ฟ้าทะลายโจร เป็นสมุนไพรไทยที่มีการใช้กันมานาน มีสรรพคุณแก้ไข้ แก้ท้องร่วง เป็นยาธาตุ บำรุงกำลัง และถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2549 โดยมีข้อบ่งชี้ว่าสามารถบรรเทาอาการเจ็บคอ และอาการของโรคหวัด เช่น เจ็บคอ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ น้ำมูกไหล ซึ่งโรงพยาบาลสามารถสั่งจ่ายทดแทนหรือเสริมการรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบันได้
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Andrographis paniculata (Burm.f.) Wall.ex Nees
ชื่อสามัญ :Kariyat , The Creat
วงศ์ : ACANTHACEAE
ชื่ออื่น : หญ้ากันงู (สงขลา) น้ำลายพังพอน ฟ้าละลายโจร (กรุงเทพฯ) ฟ้าสาง (พนัสนิคม) เขยตายยายคลุม สามสิบดี (ร้อยเอ็ด) เมฆทะลาย (ยะลา) ฟ้าสะท้าน (พัทลุง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-70 ซม. ทุกส่วนมีรสขม กิ่งเป็นใบสี่เหลี่ยม ใบ เดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ดอก ช่อ ออกที่ปลายกิ่งและซอกใบ ดอกย่อย กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่ ปากล่างมี 2 กลีบ ผล เป็นฝัก เมื่อแก่เป็นสีน้ำตาล แตกได้ ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ : ทั้งต้น ใบสด ใบแห้ง ใบจะเก็บมาใช้เมื่อต้นมีอายุได้ 3-5 เดือน
สรรพคุณ
มี 4 ประการคือ
และการที่ฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณ 4 ประการนี้ จึงชวนให้เห็นว่าตัวยาต้นนี้ เป็นยาที่สามารถนำไปใช้กว้างขวางมาก จากเหตุผลที่ฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ระงับการติดเชื้อหรือระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์
ใบฟ้าทะลายโจร มีสารเคมีประกอบอยู่หลายประเภท แต่ที่เป็นสาระสำคัญในการออกฤทธิ์ คือ สารกลุ่ม Lactone คือ
ฟ้าทะลายโจรเป็นยาเก่าแก่ของประเทศจีน ที่ใช้ในการแก้ฝี แก้อักเสบ และรักษาโรคบิด การวิจัยด้านเภสัชวิทยาพบว่า ฟ้าทะลายโจรสามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรียอันเป็นสาเหตุของการเป็นหนองได้ และมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตราซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตราซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างโดยในสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตราซัยคลิน นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพ็นนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่าง ๆ มากขึ้น
วิธีและปริมาณที่ใช้
ตำรับยาและวิธีใช้
1.ยาชง มีวิธีทำดังนี้
-เอาใบสดหรือแห้งก็ได้ ประมาณ 5-7 ใบ แต่ใบสดจะดีกว่า
-เติมน้ำเดือดลงจนเกือบเต็มแก้ว
-ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง หรือพอยาอุ่น แล้วรินเอามาดื่ม ขนาดรับประทานครั้งละ 1 แก้ว วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
2.ยาเม็ด (ลูกกลอน) มีวิธีทำดังนี้
-เด็ดใบสดมาล้างให้สะอาดผึ่งในที่ร่ม ห้ามตากแดด ควรผึ่งในที่มีลมโกรก ใบจะได้แห้งเร็ว
-บดเป็นผงให้ละเอียด
-ปั้นกับน้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อม เป็นเม็ดขนาดเท่าเม็ดถั่วเหลือง (หนัก 250 มิลลิกรัม)แล้วผึ่งลมให้แห้ง เพราะถ้าปั้นรับประทานขณะที่ยังเปียกอยู่จะขมมาก ขนาดรับประทานครั้งละ 4-10 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร, ก่อนนอน
3.แค๊ปซูล มีวิธีทำคือ
แทนที่ผงยาที่ได้จะปั้นเป็นยาเม็ด กลับเอามาใส่ในแค๊ปซูล เพื่อช่วยกลบรสขมของยา แค๊ปซูล ที่ใช้ ขนาดเบอร์ 2 (ผงยา 250 มิลลิกรัม) ขนาดรับประทานครั้งละ 3-5 แค๊ปซูล วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร ก่อนนอน
4.ยาทิงเจอร์หรือยาดองเหล้า
เอาผงแห้งใส่ขวด แช่สุราที่แรง ๆ เช่น สุราโรง 40 ดีกรี ถ้ามี alcohol ที่รับประทานได้ (Ethyl alcohol) จะดีกว่าเหล้า แช่พอให้ท่วมยาขึ้นมาเล็กน้อย ปิดฝาให้แน่น เขย่าขวดวันละ 1 ครั้ง พอครบ 7 วัน จึงกรองเอาแต่น้ำ เก็บไว้ในขวดให้สะอาดปิดสนิท รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ (รสขมมาก) วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนอาหาร
5.ยาผงใช้สูดดม
คือเอายาผงที่บดละเอียด มาใส่ขวดหรือกล่องยา ปิดฝาเขย่าแล้วเปิดฝาออก ผงยาจะเป็นควันลอยออกมา สูดดมควันนั้นเข้าไป ผงยาจะติดที่คอทำให้ยาไปออกฤทธิ์ที่คอโดยตรง ช่วยลดเสมหะ และแก้เจ็บคอได้ดี วิธีที่ดีกว่านี้คือวิธีเป่าคอ กวาดคอ หรือรับประทานยาชง ตรงที่คอจะรู้สึกขมน้อยมาก ไม่ทำให้ขยาดเวลาใช้ ใช้สะดวกและง่ายมาก ประโยชน์ที่น่าจะได้รับเพิ่มก็คือ ผงยาที่เข้าไปทางจมูก อาจจะช่วยลดน้ำมูก และช่วยฆ่าเชื้อที่จมูกด้วย
ขนาดที่ใช้
สูดดมบ่อย ๆ วันละหลาย ๆ ครั้ง ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ให้หยุดยาไปสักพัก จนความรู้สึกนั้นหายไป จึงค่อยสูดใหม่
ข้อควรรู้เกี่ยวกับตำรับยา
สารแอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) สารในต้นฟ้าทะลายโจร ละลายในแอลกอฮอร์ได้ดีมาก ละลายในน้ำได้น้อย ดังนั้นยาทิงเจอร์ หรือยาดองเหล้าฟ้าทะลายโจร จึงมีฤทธิ์แรงที่สุด ยาชงมีฤทธิ์แรงรองลงมา ยาเม็ดมีฤทธิ์อ่อนที่สุด
ผลการศึกษาทางเภสัชวิทยา
การศึกษาในสัตว์ทดลองหรือในหลอดทดลอง พบว่า สารสกัดหรือสารสำคัญของฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ทางยาหลายประการ ดังนี้
1. ฤทธิ์ลดการบีบหรือหดเกร็งตัวของทางเดินอาหาร
2. ฤทธิ์ลดอาการท้องเสีย โดยทำให้การสูญเสียน้ำทางลำไส้จากสารพิษของแบคทีเรียลดลง
3. ฤทธิ์ลดไข้และต้านการอักเสบ
4. ฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน
5. ฤทธิ์ป้องกันตับจากสารพิษหลายชนิด เช่น จากยาแก้ไข้พาราเซตามอน หรือเหล้า
6. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
7. ฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด
ประสิทธิผลในการรักษาโรคจากรายงานการวิจัยทางคลินิก
1. การศึกษาประสิทธิผลในการบรรเทาอาการหวัด (Common cold)
ผลการทดลองให้ยาเม็ดสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่ควบคุมให้มีปริมาณของแอนโดกราโฟไลด์ และ ดีออกซีแอนโดรกราไฟไลด์รวมกันไม่น้อยกว่า 5 มิลลิกรัม /เม็ด ครั้งละ 4 เม็ด วันละ 3 เวลา ในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด พบว่า วันที่ 2 หลังได้รับยา ความรุนแรงของอาการอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญและในวันที่ 4 หลังได้รับยา ความรุนแรงของทุกอาการได้แก่ อาการไอ เสมหะ น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดหู นอนไม่หลับ เจ็บคอ ในกลุ่มที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ
อีกทั้งพบว่าฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ลดการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสและทำให้ความสามารถของเชื้อไวรัสในการเกาะติดกับผนังเซลล์ลดลง ทำให้เชื้อไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้ยากขึ้น นอกจานี้ฟ้าทะลายโจรยังมีฤทธิ์กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ทำให้มีร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้ดีขึ้น
2. รักษาอาการไข้เจ็บคอ (Pharyngotonsillitis)
ผู้ป่วยที่ได้รับยาฟ้าทะลายโจรขนาด 6 กรัม/วัน หรือพาราเซทตามอล 3 กรัม / วัน หายจากไข้ และอาการเจ็บคอได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ฟ้าทะลายโจรขนาด 3 กรัม / วัน อย่างมีนัยสำคัญในวันที่ 3 หลังรักษา แต่ผลการรักษาไม่มีความแตกต่างกันในวันที่ 7 นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลชุมชนบางแห่งได้ใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาอาการเจ็บคอได้ ผลดีอีกด้วย มีฤทธิ์เช่นเดียวกับเพนนิซิลินเมื่อเทียบกับยาแผนปัจจุบัน เท่ากับเป็นการช่วยให้มีผู้สนใจทดลองใช้ยานี้รักษาโรคต่างๆ มากขึ้น
3. การรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิดแบคทีเรีย (Bacilliary dysentery)
ผู้ป่วยที่ได้รับฟ้าทะลายโจรทั้งขนาด 500 มิลลิกรัม ทุก 6 ชั่วโมง และขนาด 1 กรัม ทุก 12 ชั่วโมง เทียบกับยาเตตร้าซัยคลิน พบว่า สามารถสามารถลดจำนวนอุจจาระร่วง (ทั้งความถี่และปริมาณ) และจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนในการรักษาโรคอุจจาระและบิดแบคทีเรียได้อย่างน่าพอใจ ลดการสูญเสียน้ำได้มากกว่ากลุ่มที่ได้ยาเตตร้าชัยคลินและมีการศึกษาวิจัยของโรงพยาบาลบำราศนราดูร ถึงฤทธิ์ในการรักษาโรคอุจจาระร่วงและบิด แบคทีเรีย เปรียบเทียบกับ เตตร้าซัยคลิน ในผู้ป่วย 200 ราย อายุระหว่าง 16-55 ปี ได้มีการเปรียบเทียบระยะเวลาที่ถ่ายอุจจาระเหลว จำนวนอุจจาระเหลว น้ำเกลือที่ให้ทดแทนระหว่างฟ้าทะลายโจรกับเตตร้าซันคลิน พบว่าสมุนไพรฟ้าทะลายโจร ลดจำนวนอุจจาระร่วงและจำนวนน้ำเกลือที่ให้ทดแทนอย่างน่าพอใจ แม้ว่าจากการทดสอบทางสถิติ จะไม่มีความแตกต่างทางนัยสำคัญก็ตาม ส่วนการลดเชื้ออหิวาตกโรคในอุจจาระ ฟ้าทะลายโจรไม่ได้ผลดีเท่าเตตร้าซัยคลิน
ข้อบ่งใช้
1.ฟ้าทะลายโจรควรใช้เมื่อมีอาการของหวัดอาการใดอาการหนึ่ง เช่น เจ็บคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือมีน้ำมูก โดยอาการเจ็บคอรับประทานครั้งละ 3-6 แคปซูล (แคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม) วันละ 4 ครั้ง
ส่วนการบรรเทาอาการหวัดให้รับประทานครั้งละ 2-3 แคปซูล (แคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม) วันละ 4 ครั้ง โดยแนะนำให้รับประทานติดต่อกันไม่เกิน 7 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
2.ระงับอาการอักเสบ หลอดลมอักเสบ ขับเสมหะ
3.รักษาอาการปวดท้อง ท้องเสีย บิด และกระเพาะลำไส้อักเสบ
4.เป็นยาขมเจริญอาหาร
ข้อควรระวัง
1.ฟ้าทะลายโจรอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเดิน ปวดเอว หรือวิงเวียนศีรษะ ใจสั่น ในผู้ป่วย บางราย หากมีอาการดังกล่าว ควรหยุดใช้ฟ้าทะลายโจร
2.หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้แขนขามีอาการชาหรืออ่อนแรง
3.หากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยา ควรหยุดใช้ และไปพบแพทย์
4.สตรี มีครรภ์ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร การที่ห้ามใช้ในสตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร เนื่องจากมีการศึกษาในหนูทดลองพบว่าน้ำต้มฟ้าทะลายโจรมีผลทำให้หนูแท้งได้
5.แม้ว่าฟ้าทะลายโจรจะมีประโยชน์ในการรักษาโรคอย่างกว้างขวาง และดูเหมือนจะมีพิษน้อย แต่เนื่องจากเป็นยาเย็นจัด การกินฟ้าทะลายโจรรักษาโรคนานๆ ติดต่อกันหลายปีอาจจะเกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น มีอาการท้องอืด อาหารไม่ย่อย แขนขาไม่มีแรง เป็นต้น
ข้อห้ามใช้
ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอในกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากติดเชื้อ Streptococcus group A
2. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบเนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A
3. ในผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค
4. ในผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรีย และมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น
การเกษตรเรื่องการปลูกฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้งเป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น ฤดูที่เหมาะแก่การปลูกคือฤดูฝนช่วงต้นฤดู ควรปลูกในที่โล่งแจ้งและให้แสงรำไรเพราะลำต้นจะเตี้ยและใบหนา แต่ถ้าปลูกในที่ร่มลำต้นจะสูงใหญ่ใบบาง
การเกษตรการปลูกฟ้าทะลายโจร
การเตรียมดิน
ทำการปรับให้ดินร่วนซุเพื่อกำจัดวัชพืช สำหรับพื้นที่ปลูกที่เป็นที่ลุ่มและปลูกในฤดูฝน ควรทำการขุดยกร่องแปลงเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง โดยขุดยกแปลงสูงประมาณ 15-20 เซนติเมตร และแปลงกว้างประมาณ 1-2 เมตร ความยาวของแปลงตามความเหมาะสมของขนาดพื้นที่ เว้นทางเดินระหว่างแปลงประมาณ 1 เมตร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
การปลูกแบบหว่าน ควรนำเมล็ดฟ้าทะลายโจรผสมกับทรายหยาบอัตรา 1:1.2 ส่วน ในการหว่านเมล็ดเนื่องจากเมล็ดฟ้าทะลายโจรมีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจึงทำให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ การใช้ทรายหยาบเข้ามาช่วยจะทำให้เมล็ดพันธุ์มีน้ำหนักมากขึ้น และทำให้เมล็ดพันธุ์กระจายสม่ำเสมอ ควรใช้เมล็ดพันธุ์ 100-400 เมล็ดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ปัญหาที่พบใการปลูกแบบหว่านก็คือ การกำจัดวัชพืชจะทำได้ยากเพราะไม่สามารถนำเครื่องมือทางการเกษตรเข้าไปใช้ในแปลงหว่านได้ต้องใช้แรงงานคนอย่างเดียว ทำให้ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากและยังให้ผลผลิตทางการเกษตรปริมาณน้อย
การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ขุดร่องตื้นเป็นแถวยาวจากนั้นโรยเมล็ดพันธุ์ฟ้ทะลายโจรลงไปแล้วเกลี่ยดินกลบเบา ๆ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 50-100 เมล็ดต่อความเยาว 1 เมตร เว้นระยะห่างในการปลูกประมาณ 40 เซนติเมตร การปลูกด้วยวิธีนี้ไม่พบปัญหาในการกำจัดวัชพืชเนื่องจากมีระยะการปลูกที่เว้นห่างจึงทำให้สามารถนำเครื่องมือทางการเกษตรไปทำการกำจัดวัชพืชและพรวนดินได้
การเกษตรการปลูกฟ้าทะลายโจร
ป้ายคำ : สมุนไพร