกภายใน 20 วัน
- นำเมล็ดไปขลิบเปลือกให้แตกเล็กน้อยจะงอกภายใน 15 วัน
- ทุบเมล็ดให้เปลือกร้าว จะงอกภายใน 10 วัน
- กระเทาะเปลือกหุ้มเมล็ดออกนำเมล็ดภายในมาเพาะจะงอกภายใน 7 วัน