มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 1015 คู่แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 25 มม. ยาว 12 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 216 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็กกลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาลเนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 312 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมันและมีสีน้ำตาล
ชื่อสามัญ : Tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.
วงศ์ : CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น ๆ : ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ(นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์), มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว
ลักษณะทั่วไป
การขยายพันธุ์
เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง
สรรพคุณ
เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิดขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบและใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้ เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝักนำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณรับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนหรือฝี เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี
เมล็ดมะขาม ใช้เพาะอย่างถั่วงอกใช้นำมาทำเป็นแกงส้มกิน เป็นอาหารได้และในประเทศอินเดียนิยมใช้เมล็ดในนำมาป่นให้ละเอียดแล้วต้มกับผ้าเพื่อให้ผ้าแข็ง เหมือนกับลงแป้ง
คุณค่าทางโภชนาการ
ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
ส่วนที่นำมาใช้
สารทีมีคุณประโยชน์
การขยายพันธุ์มะขามเปรี้ยว
ส่วนใหญ่จะใช้วิธีทาบกิ่ง เพราะการทาบกิ่งนั้นมีข้อดีหลายประการคือ สามารถได้พันธุ์ดีตรงกับต้นแม่พันธุ์เดิมกิ่งพันธุ์มีอายุยืน เนื่องจากมีรากแก้วจากต้นตอทำให้โค่นล้มยาก โตไวให้ผลผลิตได้เร็วกว่าการเพาะเมล็ด และการเพาะเมล็ดจะทำให้เกิดกลายพันธุ์ (การกลายพันธุ์จะเกิดการเพาะเมล็ดและผสมเกษร) การทาบกิ่งนั้นไม่นิยมทำในช่วงฤดูหนาวเพราะเป็นช่วงที่ต้นไม้พักตัว การทาบกิ่งจะไม่ค่อยได้ผลจะทำหลังจากผ่านฤดูหนาวไปแล้ว
การเพาะต้นตอ ต้นตอเป็นส่วนที่สำคัญสำหรับการขยายพันธุ์ เพราะทำหน้าที่เป็นระบบรากของกิ่งพันธุ์ มีหน้าที่ชอนไชหาอาหาร และดูดน้ำดูดอาหารมาเลี้ยงต้นมะขามเปรี้ยวยักษ์ มะขามเปรี้ยวยักษ์มีรากจำนวนมาก จึงหาอาหารเก่งโตได้เร็ว สำหรับการทำต้นตอเราจะเพาะมาจากเมล็ดมะขามเปรี้ยวยักษ์ เพราะจะได้ต้นตอที่มีความสมบูรณ์แข้งแรงไม่มีโรคและแมลงทำลาย
เราจะนำเมล็ดมะขามเปรี้ยวยักษ์ไปแช่น้ำในภาชนะแล้วคัดเอาเมล็ดที่ลอยน้ำทิ้งไว้ นำเมล็ดที่จมน้ำไปทำเพาะชำส่วนวัสดุที่ใช้ประกอบในการผสมดิน จะมีขี้เถ้าแกลบ ขี้วัว และดิน ในอัตราส่วนที่เหมาะสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดีนำกรอกถุงเพาะชำขนาด 4 x10 นิ้ว ตั้งไว้ในแปลงที่อยู่กลางแดด โดยมีพลาสติกรองพื้นอย่างน้อย 2 ชั้น เพื่อป้องกันไม่ให้รากแก้วทะลุลงพื้น (เพราะเราเน้นในเรื่องที่ไม่ตัดรากแก้วทิ้ง) จากนั้นเมล็ดมะขามเปรี้ยวยักษ์ทีตัดไว้แล้วมาถุงเพาะชำถุงละ 2 เมล็ด ใส่ลึกประมาณ 1 เซนติเมตร ระยะการไว้ถุงเพาะชำ สมารถวางในระยะชิดได้เลยแปลงหนึ่งวางได้ประมาณ 10 x10 ถุง หลังจากนั้นให้ใช้เศษฟางมาคลุมหน้าถึงเพาะชำเพื่อกันหน้าดินแห้ง การรดน้ำให้รดนำพอเปียกวันละ 1 ครั้งประมาณ 2 อาทิตย์ เมล็ดก็จะเริ่มงอกปล่อยทิ้งไว้ให้ต้นตอสูงประมาณ 3-5 นิ้ว หลังจากนั้นในแต่ละถุงให้เลือกถอนต้นตอที่ไม่สมบูรณ์ออก ให้เหลือต้นที่แข็งแรงกว่าไว้ ทำการรดน้ำต่อไปวันละครั้งจนกว่าต้นจะนำไปใช้ในการขยายพันธุ์ได้จะอยู่ประมาณ 8-10 เดือน ในขณะนี้ไร่ของเราใช้เมล็ดมะขามยักษ์ในการเพาะต้นตอ ซึ่งจะโตได้ไวกว่ามะขามธรรมดา 1 เท่าตัว ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนก็จะใช้ขยายพันธุ์ต่อได้
ควรเลือกกิ่งพันธุ์ที่มีความสมบูรณ์ และมีขนาดเท่ากับต้นตอที่จะนำมาขึ้นทาบกิ่งพันธุ์ควรมีความยาวประมาณ 50-100 เมตร
ขั้นตอนในการทาบกิ่ง
เลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ดีและให้ทำการเตรียมแผลที่กิ่งพันธุ์ โดยใช้มีดเฉือนกิ่งพันธุ์ดีให้เฉียงเข้าไปในเนื้อได้เล็กน้อยยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว การเฉือนให้เฉือนจากด้านล่างขึ้นด้านบน แผลทีเฉือนต้องเรียบและสะอาด นำมีดเฉือนทำแผลที่ต้นตอให้เฉียง แผลมีลักษณะเป็นปากฉลามให้ยาวเท่ากับแผลที่เตรียมไว้บนกิ่งพันธุ์แผลที่เฉือนต้องเรียบและสอาด ปักหลักไม้ลงดินตรงที่เราจะทาบให้แน่นเพื่อให้ทนลมหรือพายุฝน แล้วนำต้นตอที่เฉือนทำแผลเรียบร้อยแล้วนั้นไป ใกล้ไว้กับหลักไม้ที่เตรียมไว้ด้วยเชือกฟางให้แน่นๆ จากนั้นทำการประกบแผลของต้นตอกับกิ่งพันธุ์ดี โดยให้เปลือกข้างใดข้างหนึ่งอยู่ในแนวเดียวกับจัดให้แผลของกิ่งทั้งสองแนบสนิทกัน เพื่อให้เนื้อเยื่อเจริญติดกันเร็วขึ้น แล้วใช้ผ้าทาบที่เตรียมไว้พันแผลให้รอบมิดรอยทาบโดยพันจากข้างล่างขึ้นข้างบนแล้วมัดให้แน่น หลังจากนั้นทำการรดน้ำกันวันละครั้งเป็นเวลา 45-60 วัน จากนั้นใช้กรรไกรตัดกิ่งพันธุ์ที่ทาบลงมาปลักไม้ เพื่อช่วยพยุงลำต้นให้ตรงแล้วนำไปตั้งกลางแดด โดยรดน้ำวันละ 1 ครั้งเป็นเวลา 6 เดือน เป็นอันเสร็จสิ้นพร้อมที่จำไปปลูกหรือออกจำหน่าย
ขั้นตอนการปลูกมะขามเปรี้ยว
การปลูกมะขามเปรี้ยวที่ไร่จะแนะนำให้ปลูกโดยใช้ระยะปลูก 10 x 10 เมตร หรือ 55 วา (ระยะห่างของแถว 10 เมตร ระยะห่างของต้น 10 เมตร) ไร่หนึ่งจะปลูกได้ 16 ต้น/ไร่ เพราะมะขามเป็นไม้ผลที่เก็บกินในระยะยาวเป็นร้อยๆ ปี จึงต้องห่วงถึงอนาคต เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย เพราะถ้าปลูกในระยะที่ชิดกันมาก จะมีผลต่อทรงพุ่มของมะขามเปรี้ยว เพราะมะขามเปรี้ยวชอบที่แจ้งแดดมาก น้ำน้อย ถ้าปลูกในที่ร่มมะขามจะไม่โตและไม่ติดฝักให้และถ้าบำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยมากจนเกินไปก็จะไม่ติดฝัก ต้นจะสวยแต่บ้าใบ คือให้แต่ใบอย่างเดียว
ส่วนการเตรียมหลุมลงปลูกสำหรับดินที่มีความแน่นหรือแห้งแข็ง ในช่วงแรกให้ขุดหน้าดินให้กว้าง50 เซนติเมตร ลึก 50 เซนติเมตร หาเศษหญ้า ปุ๋ยคอก (ขี้วัว) มารองก้นหลุม ถ้าดินในที่นั้นแห้งแล้งน้ำน้อยให้กากมะพร้าวชิ้นใหญ่ๆ ลงไปที่ก้นหลุมด้วยกลบดินตามเดิม แล้วขุดดินขึ้นมาแค่ 1 หน้าจอบ แล้วนำต้นพันธุ์มะขามเปรี้ยวยักษ์ลงปลูกให้ระดับดินอยู่ใต้ผ้าทาบ 1 อาทิตย์ หลังจากลงปลูกจึงกรีดผ้าทาบออก ต้องหาไม้มาช่วยค้ำต้นกันลมโยกต้น รดน้ำวันละ 1 ครั้งในช่วงแรกๆ หลังจากนั้นค่อยทิ้งช่วง ประมาณ 6 เดือน หลังจากลงปลูกให้ใส่ปุ๋ยคอกแต่ถ้าไม่มีก็ให้ใช้ปุ๋ย อัตราส่วน 100-200 กรัม / 1ต้น ใน 1 ปีแรกแบ่งเป็น 2 ครั้ง คือ 6 เดือน ต่อ ครั้ง จำนวน 100,200 กรัม ตามลำดับ สำหรับปีต่อๆ ไปให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามทรงพุ่มของต้น
การดูแลเหมือนไม้ผลทั่วๆ ไป หลังจาก 2 ปีขึ้นปีที่ 3 ถ้าอยากให้มะขามติดฝักหยุดน้ำหยุดปุ๋ยให้ต้นสลัดใบในช่วงหน้าร้อน พอต้นฝน ฝนตกลงมาต้นมะขามก็จะแตกในใบอ่อนให้ใหม่และออกดอกติดฝักให้ หลังจากออกดอกติดฝักให้บำรุงรดน้ำใส่ปุ๋ยและเด็ดฝักอ่อนทิ้งบ้างถ้าเกิดช่วงปีแรกเราเก็บฝักไว้เยอะเกินไป จะทำให้ต้นโทรมได้ เพราะเมื่อมะขามติดฝักแล้วต้นจะเริ่มโตช้าลงเพราะมะขามจะนำอาหารไปเลี้ยงฝักหมด
เมื่อมะขามให้ฝักเราสามารถใส่ปุ๋ย โดยแบ่งใส่ 2-3 ครั้ง พร้อมกับขี้วัวจะช่วยให้ฝักใหญ่มีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากปุ๋ยเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต้นมะขามแล้ว สิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือน้ำในระยะปลูกใหม่ ถ้าฝนไม่ตกต้องมีการรดน้ำทุก 1-2 วัน (ขึ้นอยู่กับสภาพของดิน) หรือประมาณ 1 สัปดาห์ จนกว่ามะขามยักษ์จะเริ่มเป็น จากนั้นจึงเว้นช่วงไม่ต้องมีการรดน้ำบ่อยให้ทิ้งห่างเป็น 7-10 วันต่อครั้ง เฉพาะในช่วงฤดูแล้วของปีแรก
วงจรมะขาม
ระยะพักตัว
ในช่วงนี้จะอยู่ในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน เป็นช่วงที่ไม่มีน้ำไม่มีความชื้น ใบมะขามจะร่วงหมดประมาณเมษายน ยิ่งใบมะขามร่วงมากเท่าใดยิ่งจะทำให้ต้นมะขามออกดอกติดฝักมากเท่านั้น
ระยะใบอ่อน
ในช่วงนี้จะเริ่มตั้งแต่ ฝนเริ่มตกในครั้งแรกของปีซึ่งมีน้ำพอสมควร ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2 3 อาทิตย์
ระยะดอก
หลังจากที่ใบออกมาจนเริ่มเป็นใบเพสลาด ดอกก็จะตามออกมา ใน1ปีนั้นมะขามจะออกดอกและบานประมาณ 5 -10 ชุด ขั้นตอนนี้ระยะนานสุดไม่เกิน2เดือน
ระยะฝักอ่อน
ถ้าช่วงปีไหนดินฟ้าอากาศเหมาะสมมะขามจะติดฝักเป็นพวงช่อ แต่ถ้าช่วงนั้นแห้งแล้งมากมะขามก็จะติดแบบฝักเดี่ยวมากกว่า ในระยะฝักอ่อนถ้าต้นมะขามที่ปลูกมีเส้นผ่านศูนย์กลางยังไม่ถึง 7 8 เมตรเราไม่ควรจะเอาฝักไว้มากๆควร ช่วยเด็ดออกในระยะนี้ แต่ก็สามารถขายเป็นมะขามฝักอ่อนได้ ระยะนี้ตั้งแต่ ออกดอกจนเก็บขายได้ใช้เวลาประมาณ 4 เดือน
ระยะฝักดิบ
นับตั้งแต่ เริ่มออกดอกจนกลายเป็นฝักดิบนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 6 เดือน ช่วงนี้เป็นช่วงที่ดีมากๆ ฝักสวยและได้เงินด้วย ในช่วงนี้จะใช้เวลาเก็บไม่เกิน 2เดือน หลังจากนั้นฝักจะเริ่มแก่เกินที่จะนำไปดองหรือแช่อิ่มแล้ว
ระยะฝักแก่
ช่วงนี้จะเป็นระยะสุดท้ายที่จะเก็บผลผลิตขายกันแล้ว จะแบ่งขายได้ 2 แบบ
ระยะนี้จะปลอกเปลือกมะขามง่ายมาก เนื้อมะขามสีก็สวย รสชาติความเปรี้ยวก็เป็นสองเท่าของมะขามเปรี้ยวพื้นบ้าน อัตราการได้เนื้อก็ดีนะครับ ในปีแรกการสร้างเนื้ออาจจะน้อยสักหน่อยเพราะเพิ่งเริ่มให้ผลผลิต
ในปีแรก มะขามฝักแก่ 1 กิโล จะแกะได้เนื้อมะขามเปียก 2.5-2.8 ขีด การสร้างเนื้อจะมากขึ้นทุกๆปีตามอายุของต้นที่ปลูก เช่นในที่ไร่ของเราปีที 11ที่เราเก็บ มะขามฝักแก่ 1 กิโล แกะได้เนื้อมะขามเปียก 5.4 – 5.7 ขีด (แกะแบบเอาเปลือกและเมล็ดออกเหลือแต่เนื้อกับใย) ถ้าเปรียบเทียบกับมะขามธรรมชาติที่ขึ้นตามบ้านทั่วไปแล้ว เทียบกับ มะขามเปรี้ยวยักษ์ไม่ติดเลย
ประโยชน์
ยานวดผม
วิธีทำ
ผลที่ได้รับคือ
น้ำยาอาบน้ำ
วิธีทำ
ผลที่ได้รับคือ
(ภาคอีสานมักจะใช้อาบให้กับแม่ลูกอ่อน หรือคนที่เป็นตุ่มคัน และเป็นกลากเกลื้อน)
สรรพคุณทางยา
ป้ายคำ : ผลไม้