มะขวิดเป็นผลไม้โบราณมีถิ่นกำเนิดแถวประเทศอินเดีย ศรีลังกาและอินโดจีน ปัจจุบันหามะขวิดได้ยากจะพอมีก็ตามต่างจังหวัด ลักษณะต้นมะขวิดจะคล้ายๆกับ ต้นมะสัง คือมีใบเล็กและลำต้นใหญ่เป็นต้นไม้ที่มีอายุยืนหลายสิบปี มะขวิดจะเริ่มให้ผลสุกที่รับประทานได้ประมาณช่วงฤดูหนาว มะขวิดที่สุกก่อนก็จะหล่นลงมาแต่เวลาเก็บจะต้องอยู่ให้ห่างจากรัศมีของต้นไม่งั้นหัวอาจบุบได้เพราะมะขวิดมีเปลือกที่แข็งมากๆ ผิวผลเมื่อแก่จัดมีสีเทาอมขาว ผลสุกรับประทานได้ เนื้อในเป็นสีน้ำตาลแดง รสเปรี้ยวอมหวาน มีกลิ่นหอมเฉพาะ ทำเป็นผลไม้กวนได้ หรือทำเป็นน้ำมะขวิดก็หอมชื่นใจดี ผลมะขวิดมีกรดอินทรีย์ สารเพกทิน และวิตามินซี ผลดิบมีสาฝาดสมานด้วย ใช้รักษาโรคลักปิดลักเปิด และโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Elephant’s Apple, Wood Apple, Kavath, Gelingga, Feronia limonia Swing.
ชื่อวงศ์ : RUTACEAE
ชื่ออื่น : มะฟิด
รูปลักษณะ : เป็นไม้ต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบไว สูง 15 – 25 ม.เปลือกนอกสีเทา เปลือกในสีขาว เรือนยอดเป็นพุ่มกลม รูปทรงต้นสวยงาม ใบ เป็นช่อแบบข้อต่อเรียงสลับหรือติดเป็นกระจุกบริเวณปุ่มตามกิ่ง ช่อใบ ยาว 8 – 15 ซม. แต่ละช่อ มี 1 – 4 ปล้อง เนื้อใบค่อนข้างหนา เกลี้ยงหลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ส่วนท้องใบสีจางกว่า ถ้าเอาใบส่องผ่านแสงจะเห็นต่อมน้ำมันทั่วไป รูปรี ๆ ใส ๆ มากมาย ขอบใบเรียบก้านใบย่อยสั้นมาก ส่วนก้านช่อใบ ยาว 3 – 4 ซม. ดอก เล็กสีขาวอมแดงคล้ำ ๆ ออกรวมกันเป็นช่อสั้น ๆในแต่ละช่อมีทั้งดอกเพศผู้และดอกรวมเพศ ผล แบบผลแห้ง เมล็ดจำนวนมาก รูปผลกลมโต เปลือกนอก แข็งเป็นกะลา สีเทาอมขาว ขนาดผลเส้นผ่านศูนย์กลาง 8 – 10 ซม. เนื้อในอ่อนนิ่ม เมื่อสุกเนื้อเยื่อในสีดำและรับประทานได้ มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว มียางเหนียวใช้เป็นกาวได้ เมล็ดเคี้ยวกินกรุบ ๆ อร่อยดี
เนื้อผลมะขวิดสุกมีสีนํ้าตาลคล้ายสีมะขาม มีรสอมเปรี้ยวอมหวานกลิ่นหอม น่ารับประทาน ใช้รับประทานเป็นผลไม้ทำให้สดชื่นและมีคุณสมบัติเป็นยาบำรุงธาตุ ผลมะขวิดที่ไม่สุกนำมาฝานเป็นชิ้นตากแห้งนำมาชงน้ำดื่มแก้โรคลักปิดลักเปิด ( antiscorbutic ) เนื่องจากมีสารพวกวิตามินซี และมีสารรสฝาดแทนนิน ( Tannin ) ช่วยแก้โรคท้องเสียและโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ใช้แทนผลมะตูมได้ ภายในผลมะขวิดมีสารเมือกเพคติน (pectin) ประมาณ ๕% ช่วยหล่อลื่นกระเพาะลำไส้ ท้องไม่ผูก นอกจากผลมะขวิดที่จะให้คุณค่าทางอาหารและยาแล้ว ใบมะขวิดซึ่งมีลักษณะคล้ายครีบ มีกลิ่นหอม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหยจำนวนเล็กน้อย (๐.๗๓%) ส่วนใหญ่เป็นสารพวกเอสตราก๊อล ( estragol ) ประมาณ ๙๐% จึงนำใบมะขวิดมาทำเป็นยาขับลมและช่วยฝาดสมาน
มะขวิดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ตามลำต้นมีหนาม ตามลำต้นและกิ่งก้านของมะขวิด มียางกัม (gum) มีลักษณะเป็นก้อนใสสีเหลืองอ่อนหรือไม่มีสี มีชื่อทางการค้าว่ายางเฟอโรเนีย (Feronia gum) ยางมะขวิดละลายน้ำได้นํ้ายางเหนียวข้น กรีดหลังฤดูฝนไปแล้ว ใช้แทนกาวได้ ในชวาใช้ยางมะขวิดเป็นส่วนผสมในน้ำหมึกเวลาเขียนเส้นจะไม่ขาด เนื้อยางมะขวิดสลายตัวจะให้น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น น้ำตาลกาแลคโตส (D galactose ) ๔๒.๗% น้ำตาลเพนโตส (pentose) ๓๕.๕% และน้ำแฮมโนส, กรดกลูคิวโรนิค (glucuronic acid) ปริมาณเล็กน้อย ยางมะขวิดมีสารพวกแทนนินแก้โรคท้องร่วงและห้ามโลหิต ใช้แทนยางอะคาเซีย (acacia gum)
สรรพคุณ
ส่วนที่ใช้ : ใบ ยางจากลำต้น ผล
การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้ง ที่ชอบแสงแดดจัด ต้องการน้ำ และความชื้นในปริมาณปานกลาง มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
>> การปลูกมะนาวบนต้นตอมะขวิด
>> การเสียบยอดมะนาวกับต้นตอด้วยหลอดกาแฟ
ป้ายคำ : ผลไม้