มะขาม มีแหล่งกำเนิดในอัฟริกาเขตร้อน เป็นไม้ป่าแถบสะวันนาได้นำเข้าไปปลูกใน อินเดีย และต่อมาได้แพร่กระจายทั่วไปในเอเชียและเขตร้อนอื่น ๆ ประเทศไทย จัดว่าเป็นแหล่งปลูกมะขามเปรี้ยวและมะขามหวานที่ใหญ่ที่สุด พบว่ามีการ ปลูกมะขามหวานกันมานานแล้วในภาคเหนือของไทย โดยเฉพาะที่อำเภอหล่ม เก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งเป็นต้นกำเนิดมะขามหวานพันธ์หมื่นจง สีทอง และ อินทผลัม ที่มีชื่อที่สุด นอกจากนั้นยังพบในบางจังหวัดทางภาค อีสาน ปัจจุบันได้มีการคัดเลือกขยายพันธุ์และปลูกเป็นอาชีพเกือบทุกภาคของ ประเทศไทย คาดว่าในอนาคตอาจจะเป็นไม้ผลเศรษฐกิจทำรายได้ให้แก่ประเทศ
ชื่อสามัญ: Sweet Tarmarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tarmarindus indica L.
มะขามหวานเป็นพืชในวงศ์ถั่ว(Lequminosae) เช่นเดียวกับ ราชพฤกษ์, กัลปพฤกษ์ และขี้เหล็ก
อุปนิสัยของมะขามหวาน
มะขามหวานเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ มีอายุยืน แผ่กิ่งก้านสาขาเป็นพุ่มทรงกลมแน่น ลำต้นเหนียวหักโคนยาก และรากลึก ทนแล้งเป็นไม้ผลกึ่งเขียวตลอดปี (Semi-evergreen) แต่จะค่อย ๆ สลัดใบแก่ในฤดูร้อน ประมาณเดือนมีนาคม เมษายน พร้อมกันนั้นก็จะผลิใบใหม่ขึ้นมาแทน เมื่อใบเริ่มแก่ก็จะออกดอก คือประมาณเดือนเมษายน พฤษภาคม ติดฝักอ่อนพอมองเห็นได้ราว ๆ ปลายเดือนพฤษภาคม มิถุนายนและฝักจะแก่เก็บได้ประมาณปลายเดือนธันวาคม มีนาคม ซึ่งจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับพันธุ์ ปริมาณของฝนและความชื้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ใบ (Leaves)
มะขามหวานเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ ชนิดใบประกอบ (compound leaves) ใบเรียงตัวแบบสลับ (alternate) มีความยาวประมาณ 10 16 ซม. ประกอบด้วยใบย่อยเล็ก ๆ รูปคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า (oblong) ขนาด 1 2.5 x 0.5 1.0 ซม. เรียงตัวติดก้านใบใหญ่แบบตรงข้าม (opposite) มีจำนวนใบย่อยประมาณ 10 17 คู่
ดอก(Flowers)
มะขามหวานมีดอกเป็นช่อแบบ Racemes ยาวประมาณ 5 16 ซม. บานจากโคนช่อไปยอดในช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกประมาณ 5 12 ดอก ขนาดเสนผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 2.5 ซม. มีกลีบไม่เท่ากัน (Zygomorphic) ประกอบด้วยใบประดับ (Bracteoles) จำนวน 2 อัน รูปเรือมีสีครีม, ชมพู-ครีม หรือสีแดง ซึ่งแล้วแต่พันธุ์ ใบประกอบนี้จะหุ้มตาดอกไว้ แต่จะร่วงก่อนดอกบาน ดอกมะขามหวานจะมีกลีบเลี้ยง (Sepals) 4 อัน สีครีมยาวประมาณ 1 1.5 ซม. กลีบดอก (Petale) 3 อัน สีเหลืองหรือสีชมพูและมีเส้นลายแดงคล้ายเส้นโลหิตฝอยยาวประมาณ 1 1.5 ซม.
ดอกมะขามหวานเป็นดอกประเภทสมบูรณ์เพศมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ (Fertile stamens) 3 อัน สลับด้วยเกสรตัวผู้ที่ฝ่อหรือไม่สมบูรณ์ (Staminodes) ก้านเกสร (Filaments) ยาวประมาณ 1 ซม. และโค้งเล็กน้อย มีฐานติดกันประมาณครึ่งหนึ่งของความยาวมีกระเปราะเกสรตัวผู้ (Anthers) 2 อัน ติดอยู่ที่ปลายตามขวาง เกสรตัวเมีย (Pistil) 1 อัน ก้านเกสร (Style) ยาวกว่าของตัวผู้เล็กน้อยและมีขนอ่อนปกคลุม การติดของรังไข่ (overy) เป็นแบบ Superior มี 1 ช่อง (locule) แต่มีไข่อ่อน (ovules) จำนวนมาก มะขามหวานส่วนใหญ่มีการผสมพันธุ์ข้ามดอก เนื่องจากเกสรตัวผู้จะบานก่อนเกสรตัวเมีย และมักจะมีอายุในการผสมราว 1 2 วัน และถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติด ประมาณ 2 3 วัน ต่อมาดอกจะร่วงโดยกลีบดอกจะร่วงก่อน ส่วนดอกที่ได้รับการผสมติดแล้ว รังไข่ก็จะขยายตัวเจริญเป็นฝักมะขามต่อไป
ฝักหรือผล(Pods or Fruits)
ฝักมะขามหวานเป็นฝักเดี่ยวยาว มีหลานเมล็ดประมาณ 1 10 เมล็ด ฝักอ่อนจะมีสีเขียวและมีสะเก็ด (scurfy) สีน้ำตาลปกคลุม เมื่อฝักแก่จะแข็งเป็นสีน้ำตาล เปลือกจะแยกออกจากเนื้อ (pulp) ซึ่งหุ้มแต่ละเมล็ดเชื่อมต่อกันทั้งฝัก มะขามหวานมีฝักลักษณะรูปร่างต่าง ๆ มีขนาดเล็กจนถึงใหญ่
พอจะแบ่งตามลักษณะของฝักได้ดังนี้
เนื้อมะขาม (Pulp)
เนื้อมะขามหวานเป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ซึ่งมะขามหวานที่ดีนั้นควรจะมuรสหวาน กลิ่นหอม เนื้อนุ่มหรือกรอบ มีพังพืดหรือเยื้อหุ้มเมล็ดไม่เหนียว และเมล็ดเล็กหลุดออกจากเนื้อง่าย อย่างไรก็ตามมะขามแต่ละพันธ์จะให้เนื้อดีแค่ไหน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ส่วนเรื่องสีของเนื้อมะขามหวานนั้น มีตั้งแต่สีน้ำตาลเข็มเกือบดำ สีน้ำตาลแดง สีน้ำตาล สีน้ำตาลเหลือง ตลอดจนสีน้ำตาลอ่อนซีด หรือด้าน ๆ มะขามเมื่อแก่แล้วเก็บไว้นาน ๆ สีของเนื้อจะเข็มหรือคล้ำขึ้น และกลิ่นหอมจะหายไปบ้าง
มะขามหวานขณะยังอ่อนจะมีรสเปรี้ยวและฝาด เนื่องจากเนื้อมะขามมีกรดทาแทริค (Tartaric acid) เมื่อแก่แล้วความฝาดจะหายไป ปริมาณกรดก็จะลดลงและน้ำตาลจะเพิ่มขึ้น ถ้าประมาณของน้ำตาลสูงมีกรดน้อย มะขามก็จะหวานจัด ซึ่งมะขามแต่ละพันธุ์มีความหวานแตกต่างกัน
มะขามไม่ว่าหวานหรือเปรี้ยว ในฝักหนึ่ง ๆ ควรจะมีเนื้อ(pulp) อยู่อย่างน้อย 40% ซึ่งเนื้อมะขามประกอบด้วย น้ำประมาณ 20% โปรตีน 3 3.5% ไขมัน 0.4 0.5% คาร์โบไฮเดรท 70% เส้นไย 3.0% และขี้เถ้า 2.1% ความเปรี้ยวของเนื้อมะขามจะขึ้นอยู่กับประมาณกรดทาแทริคในเนื้อ มะขามเปรี้ยวส่วนใหญ่จะมีกรดประมาณ 12% ส่วนมะขามหวานจะมีน้อยกว่าและคาร์โบไฮเดรทส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของน้ำตาล
เมล็ด(Seeds)
เมล็ดมะขามเมื่อแก่จัดจะแข็ง มีสีน้ำตาลเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน เมล็ดจะมีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมหัวป้าน (obovoid) ภายในมีเนื้อประกอบด้วย แป้ง 63% โปรตีน 16% และน้ำมัน 5.5% สามารถใช้ประกอบอาหารได้ เมล็ดมะขามไม่มีระยะพักตัว เมื่อแก่จัดนำไปเพาะจะงอกเป็นต้นอ่อนราว 5 7 วัน ขึ้นอยู่กับความชื้นและความสมบูรณ์ของเมล็ดแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นาน ๆ เพราะความงอกจะลดลง และจะเสียหายจากตัวแมลงเจาะกิน
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกมะขามหวาน
มะขามหวานเป็นไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อน ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด ทนแล้ง ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง นับว่าต้องการน้ำน้อยกว่าไม้ผลชนิดอื่น ๆ ไม่ชอบน้ำท่วมขัง ปลูกเลี้ยงง่าย โตเร็ว ไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากมะขามจะออกดอกและติดฝักอ่อนในฤดูฝน ผลแก่ในฤดูแล้งอย่างไรก็ตาม สภาพดินฟ้าอากาศ ที่เหมาะในการปลูกมะขามหวานเป็นอาชีพนั้น ควรเป็นดินค่อนข้างเหนียว มีความเป็นกลางหรือด่างอ่อน ๆ มีปริมาณอินทรียวัตถุพอสมควร เป็นที่สูงน้ำไม่ท่วมขัง และในฤดูแล้งมีน้ำให้บ้าง สรุปแล้วในประเทศไทยสามารถปลูกมะขามหวานได้เกือบทุกภาค และถ้ามีการบำรุงรักษาตามสมควร แล้วก็จะได้ผลดีกว่าไม้ผลอื่น ๆ มากทีเดียว
พันธุ์มะขามหวาน
ปัจจุบันในประเทศไทยมีมะขามหวานอยู่มากมายหลายพันธุ์แต่ละพันธุ์ก็มี ลักษณะ และคุณสมบัติแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสรุปพันธุ์มะขามหวานที่ควรแนะนำและส่งเสริมดังนี้.-
นอกจากพันธุ์ที่กล่าวแล้วยังมีพันธ์มะขามหวานอีกหลายพันธ์ ซึ่งมีข้อดีเสียและคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป
การขยายพันธุ์มะขามหวาน
มะขามหวานเป็นไม้ผลที่สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด, การตอน, การทาบกิ่ง, การติดตา, ต่อกิ่งและแม้กระทั่งการปักชำก็ยังได้ผลดีแต่ต้องมีฮอร์โมนช่วย
การเพาะเมล็ด นิยมกันในสมัยก่อนคนโบราณทำกันมานานแล้วมะขามหวานพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบันได้มาจากการเพาะเมล็ดทั้งนั้น แต่ว่าโอกาสที่จะได้พันธุ์ดี ๆ มีน้อย ส่วนใหญ่จะกลายเป็นพันธุ์เลวและต้องใช้เวลาหลายปีจึงจะให้ผล ต้นสูงใหญ่เกินไปเก็บฝักยาก ปัจจุบันการเพาะเมล็ดไม่ค่อยนิยม
การติดตา เป็นวิธีค่อนข้างจะยาก เนื่องจากมะขามเป็นไม้เนื้อแข็ง เปลือกขรุขระและหยาบ ใบร่วงง่าย มีตาขนาดเล็กแบนราบ เลือกตาลำบากต้องอาศัยความชำนาญและอุปกรณ์ต้องคม จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมการติดตามะขามเนื่องจากมีวิธีอื่นที่ทำง่ายกว่า
การต่อกิ่ง เป็นวิธีขยายพันธ์ซึ่งนิยมทำกันแต่ก็ยังน้อยกว่าการทาบกิ่ง วิธีนี้มักกระทำเพื่อเปลี่ยนยอดของต้นเดิมเป็นการเปลี่ยนพันธ์ ซึ่งวิธีการต่อกิ่งทำเช่นเดียวกับมะม่วงหรือไม้ผลอื่น ๆ และควรต่อกิ่งในฤดูที่มะขามพักตัวหรือก่อนที่จะผลัดใบ จะช่วยให้เปอร์เซ็นต์การต่อกิ่งได้ผลดีและระวังอย่าตัดต้นตอให้ต่ำนักหรือ ตัดออกหมดทีเดียวต้นตออาจจะตายได้
การทาบกิ่ง เป็นวิธีที่ง่ายและ นิยมมากที่สุดใช้เวลาในการทาบกิ่งประมาณ 45 60 วัน โดยใช้ต้นตอจากการเพาะเมล็ดมะขามเปรี้ยวจะเพาะลงแปลงแล้วขุดใส่ถุงพลาสติก หรือจะเพาะลงถุงเลยก็ได้ อายุของต้นตอ (root stock) ประมาณ 3 เดือนถึง 1 ปี ก็ใช้ทาบได้ ไม่ควรใช้ต้นตออายุมากเกินหรือขนาดใหญ่นักเพราะเนื้อไม้จะแข็งทาบยาก และอาจมีรากไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากรากบางส่วนที่ยาวเกินและโผล่ออกจากถุงต้องถูกตัดออกก่อนเอาต้นตอ ขึ้นทาบกิ่ง ส่วนวิธีการทาบกิ่งนั้นทำเช่นเดียวกับมะม่วงหรือไม้ผลอื่น ๆ ชาวสวนมะขามเพชรบูรณ์ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์มะขามหวานด้วยการทาบกิ่งเพราะว่า ได้ผลดี สะดวก แข็งแรงเจริญเติบโตเร็วและทนแล้ว ตลอดจนให้ฝักเร็วอีกด้วยเพียง 2-3 ปีก็เห็นผล
การตอนกิ่ง เป็นวิธีการขยายพันธุ์มะขามอีกวิธีหนึ่ง ซึ่งเคยใช้กันมาในสมัยก่อนและให้ผลดีพอสมควร ได้ต้นพันธุ์ขนาดค่อนข้างใหญ่และให้ฝักเร็ว ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมเพราะว่าต้นมะขามหวานที่ได้จากการตอนไม่มีรากแก้ว ทำให้โค่นล้มง่าย ไม่ทนต่อสภาพแห้งแล้งและดินเลว มดและปลวกรบกวน ตลอดจนการตอนก็ใช้เวลานานและต้องรอให้กิ่งตอนมีรากมากพอจากนั้นจะต้องเอาไป ชำจนตั้งตัวดีแล้วจึงจะนำออกปลูกได้ ช่วงเวลาที่ให้ผลดีในการตอนนั้นสั้นทำได้เฉพาะฤดูฝนและอาจต้องใช้ฮอร์โมน เข้าช่วยด้วยเมื่อเปรียบเทียบกับการทาบกิ่งแล้ว สู้การทาบกิ่งไม่ได้
การปลูกมะขามหวาน
มะขามหวานถึงแม้ว่าจะเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้เกือบทุกสภาพท้องที่และทุก ลักษณะ ดินก็ตาม แต่ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องอาศัยเทคนิคต่าง ๆ พอสมควร เช่น การปลูก การดูแลรักษา และการเก็บผล ตลอดจนการเลือกให้พันธุ์อย่างเหมาะสม สำหรับการปลูกมะขามหวานนั้นพอสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้.-
1. การเลือกพันธุ์มะขามและระยะปลูก มะขามหวานแต่ละพันธุ์นั้นมีลักษณะนิสัยและคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนั้นในการเลือกพื้นที่และวางระยะปลูกจึงต้องพิจารณาให้เหมาะสม และคำนึงการใช้เทคนิคทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแผนงานของผู้เป็นเจ้าของส่วนที่ได้วางไว้ด้วย มีหลักการแนะนำเป็นแนวทางดังนี้ .-
1.1 ลักษณะดินและน้ำดี ควรใช้ระยะปลูก 7 x 7 ม. ใช้ต้นพันธุ์จำนวน 32 ต้น หรือระยะ 8 x 8 ม. ใช้ต้นพันธุ์จำนวน 25 ต้น หรือระยะ 10 x 10 ม. ใช้ต้นพันธุ์จำนวน 16 ต้น
1.2 ลักษณะดินไม่ดี ควรใช้ระยะปลูก 5 x 5 ม. ใช้ต้นพันธุ์จำนวน 64 ต้น หรือระยะ 5 x 6 ม. ใช้ต้นพันธุ์ 53 ต้น หรือระยะ 6 x 6 ม. ใช้ต้นพันธ์จำนวน 44 ต้น หรืออาจใช้ระยะปลูก 7 x 7 ม. หรือ 8 x 8 ม. ก็ได
1.3 ลักษณะพันธ์มะขามหวาน มะขามทรงพุ่มกว้างได้แก่ พันธุ์สีทอง, หมื่นจง และแจ้ห่ม ใช้ระยะปลูก 8 x 8 ม หรือ 10 x 10 ม. ทรงพุ่มขนาดกลางได้แก่ พันธุ์น้ำผึ้ง, ขันตี, ปากดุก และหลังแตก ใช้ระยะ 7 x 7 ม. หรือ 8 x 8 ม. ส่วนทรงพุ่มขนาดเล็กหรือแคบได้แก่ พันธุ์ศรีชมพู และอินทผลัม ใช้ระยะ 5 x 6 ม. หรือ 6 x 6 ม. หรือ 7 x 7 ม.
ในปัจจุบันนี้มีชาวสวนบางรายปลูกมะขามหวานระยะประชิดหรือระยะถี่ 3 x 6 ม. หรือ 4 x 5 ม. โดยใช้เทคนิคทางวิชาการแผนใหม่เข้าช่วย เช่นการให้น้ำแบบหยด การให้ปุ๋ย ยา และฮอร์โมน ทางใบ ตลอดจนการตัดแต่งกิ่งไม่ให้โตเกินไป ซึ่งสะดวกต่อการดูแลรักษา การเก็บฝักและสามารถให้ผลผลิตดีมีคุณภาพอีกด้วย
2. การเตรียมดินก่อนจะปลูกมะขามหวานควร จะกำจัดวัชพืชที่จะแย่งอาหาร บดบังแสงหรืออาจเป็นอันตรายต่อต้นมะขาม ตลอดจนเป็นอุปสรรคต่อการปลูกและการดูแลรักษาอื่น ๆ หลุมปลูกควรขุดหลุมกว้าง 50 ซม. ลึก 50 ซม. หรือถ้าดินและน้ำดีอาจหลุมเล็กกว่านี้ จะช่วยให้ประหยัดเงินและแรงงาน แต่ถ้าดินเลวเป็นดินลูกรังกันดารน้ำก็ควรให้หลุมใหญ่ขึ้น ผสมดินปลูกลงในหลุมด้วยแกลบดิบหรือเปลือกถั่วลิสง 2 ส่วน, ปุ๋ยคอกเก่า 1 ส่วน และหน้าดิน 1 ส่วน หรือถ้าไม่มีจริงก็ใช้เศษหญ้าใบไม้แห้งกับหน้าดินก็ได้ ดินผสมประมาณ 1 ลูกบาศก์เมตร เติมกระดูกป่นหรือปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต 1/2 1 กก. ถ้าแหล่งใดดินเป็นกรดควรเติมปูนขาวหรือปูนดินอีก 1/2 กก. เตรียมหลุมรดน้ำไว้พร้อมที่จะปลูกได้
นำต้นพันธุ์มะขามหวานลงปลูกกลางหลุม ในระดับผิวดินเติมกลบดินโคนต้นให้รอยต่อพ้นดิน อัดดินให้แน่นพอสมควร ให้หลักไม้ปักข้างต้นผูกยึดโคนต้นให้แน่น อาจจะให้ปุ๋ย อัตรา 1 ช้อน รดน้ำให้ชุ่มทั่วหลุมปลูกแล้วคลุมโคนต้นด้วยฟางหรือเศษหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันวัชพืชขึ้นแซม ควรปลูกต้นต้นฤดู หรือถ้ามีน้ำพอก็สามารถปลูกได้ทุกฤดูกาล
การดูแลรักษา:
การดูแลรักษาหลังปลูก ในระยะ 1-2 ปีแรกหรือขณะที่ต้นมะขามหวานยังเล็กอยู่ ควรดูแลรักษาให้ดี อาจรดน้ำให้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ในฤดูแล้งหรือเมื่อฝนไม่ตกและกรีดพลาสติกที่พันรอยต่อของกิ่งทาบหลังจากปลูก แล้ว 1-2 เดือน ถ้าไม่เอาออกต้นจะคอดไม่โตหรืออาจจะหักโคนตรงรอยต่อได้ คอยริดและทำลายตาข้างที่แตกออกมาจากต้นตอ (root stock)
หมั่นพรวนดินกำจัดวัชพืช และคลุมโคนต้นด้วยอินทรียวัตถุหรือหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นไว้ป้องกันไฟป่าในฤดูแล้ง และให้ปุ๋ยคอก แกลบเผา หรืออินทรียวัตถุอื่น ๆ ในต้นฤดูฝนควรเร่งให้ต้นมะขามโตเร็วด้วยปุ๋ย ถ้ามีแมลงรบกวน กัดกินใบยอดอ่อนใช้ยาเซฟวิน 85 พ่นให้ทั่วต้น ส่วนโรคราแป้งและโรคใบจุดใช้ยาโลนาโคลหรือดาโคนิล พ่นทุกสัปดาห์จนกว่าจะหายหรือพ่นป้องกันเดือนละครั้ง และถ้าหากมีปัญหาเกี่ยวกับโรคแมลงรบกวนมาก ๆ ให้รีบปรึกษาสำนักงานเกษตรหรือหน่วยปราบศัตรูพืชที่อยู่ใกล้
การดูแลและบำรุงรักษา
เมื่อต้นมะขามโตและให้ผลแล้ว หลังจากปลูกมะขามหวานด้วยกิ่งทาบประมาณ 2-3 ปี มะขามจะเริ่มให้ผลผลิตโดยจะออกดอกในต้นฤดูฝนและฝักจะแก่เก็บได้ในฤดูแล้ง ดังนั้นเกษตรกรที่จะปลูกมะขามหวานเป็นอาชีพ ควรจะวางแผนบำรุงรักษาต้นมะขามหวานดังนี้.-
1. การให้น้ำ ควรให้น้ำต้นมะขาม ทันทีหลังจากเก็บฝักและตัดแต่งกิ่งแล้ว เพื่อมะขามจะได้ผลิใบใหม่ออกดอกเร็วขึ้น และออกดอกพร้อมกัน ทำให้ฝักแก่เก็บได้เร็วขึ้นอีกด้วย ควรให้น้ำทุกครั้งเมื่อมีการให้ปุ๋ยทางดินและให้บ้าง ขณะติดฝักอ่อนในช่วงที่ฝนทิ้งระยะ หรือดินมีความชื้นน้อย และหยุดการให้น้ำเมื่อฝักเริ่มแก่
2. การใส่ปุ๋ย มะขามหวานนั้นต้องการปุ๋ยเช่นเดียวกับไม้ผลอื่น ๆ ถึงแม้ว่ามะขามจะเป็นพืชที่หาอาหารเก่งหรือเจริญเติบโตได้ดีในทุกสภาพดินก็ ตาม แต่ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม หรือให้ปุ๋ยไม่ถูกจังหวะ ไม่ถูกสูตรและไม่พอกับความต้องการแล้วอาจทำให้ผลผลิต และคุณภาพของมะขามหวานไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงควรพิจารณาให้ดังนี้.-
2.1 ใส่ปุ๋ยคอก หรืออินทรียวัตถุ และกระดูกป่น หรือปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต เป็นประจำทุกปี ตอนต้นฤดูฝน ปริมาณมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของทรงพุ่ม และความสมบูรณ์ของดิน
2.2 ใส่ปุ๋ยเคมี ที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อเร่งให้ต้นสมบูรณ์พร้อมที่จะออกดอก โดยใช้ปุ๋ย พอต้นสมบูรณ์แล้วตามด้วยปุ๋ย การใส่ปุ๋ยให้ใส่เป็นรางดินรอบ ๆ โคนต้นตามปลายร่มเงาของทรงพุ่ม และก่อนออกดอกราวเดือนพฤษภาคม ใช้ปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยเกล็ดหรือปุ๋ยน้ำสูตร (ถ้ามะขามสมบูรณ์เกินไป) โดยพ่นปุ๋ยให้ทางใบและจะใช้ฮอร์โมนแพลนโนฟิกซ์ (Planofix) ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือ 1-Naphthylacetic acid (NAA) ผสมสารจับใบพืชพ่นให้อีกเพื่อช่วยให้การติดดอกและฝักอ่อนดีขึ้น ในช่วงที่มะขามหวานเป็นฝักอ่อน ควรให้ปุ๋ยบำรุงฝักสักระยะหนึ่ง จนถึงก่อนฝักมะขามโตเข้าระยะคาบหมู จึงให้ปุ๋ยที่มีธาตุโปแตสเซี่ยมสูง พ่นทางใบร่วมกับยากันเชื้อราและยาป้องกันกำจัดแมลงเจาะฝัก ปุ๋ยดังกล่าวจะให้ธาตุโปแตสเซี่ยมและฟอสเฟตสูง ช่วยให้ขนาดฝัก คุณภาพของเนื้อมะขามและความหวานดีขึ้น
ปริมาณของปุ๋ยที่ให้ทางพื้นดินแก่ต้นมะขามนั้น พิจารณาจากอายุ และขนาดทรงพุ่ม อาจจะให้ปุ๋ยต้นละ 1-2 กก.ต่อปี และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรแบ่งใส่ 2 ครั้ง แล้วให้น้ำทุกครั้งเมื่อใส่ปุ๋ย
การตัดแต่งกิ่งมะขาม
การตัดแต่งกิ่งมะขาม ถือว่าเป็นเทคนิคทางวิชาการที่จะช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ เพิ่มความสะดวกในการดูแลรักษาและเก็บผล การตัดแต่งจะกระทำหลังจากเก็บฝักมะขามเรียบร้อย โดยตัดแต่งกิ่งที่แน่นทึบกลางพุ่ม กิ่งที่เป็นโรคหรือแห้งตายหรือกิ่งกระโดง และตัดกิ่งยอดที่สูงเกินไปออก เพื่อควบคุมความสูงหรือตัดแต่งกิ่งที่ห้อยย้อยลงต่ำเกินไปออก ควรทาแผลหรือรอยตัดด้วยยาป้องกันเชื้อโรค หรืออาจใช้ปูนขาวผสมน้ำทาบริเวณรอยบาดแผล
การเก็บผลหรือฝักมะขามหวาน
มะขามหวาน จะแก่เก็บได้ในฤดูแล้งประมาณเดือนธันวาคม-มีนาคม ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพดินฟ้าอากาศ ปีใดฝนตกต้นฤดูและหมดเร็วมะขามก็จะแก่เร็ว และพันธุ์เบา ฝักเล็ก คุณภาพปานกลาง จะแก่เก็บได้ก่อนส่วนพันธุ์ดี ๆ นั้นจะเก็บได้ตอนกลางฤดู คือประมาณเดือนมากราคม-กุมภาพันธ์ หรือต้นมีนาคม
การเก็บฝักมะขาม ต้องพิจารณาดูเป็นต้น ๆ หรือเป็นฝัก ๆ ไปบางทีอาจจะแก่เก็บได้ไม่พร้อมกัน ฝักปลาย ๆ หรือด้านนอกพุ่มมักจะแก่ก่อนโดยสังเกตจากสีของฝัก ความเหี่ยวของก้านฝัก และลักษณะอื่น ๆ ซึ่งต้องใช้ความชำนาญ หรือประสบการณ์ จะต้องเก็บทีละฝัก โดยใช้มีดหรือกรรไกรตัดออกจากต้น นำฝักมะขามหวานที่เก็บได้ไปกองผึ่งอากาศไว้สัก 2-3 วัน เพื่อให้ความชื้นในฝักมีอยู่พอสมควร จึงทำการตัดแต่งก้านหรือขั้วฝักแล้วบรรจุภาชนะจำหน่ายได้ มะขามจัดว่าเป็นผลไม้รับประทานสดที่สามารถเก็บไว้ได้นานที่สุด และสามารถแปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้หลานอย่าง เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามเปียก แยมมะขาม มะขามคลุก ท๊อปฟี้มะขาม น้ำมะขามเข้มข้น และไวน์มะขาม
การเก็บรักษาฝักมะขามหวาน มะขามถึงแม้ว่าจะเป็นผลไม้ที่เก็บไว้รับประทานได้นานก็ตามแต่ถ้าต้องการเก็บ ไว้นานมาก ๆ เนื่องจากผลผลิตมากเกินไป จำหน่ายไม่หมด หรือเพื่อรอตลาด ควรมีการเก็บรักษาให้ถูกวิธี แนวทางการเก็บรักษาฝักมะขามหวานที่ชาวสวนมะขามหวานเพชรบูรณ์ใช้กันและได้ ผลดีคือ การอบด้วยไอน้ำเดือดหรือหรือการนึ่งฝักมะขามโดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับ ขนาดของฝักพันธุ์มะขาม และปริมาณของฝักที่ใช้อบ ตลอดจนอุปกรณ์และเชื้อเพลิง ซึ่งอาจจะนำไปอบไอร้อนเพื่อลดความชื้นในฝัก ทำให้ฝักแห้ง จากนั้นบรรจุมะขามลงในโอ่งเคลือบที่แห้งและสะอาด คลุมด้วยผ้าพลาสติกแล้วปิดฝาทับอีกให้มิดชิด กันอากาศเข้า หรือจะบรรจุใส่ถึงพลาสติกหนา เย็บปากถุงให้สนิทก็ได้ผลเช่นกัน วิธีดังกล่าวจะช่วยทำลายไข่และตัวแมลง ตลอดจนเชื้อราต่าง ๆ ที่ติดมากับฝักมะขามให้หมดไป สามารถเก็บไว้ได้นานตามต้องการหรืออาจจะเป็นแนวทางที่จะช่วยให้สามารถส่งฝัก มะขามหวานไปจำหน่ายยังตลาดอันห่างไกลจากพื้นที่ปลูกได้
การป้องกันกำจัดโรคแมลงศัตรูมะขามหวาน:
แมลง แมลงศัตรูมะขามที่สำคัญและทำความเสียหายให้ได้แก่.-
โรคมะขามหวาน
มะขามหวานมีโรครบกวนค่อนข้างน้อย อาจจะมีบ้างในบางท้องที่หรือบางปี และส่วนใหญ่เกิดกับมะขามในแปลงขยายพันธุ์ สำหรับต้นใหญ่มักพบกับต้นที่ได้รับไนโตรเจนมาก และในช่วงแตกใบอ่อนได้แก่.-
ป้ายคำ : ผลไม้