มะปรางผลไม้ที่มีลูกสีเหลืองส้ม ผิวเปล่งปลั่งน่ากิน ทั้งยังมีความกรอบ หวานและอร่อย มะปรางเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน C ช่วยรักษาความเสื่อมโทรมของร่างกาย มีสรรพคุณในการสมานแผล ทำให้แผลหายเร็ว และวิตามิน C ทำให้ห่างไกลจากโรคเลือดออกตามไรฟัน สีที่เหลืองของมะปรางเป็นแหล่งสะสมของเบต้าแคโรทีนที่จะเปลี่ยนไปเป็นวิตามิน A บำรุงสายตา และผิวให้มีสุขภาพดีเสมอ รากของมะปรางนับเป็นยาระบายความร้อนได้ดี เพราะว่ามีสรรพคุณเย็นจึงช่วยลดและแก้พิษไข้ได้ดีมาก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bouea macrophylla Griffith
ชื่อสามัญ : Marian Plum , Plum Mango
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่ออื่น : บักปราง (ภาคอีสาน), มะผาง (ภาคเหนือ), ปราง (ภาคใต้)
ในพืชตระกูลมะปราง ปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น มะปรางหวาน, มะปรางเปรี้ยว, มะยงชิด, มะยงห่าง, กาวาง
มะปรางหวาน ผลดิบและผลสุกจะมีรสชาติหวานสนิท ผลมีขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ความหวานก็จะแตกต่างกันออกไป จะหวานมากหรือน้อยเท่านั้น แต่เมื่อรับประทานแล้วอาจไอไอระคายคอหรือคันคอได้ถ้าหวานสนิท
มะปรางเปรี้ยว จะมีรสเปรี้ยวทั้งผลดิบและผลสุก ขนาดก็ทั้งผลเล็กและผลใหญ่ มะปรางเปรี้ยว จะเหมาะสำหรับการนำไปแปรรูปมากกว่าที่จะรับประทานสดๆ เช่น มะปรางดอง มะปรางแช่อิ่ม น้ำมะปราง ฯลฯ
มะยงชิด เป็นมะปรางที่มีรสหวานอมเปรี้ยว หรือมีรสหวานและเปรี้ยวอยู่ในผลเดียวกัน ขนาดก็มีทั้งผลเล็กและผลใหญ่ โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร มะยงชิดจะมีรสชาติหวานมากกว่าเปรี้ยว ผลดิบจะมีรสมัน ส่วนผลสุกจึงจะออกหวาน ลักษณะของเนื้อค่อนข้างแข็ง มีเปลือกหนา (แต่ถ้ารสเปรี้ยวมากกว่าหวาน เราจะเรียกว่า มะยงห่าง)
มะยงห่าง ลักษณะภายนอกจะคล้ายกับมะยงชิดมาก แต่ที่ต่างกันก็คือรสชาติ โดยมะยงห่างจะมีรสเปรี้ยวมากและมีรสหวานอยู่บ้างเล็กน้อย แต่มะยงห่างจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมปลูกเพื่อการค้าสักเท่าไหร่
กาวาง ลักษณะภายนอกจะคล้ายมะยงชิดและมะยงห่าง แต่ที่แตกต่างออกไปก็คือจะมีรสเปรี้ยวใกล้เคียงกับมะดัน โดยที่มาของชื่อกาวางนั้นมีเรื่องเล่าว่า มีนกกาที่หิวโซ บินมาเห็นผลไม้ชนิดนี้มีสีเหลืองสวยงาม แต่เมื่อลองจิกกินเพื่อลิ้มรสชาติก็ต้องรีบวางแล้วบินหนีไปทันที จึงเป็นที่มาของชื่อ กาวาง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น มีทรงต้นค่อนข้างแหลม มีกิ่งก้านสาขาค่อนข้างทึบต้นโต มีขนาดสูง 15-30 เซนติเมตร มีรากแก้วแข็งแรง
มะยงชิด กับ มะปราง ต่างกันอย่างไร
มะปรางโดยรวมแล้วขนาดของผลจะเล็กกว่ามะยงชิด
มะปรางบางสายพันธุ์รับประทานแล้วอาจคันหรือระคายคอ แต่มะยงชิดเมื่อรับประทานแล้วจะไม่มีอาการดังกล่าว
มะปรางผลดิบจะมีสีเขียวออกซีด แต่มะยงชิดผลดิบจะมีสีเขียวจัดกว่ามะปราง
มะปรางผลสุกมีสีเหลืองอ่อน แต่มะยงชิดจะมีสีเหลืองแกมส้ม
มะปรางผลดิบมีรสมัน แต่มะยงชิดผลดิบรสจะเปรี้ยวจัด
มะปรางผลสุกมีรสหวานมาก แต่มะยงชิดผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว
คุณค่าทางโภชนาการของมะปราง ต่อ 100 กรัม
ส่วนที่ใช้ : ราก ใบ น้ำจากต้น
สรรพคุณ
สีกากีอมเหลืองจากใบมะปราง
นำใบมะปรางมาทุบหรือตำแล้วแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 ชั่วโมง และนำแก่นขนุนแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นให้นำน้ำที่แช่ใบมะปรางและแก่นต้นขนุนไปต้มให้เดือด ประมาณ 1 ชั่วโมง กรองกากออกเอาเฉพาะส่วนของน้ำสี หลังจากนั้นนำฝ้ายหรือไหมลงต้มย้อมในน้ำสีประมาณ 20-40 นาที แล้วแช่ทิ้งไว้อีก 1 คืน จึงนำไปต้มต่ออีกครั้ง ใส่น้ำปูนขาวและสารส้มลงไปเล็กน้อยและต้มต่ออีกประมาณ 20 นาที จึงนำไปซักด้วยน้ำสะอาดจนสีไม่ตก นำขึ้นบิดพอหมาด กระตุกเส้นด้ายให้เรียงตัวกัน แล้วตากในที่ร่มให้แห้ง
ประโยชน์ของมะปราง
การขยายพันธุ์มะปราง
มะปรางเป็นไม้ผลที่เติบโตช้า ขยายพันธุ์ได้ยาก และใช้เวลาขยายพันธุ์ยาวนานกว่าไม้ผลที่สำคัญบางชนิด การขยายพันธุ์ที่นิยมกันมาก
การเพาะเมล็ด การขยายพันธุ์วิธีนี้ง่าย และสามารถทำได้จำนวนมาก มีข้อเสียที่มีการกลายพันธุ์ และให้ผลผลิตช้า ประมาณ 7-8 ปี
อุปกรณ์ที่ใช้เพาะเมล็ด
ขั้นตอน
การตอนกิ่ง ควรเริ่มทำการตอนกิ่งช่วงต้นฤดูฝน ควรใช้ขุยมะพร้าวหุ้มดีกว่าใช้ดิน เพราะอุ้มน้ำดีกว่า
วิธีการตอน
การทาบกิ่ง เป็นวิธีขยายพันธุ์มะปราง/มะยงชิด ที่เมาะสมที่สุด เพราะมะปรางมีระบบรากแก้วที่แข็งแรง เหมาะที่ทนสภาพแล้งได้ดี การทาบกิ่งนิยมทาบแบบประกบ คือเฉือนต้นกิ่งพันธุ์ดีเป็นแผลยาว 2-3 นิ้ว เฉือนเข้าเนื้อไม้เล็กน้อยเฉียง 30 องศา ต้นตอใช้วิธีตัดยอดออก เฉือนเป็นปากฉลาม นำต้นตอที่เตรียมไว้ สอดเข้าแผลกิ่งพันธุ์ดี ต้นตอควรได้จาการเพาะเมล็ด อายุต้นตอ 1-2 ปี หรือต้นขนาดหลอดกาแฟ (ปฐพีชล,2529)
การเปลี่ยนยอด ควรเปลี่ยนยอดในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูอื่นต้องรดน้ำโคนต้นอยู่เสมอ
วัสดุอุปกรณ์
วิธีเปลี่ยนยอด
แหล่งอ้างอิง :
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
เว็บไซต์สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
หนังสือเภสัชกรรมไทยฯ (วุฒิ วุฒิธรรมเวช)
หนังสือคัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว
ป้ายคำ : ผลไม้