มะตูม สมุนไพรบำรุงธาตุ

22 กรกฏาคม 2557 ไม้ผล 0

ไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ร่วมปลูกกับไผ่รวก และทุเรียน ถือว่าเป็นเคล็ดลับในชื่อเรียกที่เป็นมงคลนาม จะทำให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้มะตูมยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและพิธีมงคลของไทย การทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ครอบครูจะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ใบมะตูมทัดหูให้แก่ทูตที่เข้าเฝ้า เพื่อกราบถวายบังคมลาไปรับราชการต่างประเทศ สำหรับในทางไสยศาสตร์ ชาวฮินดูถือว่าไม้มะตูมเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และใบมะตูมเป็นใบไม้ที่ป้องกันเสนียดจัญไร และขับภูติผีปีศาจได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Angle Marmelos
ชื่อสามัญ Bael, Bengal Quince, Bilak
ชื่อวงศ์ Rutaceae
ชื่อท้องถิ่น มะปิน (ภาคเหนือ) กะทันตาเถร ตูม ตุ่มตัง (ภาคใต้) มะตูม (ภาคกลาง, ภาคใต้) บักตูม (ยโสธร,อีสาน) หมากตูม (อุดรธานี,มหาสารคาม,อีสาน) พะเนิว (เขมร) ตุ่มตัง (ล้านช้าง) มะปิส่า(กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน)

มะตูม เป็นไม้อีกชนิดหนึ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับประเพณีต่างๆ โดยเฉพาะพิธีของชาวฮินดู โดยชาวฮินดูถือว่าใบมะตูมเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระอิศวร เวลาบูชาพระอิศวรต้องมีใบมะตูมเป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลย ทั้งนี้เพราะคนอินเดียเชื่อว่ามะตูมเป็นต้นไม้แห่งพระอิศวร ทำให้สวนของทุกวัดในอินเดียจึงปลูกแต่ต้นมะตูมเต็มไปหมด มะตูมนั้นถือว่าเป็นไม้มงคลตามความเชื่อโบราณ ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของบ้าน โดยมักปลูกร่วมกับไผ่รวกและทุเรียน ถือเอาว่าเป็นเคล็ดลับในชื่อเรียกที่เป็นมงคลนาม จะทำให้เกิดกำลังใจ เกิดความมานะพยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้ยังเชื่อว่าใบมะตูมเป็นใบไม้ที่ป้องกันเสนียดจัญไรและขับภูตผีปีศาจได้ และยังเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดชัยนาทอีกด้วย ในประเทศไทยพบได้ในป่าธรรมชาติ ประเภทป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ ป่าแดง ชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน ตามสวนหรือหัวไร่ปลายนา เพราะมะตูมเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์หลายอย่าง ทั้งใช้เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพร ไม้ใช้ทำเกวียน ลูกหีบ หวี ยางในผลมะตูมใช้แทนกาว และเปลือกผลทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลืองได้

matoomhang

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินเดีย ศรีลังกา และออสเตรเลีย สำหรับประเทศไทยพบประปรายตามป่าเบญจพรรณ เจริญงอกงามได้ในดินทั่วไปทุกภาค ทนแล้งได้ดี ยกเว้นทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ สถานที่พบส่วนมากสูงจากระดับน้ำทะเล 50-700 ม. ในต่างประเทศพบที่อินเดียแถวแคว้นอัสสัม ศรีลังกา กัมพูชา ลาว อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย ต้นมะตูมป่ามักเกิดตามป่าดงทั่วไป การปลูกนิยมตอนเอากิ่งมาปลูกจะได้ผลดี หรือเอาเมล็ดมาเพาะก็ได้ โดยเอาต้นกล้าที่ปลูกเอาไว้ในถุงพลาสติกรอจนต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงเอาไปปลูกในหลุมต่อไป ดูแลรดน้ำเป็นระยะพร้อมทั้งกำจัดวัชพืช

  • มะตูม เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลางสูงถึง 10-15 เมตร เรือนยอดกลมค่อนข้างโปร่ง แตกกิ่งต่ำ ตามลำต้นและกิ่งมีหนามแข็งแหลมคม และหนามยาวมากเป็นพิเศษอยู่มากมาย เปลือกลำต้นเรียบ สีน้ำตาล-เทา
  • ใบประกอบชนิด มีใบย่อยรูปไข่ 3 ใบ สองใบล่างมีขนาดเล็กและติดตรงข้ามกัน ส่วนใบปลายมีขนาดใหญ่กว้าง 3-6 ซ.ม. ยาว 4-12 ซ.ม. และออกเป็นใบเดี่ยว โคนใบสอบมน ปลายใบแหลม เนื้อใบบางเกลี้ยง เส้นแขนงใบมี 6-10 คู่ ปลายเส้นจรดกันก่อนถึงขอบใบ เส้นใบย่อยเห็นไม่ชัดเจน หลังใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบสีจาง ออกเวียนเป็นเกลียวรอบกิ่ง ใบย่อยรูปไข่หรือรูปหอกแกมรูปไข่ ปลายเรียวแหลมกว้าง 1.75-7.5 ซ.ม. ยาว 4-13.5 ซ.ม. ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ฐานใบมน ก้านใบยาว ใบมีกลิ่นหอม หากนำใบส่องแดดจะเห็นเนื้อใบมีต่อมน้ำมันจุดใสๆ กระจายอยู่
  • ดอกมีกลิ่นหอม ขนาดเล็ก ออกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ออกดอกเป็นช่อและเป็นดอกชนิดสมบูรณ์เพศ ออกตรงปลายกิ่งหรือซอกใบ ดอกย่อยสีขาวหรือขาวปนเขียว มีกลิ่นหอมไกล มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 4-5 กลีบ เกสรตัวผู้มีหลายอัน ก้านอับเกสรผู้สั้นมาก เกสรตัวเมียมี 1 อัน รังไข่ รูปไข่เกลี้ยงๆ ภายในแบ่งเป็น 4-5 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมาก
  • ผลเป็นรูปไข่หรือรูปกลมโต วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 8-10 ซ.ม. ยาว 12-18 ซ.ม. เปลือกผลจะหนาแข็ง ผลอ่อนจะมีเปลือกสีเขียวแข็ง เมื่อแก่จะกลายเป็นสีเขียวอมเหลือง ภายในผลสุกมีเนื้อสีส้มปนเหลือง รสหอมหวาน มีน้ำเมือกเป็นยางเหนียว เนื้อนิ่มมีเมล็ดสีขาวจำนวนมากแทรกอยู่ในเนื้อผล เมล็ดแก่สัตว์ป่าโดยเฉพาะกระรอกชอบกิน เมื่อถ่ายมูลออกมาจึงช่วยกระจาย

matoomton matoom

สรรพคุณ
ตำรายาไทย: ผลอ่อน รสฝาดร้อนปร่าขื่น ฝานบางๆ สดหรือแห้ง ชงน้ำรับประทานแก้ท้องเสีย แก้บิด แก้โรคกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน เจริญอาหาร เป็นยาธาตุ แก้ธาตุพิการ ขับผายลม บำรุงกำลัง และรักษาโรคลำไส้เรื้อรังในเด็ก ผลแก่ที่ยังไม่สุก รสฝาดหวาน แก้บิด แก้เสมหะ แก้ลม บำรุงไฟธาตุ ช่วยย่อยอาหาร ผลแก่สุก ทุบให้เปลือกแตกต้มทั้งลูกกับน้ำตาลแดง เป็นยาระบายท้อง เหมาะกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำ ช่วยขับผายลม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ลมเสียดแทงในท้อง แก้มูกเลือด แก้บิดเรื้อรัง บำรุงไฟธาตุ แก้โรคไฟธาตุอ่อน แก้ครั่นเนื้อตัว ช่วยย่อยอาหาร มะตูมทั้ง 5 ส่วน (ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล) รสฝาดปร่าซ่าขื่น ใช้แก้ปวดศีรษะ ตาลาย เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูง
ตำรายาไทยมีการใช้ ผลมะตูมในพิกัดตรีผลสมุฎฐาน คือการจำกัดจำนวนตัวยาที่มีผลเป็นที่ตั้ง 3 อย่าง มีผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา สรรพคุณแก้สมุฎฐานแห่งตรีโทษ ขับลมต่างๆ แก้โรคไตพิการ
ในประเทศอินเดีย: ใช้ผลมะตูมเป็นยาแก้ท้องเสีย และโรคที่เกี่ยวกับลำไส้

matoomcheam

รูปแบบและขนาดวิธีใช้ยา:
แก้คลื่นไส้ อาเจียน จากธาตุไม่ปกติ ใช้ผลดิบสดหั่นเป็นแว่นย่างไฟพอเหลือง หรือใช้ผลดิบที่หั่นเป็นแว่นตากแห้งไว้ก็ได้ นำมาย่างไฟพอเหลือง ใช้ครั้งละ 1 กำมือ หรือประมาณ 25 กรัม (2-3 ชิ้น) ต้มเอาน้ำดื่ม

ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา ราก ใบ ผลแก่และสุก เปลือกราก ทั้ง 5
รสและสรรพคุณในตำรายาไทย

  1. ราก รสฝาดปร่า ชา ขื่นเล็กน้อย แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอช่วยบำบัดเสมหะ รักษาน้ำดี
  2. ใบสด รสฝาด ปร่า ซ่า ขื่น มัน เป็นยาบำรุงธาตุ ทำให้เจริญอาหาร แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ น้ำคั้นจากใบทาแก้หวัด แก้บวม แก้เยื่อตาอักเสบ
  3. ผลมะตูมแก่ รสฝาดหวาน มีสรรพคุณบำรุงธาตุ เจริญอาหารและช่วยขับลมผาย
  4. ผลมะตูมสุก รสหวานเย็น สรรพคุณแก้ลม แก้เสมหะ แก้มูกเลือด บำรุงไฟธาตุ แก้กระหายน้ำ ขับลมผาย
  5. ทั้ง 5 รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ปวดศีระษะ ตาลาย เจริญอาหาร ลดความดันโลหิตสูง
  6. เปลือกรากและลำต้น รสฝาดปร่าซ่าขื่น แก้ไข้จับสั่น ขับลมในลำไส้

ขนาดและวิธีใช้

  1. ช่วยขับลมผาย ช่วยเจริญอาหาร ใช้ผลมะตูมแก้ทั้งลูกขูดผิวให้หมด ทุบพอร้าวๆ ต้มน้ำเติมน้ำตาลเล็กน้อยดื่มน้ำ น้ำที่ได้มีรสหอม เรียกว่า น้ำอัชบาล
  2. แก้กระหายน้ำ แก้ลม แก้เสมหะ รับประทานเนื้อผลมะตูมสุก
  3. แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้ลมหืดหอบ ไอ นำรากไปคั่วไฟให้เหลือง แล้วนำไปดองสุราเพื่อกลบกลิ่น
  4. แก้โรคลำไส้ แก้ท้องเดิน แก้หวัด ใช้ใบรับประทานเป็นผัก
  5. แก้ปวดศีรษะ ตาลาย ลดความดันโลหิตสูง ใช้ทั้ง 5 ต้มรับประทาน
  6. แก้ธาตุพิการ แก้ท้องเสีย ใช้ผลอ่อนหั่นผึ่งให้แห้ง บดเป็นผงหรือต้มรับประทาน โดยใช้ตัวยา 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 5 แก้ว นานประมาณ 10-30 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว ทุก 2 หรือ 4 ชั่วโมง แล้วแต่ว่าเป็นมากเป็นน้อย หรืออาจจะซื้อมะตูมแห้งจากร้านขายยา 5-6 แว่น ต้มกับน้ำประมาณ 2 ถ้วยแก้ว เดือดแล้วเคี่ยวต่อไปเล็กน้อย ยกลง ตั้งไว้ให้เย็นดื่มครั้งละ แก้มเติมน้ำตาล
  7. แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้บวม ใช้ใบสดคั้นเอาน้ำรับประทาน

ข้อแนะนำ

  1. ตำรายานี้เป็นเพียงยาระงับอาการของโรคเท่านั้น ถ้าใช้รักษาโรคภายใน 1 วันไม่ได้ผล (ยกเว้นโรคเรื้อรัง เช่น กระเพาะ, หืด)
  2. ควรหยุดใช้ยาทันทีเมื่อมีความเจ็บป่วย หากอาการรุนแรงขึ้น ไม่ควรรักษาด้วยตนเองควรปรึกษาผู้ชำนาญ
  3. ควรใช้เมื่อยามจำเป็นเท่านั้น เพราะยานี้ใช้รักษาโรคค่อนข้างรุนแรง เช่น ท้องเสียรุนแรง
  4. ถ้าท้องเสียควรดื่มน้ำมากๆ เติมน้ำตาลทรายและเกลือลงไปด้วยจะดีมาก

สารสำคัญ

  1. ผลแก่มีสารที่เป็นเมือก (mucilage) และ pectin น้ำมันระเหย
  2. ผลสุกมีสารที่เป็นเมือก pectin น้ำมันระเหย และ tannin

matoompa

ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนที่ใช้เป็นผัก ยอดอ่อน ผลดิบ
ช่วงฤดูกาลที่เก็บ ยอดอ่อนออกตลอดปี ลูกอ่อนพบในช่วงฤดูฝน ผลสุกมีในช่วงกลางฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง
การปรุงอาหาร
คนไทยทุกภาครับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนของมะตูมเป็นผักสด ในตลาดท้องถิ่นมักพบในมะตูมอ่อนจำหน่ายเป็นผักชาวเหนือรับประทานแกล้มลาบ ชาวอีสานรับประทานร่วมกับก้อย ลาบหรือแจ่วป่น ชาวใต้รับประทานร่วมกับน้ำพริกและแกงรสจัด สำหรับภาคกลางไม่นิยมรับประทานยอดอ่อน แต่พบว่ามีการใช้มะตูมดิบมาปรุงเป็นยำมะตูม

ประโยชน์อื่น
ไม้มะตูมใช้ทำเกวียน ลูกหีบ หวี ยางในมะตูมใช้แทนกาวได้ และเปลือกผลทำเป็นสีย้อมผ้าให้สีเหลืองได้

คติความเชื่อ ตามความเชื่อว่าเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรมีไว้ในบริเวณบ้าน โดยปลูกไว้ทาง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ปลูกร่วมกับไผ่รวก และทุเรียน ถือว่าเป็นเคล็ดลับในชื่อเรียกที่เป็นมงคลนาม จะทำให้เกิดกำลังใจ ให้เกิดความมานะ พยายามที่จะต่อสู้ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต นอกจากนี้มะตูมยังเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและพิธีมงคลของไทยการทำ น้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ ครอบครูจะใช้ใบมะตูมเป็นองค์ประกอบในพิธี และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวใช้ใบ มะตูมทัดหูให้แก่ทูตที่เข้าเฝ้าเพื่อกราบบังคมลาไปรับราชการต่างประเทศ

matookeb

สำหรับในทางไสยศาสตร์ ชาวฮินดูถือว่า ไม้มะตูมเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และใบมะตูมเป็นใบไม้ที่ป้องกันเสนียดจัญไร และขับภูตผีปีศาจได้

การปลูก
ต้นมะตูมป่ามักเกิดตามป่าดงทั่วไป โดยเฉพาะป่าเบญจพรรณ เจริญงอกงามได้ในดินทั่วไปทุกภาค การปลูกนิยมตอนเอากิ่งมาปลูกจะได้ผลดี หรือเอาเมล็ดมาเพาะก็ได้ โดยเอาต้นกล้าที่ปลูกเอาไว้ในถุงพลาสติก รอจนต้นแข็งแรงเสียก่อนจึงเอาไปปลูกในหลุมต่อไป ดูแลรดน้ำเป็นระยะ พร้อมทั้งกำจัดวัชพืช

matoomkla

มะตูมขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง มะตูมเป็นไม้ปลูกกลางแจ้งและทนต่อความร้อนได้ดี


น้ำมะตูม
ส่วนผสมของการทำน้ำมะตูม

  1. มะตูมแห้ง 8 กรัม
  2. น้ำตาลทราย 15 กรัม
  3. น้ำเปล่า 240 กรัม

วิธีทำ
นำมะตูมแห้งมาล้างให้สะอาด ปิ้งไฟให้หอม นำไปใส่หม้อเติมน้ำตั้งไฟเคี่ยวสักครู่ ยกลงกรองเอาแต่น้ำ เติมน้ำตาลทรายตั้งไฟให้ละลาย ชิมรสตามชอบ ยกลง ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

matoomtom matoomnam

คุณค่าทางยา : เป็นยาระบาย ขับลม ท้องเฟ้อ ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ ทำให้ขับถ่ายดีและเจริญอาหาร ขับเสมหะแก้อาการร้อนในได้ดี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น