มะพร้าว เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลปาล์ม เป็นพืชซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้ในหลายทาง เช่น น้ำและเนื้อมะพร้าวอ่อนใช้รับประทาน เนื้อในผลแก่นำไปขูดและคั้นทำกะทิ กะลานำไปประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ เช่น กระบวย โคมไฟ ฯลฯ นอกจากนี้มะพร้าวจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ได้กำหนดให้ปลูกมะพร้าวไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล
ชื่อสามัญ : COCONUT
ชื่อพื้นเมือง : มะพร้าว , คอส่า (กระเหรี่ยง – แม่ฮ่องสอน) ;ดุง (จันทบุรี) หมากอุ่น, หมากอุ๋น, หมากอูน (กลาง) ; โพล (กระเหรี่ยง – กาญจนบุรี) ;ย่อ โดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cocos nucifera L. var. nucifer
ชื่อวงศ์ : ARECACEAE
ลักษณะ
ต้น : ต้นสูงได้ถึง 25 เมตร ตั้งตรง ไม่แตกกิ่ง มีรอยแผลเมื่อก้านใบหลุดออกไป
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับหนาแน่นที่บริเวณยอด ยาว 4 – 6 เมตร ใบย่อยรูปพัดจีบ กว้าง 1 .5 – 5 เซนติเมตรยาว 50 – 100 เซนติเมตร
ดอก : ดอกช่อออกระหว่างก้านใบ ดอกย่อยจำนวนมาก แยกเพศ อยู่บนต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้สีเหลืองหม่น ดอกตัวเมียสีเขียวหรือเขียวแกมเหลือง
ผล : เป็นผลสด รูปไข่แกมกลมหรือรูปไข่กลับ สีเขียวหรือเขียวแกมเหลืองเนื้อสีขาว
คนไทยคุ้นเคยกับมะพร้าวมาเป็นเวลานาน และใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของมะพร้าว เช่น ผลอ่อนใช้รับประทานสด (น้ำและเนื้อ) เนื้อมะพร้า วจากผลแก่นำไปปรุงอาหารและขนมหลายชนิด และใช้สกัดน้ำมัน กากที่เหลือใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมันมะพร้าวใช้ประกอบอาหาร เนยเทียม แล ะสบู่ เปลือกมะพร้าวนำไปแยกเอาเส้นใยใช้ทำเชือก วัสดุทำเบาะและที่นอน ขุยมะพร้าวใช้ทำวัสดุเพาะชำต้นไม้ กะลาใช้ทำภาชนะ ตักตวงของเหลว (กระจ่า กระบวย ฯลฯ) ทำกระดุม เครื่องประดับ เครื่องดนตรี (ซออู้) ทำเชื้อเพลิง และถ่านกัมมันต์ (มีคุณสมบัติในการดูดซับสูง) ใบมะพร้าวทั้งอ่อนและแก่ ตลอดจนก้านใบใช้มุงหลังคา เครื่องจักสาร ไม้กวาดทางมะพร้าว ใช้ทำรั้วและเชื้อเพลิง ลำต้นแก่ใช้ในการก่อสร้างประดิษฐ์เครื่องเรือน ยอดอ่อนใช้เป็นอาหาร จั่น (ช่อดอก) มีน้ำหวานรองมาดื่มเป็นน้ำผลไม้หรือทำน้ำตาล หมักทำเหล้าและน้ำส้น รากใช้ทำยา สีย้อมผ้า และเชื้อเพลิง แต่อย่างไรก็ตามการปลูกมะพร้าวโดยทั่วไปก็เพื่อนำเอาเนื้อมะพร้า วไปประกอบอาหารและสกัดเอาน้ำมันเช่นเดียวกับปาล์ม
การปลูกมะพร้าว (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2547)
มะพร้าวสามารถขึ้นได้ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ขึ้นได้ดีในดินที่มีสภาพเป็นกลางหรือเป็นกรดเล็กน้อยคือ (pH ระหว่าง 6-7) ลักษณะดินร่วน หรือร่วนปนทราย มีการระบายน้ำดี มีฝนตกกระจายสม่ำเสมอแทบทุกเดือน อากาศอบอุ่น หรือค่อนข้างร้อน และมีแสงแดดมาก เนื่องจากมะพร้าวเป็นพืชยืนต้นที่มีอายุยาวนานมาก หลังจากปลูกแล้ว 5-6 ปี จึงให้ผล การสร้างสวนมะพร้าวต้องลงทุนพอสมควร และใช้เวลานาน จึงควรทราบสภาพแวดล้อมที่มะพร้าวชอบ ลักษณะวิธีการคัดเลือกพันธุ์ การเพาะชำ การคัดเลือกหน่อ การปลูก ตลอดจนการปฏิบัติดูแลรักษาเพื่อให้ได้ผลตอบแทนจากสวนมะพร้าวอย่างคุ้มค่า
พันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 กลุ่มคือ ประเภทต้นเตี้ย และประเภทต้นสูง
สำหรับพันธุ์ที่ใช้ปลูกนั้นแม้ว่ามะพร้าวพื้นเมืองที่เกษตรกรปลูกกันมาแต่ดั้งเดิม จะมีลักษณะดีหลายอย่าง เช่น มีขนาดผลค่อนข้างโต และทนทานต่อสภาพอากาศแล้งได้ดี แต่ในวงการอุตสาหกรรมมะพร้าวในปัจจุบันได้พัฒนาทางด้านคุณภาพมะพร้าวมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณเปอร์เซ็นต์น้ำมัน ซึ่งศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร กรมวิชาการเกษตร มีหน้าที่รับผิดชอบด้านวิจัยและพัฒนามะพร้าวได้ผลิตมะพร้าวพันธุ์ลูกผสม ซึ่งได้ผ่านการรับรองพันธุ์ออกมาแล้ว 3 พันธุ์ ดังนี้
วิธีการเตรียมหลุมปลูก
การปลูกตามบ้านหรือสวนเล็กๆ ครับ ต้องปลูกช่วง เมษา – พค.
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาสวนมะพร้าวที่ออกผลแล้ว
สาเหตุที่มะพร้าวไม่ติดผลในฤดูฝน
เกิดจากเมื่อดอกตัวผู้แตกออก ละอองเกสรตัวผู้จะฟุ้งกระจายประมาณ 2-3 ชั่วโมง ส่วนดอกตัวเมียพร้อมที่จะผสมพันธุ์นาน 73 ชั่วโมง ในช่วงที่ฝนตกชุกก่อให้เกิดการชะล้างละอองเกสรตัวผู้ ประกอบกับแมลงไม่ออกมาหาอาหาร การปฏิสนธิจึงไม่เกิดขึ้น ทำให้ทลายมะพร้าวติดผลน้อย 2-3 ผล/ทลาย หรือไม่ติดผลเลย
การแก้ปัญหามะพร้าวไม่ติดผล ควรมีการเลี้ยงผึ้งในสวนมะพร้าวเพราะผึ้งจะออกมาหาน้ำหว่นจากดอกมะพร้าวในช่วงที่ฝนหยุดตกแล้วนำละอองเกสรตัวผู้ไปผสมกับดอกตัวเมีย ทำให้ผลผลิตมะพร้าวเพิ่มขึ้น 46-56% นอกจากนั้นยังมีแมลงอื่นๆ ที่ช่วยในการผสมเกสร คือ ต่อ แตน มดดำ เป็นต้น
การตัดทางใบ
จะทำในมะพร้าวอายุไม่เกิน 30 ปี สูงไม่เกิน 12 เมตร มีใบบนต้น 30-36 ทาง ซึ่งทางมะพร้าว 6-8 ทาง ที่อยูล่างสุดเป็นใบแก่เกินไปและมีประโยชน์น้อยต่อต้นมะพร้าว การตัดทางมะพร้าวที่แก่มากที่สุด 10-12 ทาง จะทำให้ทางมะพร้าวที่ยังอ่อนกว่าได้รับธาตุอาหารและความชื้นมากขึ้น ในพื้นที่ที่มะพร้าวกระทบแล้ง การตัดทางใบมะพร้าวที่แก่ออกจะช่วยให้สงวนน้ำที่มีอยู่จำกัดไว้ให้ทางที่อ่อนกว่าได้ใช้ประโยชน์ ทางมะพร้าวที่แก่มากจะคายน้ำได้เร็วกว่าทางมะพร้าวที่อ่อน การตัดทางที่แก่ออกจะช่วยลดการคายน้ำลงได้ 25-50% ในพื้นที่ที่มีช่วงแล้งนาน 3-6 เดือน และมีฝนตกน้อยกว่า 100 มิลลิเมตร การตัดทางมะพร้าว พร้อมการเก้ยเกี่ยวมะพร้าวก่อนถึงฤดูแล้ง จะช่วยให้เกิดผลกระทบต่อการติดผลน้อยลง ในกรณีที่เกิดการระบาดของศัตรูมะพร้าวกับทางมะพร้าวที่อยู่ล่างๆที่แก่แล้ว การตัดทางมะพร้าวที่ถูกแมลงทำลาย เป็นการควบคุมด้วยมาตรการทางวิธีกลซึ่งไม่มีผลกระทบต่อกิจกรรมทางสรีรวิทยาของมะพร้าว
การเก็บผลมะพร้าวแก่
ผลมะพร้าวมีอายุตั้งแต่ติดผลถึงผลแก่ ตั้งแต่ 10 เดือนขึ้นไป โดยมะพร้าวแก่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวน้ำ ภายในผลจะน้อย เมื่อเขย่าจะได้ยินเสียงน้ำคลอน
การเก็บผลมะพร้าวอ่อน
ผลมะพร้าวอ่อนคือผลมะพร้าวที่มีอายุติดผลประมาณ 170 – 210 วัน ขึ้นอยู่กับความต้องการ เนื้อมะพร้าวของชาวสวนมะพร้าว โดยแบ่งลักษณะเนื้อมะพร้าวได้ 3 ระดับ คือ
ระยะเวลาการเก็บมะพร้าว
สามารถเก็บผลมะพร้าวอ่อนได้ทุก 20 วัน เนื่องจากต้นมะพร้าวที่สมบูรณ์และออกจั่นสม่ำเสมอตลอด จะแทงจั่นทุกๆ 20 วัน
ศัตรูมะพร้าวและการป้องกันกำจัด
โรคมะพร้าวที่สำคัญ
แมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญ
ด้วงงวงมะพร้าว มี 2 ชนิด คือ ชนิดเล็กและชนิดใหญ่ ด้วงงวงชนิดเล็กพบแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปของทุกภาคของประเทส ส่วนชนิดใหญ่พบในแหล่งปลูกมะพร้าวทางภาคใต้ วงจรชีวิตจากไข่จนเป็นตัวเต็มวัยใช้เวลา 2-4 เดือน
การป้องกันกำจัด
แมลงดำหนามมะพร้าว เป็นด้วงชนิดหนึ่งลำตัวแบนสีดำ มี 2 ชนิด คือ Plesispa reichei Chapuis พบในแปลงเพราะชำ และ Brontispa longissima Gastro ทำลายมะพร้าวในแปลงปลูก แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทยโดยพบระบาดรุนแรงใน ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2547 เนื่องจากมะพร้าวส่วนใหญ่มีลำต้นสูง แมลงดำหนามมะพร้าวทำลายมะพร้าวโดยทั้งตัวเต็มวัยและตัวอ่อนอาศัยอยู่ในใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ของมะพร้าวและแทะกินผิวใบ แมลงดำหนามเพศเมีย เมื่อได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยว หรือเป็นกลุ่มกลุ่มลาะ 2-5 ฟอง ระยะไข่ 2-6 วัน เมื่อเลี้ยงด้วยใบอ่อนมะพร้าว ระยะหนอน 23-34 วัน มีการลอกคราบ 4-5 ครั้ง ระยะดักแด้ 2-7 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียมีอายุ 13-134 วัน เพศผู้มีอายุ 21-110 วัน
แตนเบียนหนอนแมลงดำหนามมะพร้าวเป็นแตนเบียนขนาดเล็กจัดอยู่ในวงศ์ Eulophidae ลำตัวยาว 0.5-0.7 มิลลิเมตร มีปีกใส 2 คู่ การทำลายเกิดจากการใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปวางไข่ในลำตัวหนอนแมลงดำหนามไข่ฟักเป็นตัวหนอน ตัวหนอนจะดูดกินของเหลวภายในลำตัวหนอนแมลงดำหนาม ทำให้แมลงดำหนามมะพร้าวเคลื่อนไหวช้า กินอาหารน้อยลงและตายในที่สุด จึงต้องเพราะเลี้ยงแตนเบียนเป็นปริมาณมากและนำปล่อยในสวนมะพร้าว
หนอนหัวดำมะพร้าว
ชื่อวิทยาสาสตร์ Opisina arenosella Walker (Lepidoptera: Oecophoridae) มีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า coconut black-headed caterpillar ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาวประมาณ 1-1.2 เซนติเมตร ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ เวลากลางวันจะเกาะนิ่งหลบอยู่ใต้ใบมะพร้าว หรือในที่ร่ม เริ่มว่างไข่ 3 วัน หลังออกจากดักแด้ และวางไข่ทุกวัน ติดต่อกันไป 4-6 วัน จะวางไข่ตัวละ 157-490 ฟอง ระยะไข่ 5-6 วัน ระยะหนอน 32-48 วัน มีการลอกคราบ 6-10 ครั้ง ระยะดักแด้ 9-11 วัน ตัวเต็มวัยผีเสื้อมีอายุ 5-14 วัน ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบมะพร้าว มักจะพบหนอนหลายขนาดกัดกินอย่ในใบมะพร้าวใบเดียวกัน ตัวหนอนจะสร้างใยผสมกับมูลสร้างเป็นอุโมงค์ยาวคล้ายทางเดินของปลวก คลุมส้นทางที่หนอนแทะกินผิวใบ ยาวตามทางใบมะพร้าว และอาศัยภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้น การทำลายส่วนใหญ่พบบนใบแก่ ใบที่ถูกทำลายจะมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล ตัวหนอนจะสร้างใยดึงใบย่อยให้ติดกันเป็นแพ
มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รกมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชที่นิยมบริโภคในประเทศไทย เป็นอย่างมาก นิยมนำมาทำอาหาร ทั้งคาวหวาน นอกจากนั้น ยังสามารถนำมาทำอุตสาหกรรมน้ำมันมะพร้าว อุตสาหกรรมกะทิเข้มข้น มะพร้าวขูดแห้ง น้ำตาลมะพร้าว และอุตสาหกรรมอื่นๆ เกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น เส้นใย ฯลฯ
ปัจจุบันคนไทยนิยมทานยอดมะพร้าวเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหารมากขึ้น เนื่องจากยอดมะพร้าวนำมาทำเป็นอาหาร ยำ ผัด แกง ฯลฯ โดยเฉพาะต้มยำกุ้งยอดมะพร้าว เป็นเมนูยอดนิยม ซึ่งยอดมะพร้าวเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ที่ปลอดสารพิษ และเพิ่มเส้นใยอาหารได้ดี
สถาบันศิลปะและวัฒนธรรมฯ เห็นคุณค่าของมะพร้าวที่มีต่อวิถีชีวิตมนุษย์มายืนยาว จึงนำเสนอมะพร้าว รวมทั้งรวบรวมงานฝีมือต่างๆ ที่ใช้มะพร้าวเป็นองค์ประกอบ
ประโยชน์ทางยา
ส่วนที่ใช้เป็นยา คือเปลือกต้น เนื้อ น้ำมะพร้าว น้ำมัน กะลา ดอก ราก กาบ
สรรพคุณในตำรายาไทย
ขนาดและวิธีใช้
น้ำมันจากเนื้อมะพร้าวห้าว มีรสมัน ขนาดและวิธีใช้ ใช้เนื้อมะพร้าวห้าว เตรียมเป็นน้ำมันมะพร้าว (น้ำมันมะพร้าวเก่า ๆ จะเหม็นหืน ไม่น่าใช้) น้ำมันมะพร้าว 1 ส่วน ผสมกับน้ำปูนใส 1 ส่วน วิธีเตรียมยา นำน้ำมันมะพร้าวใส่ภาชนะ เติมน้ำปูนใสทีละน้อยคนให้เข้ากัน เติมและคนไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งหมดน้ำปูนใส จะได้ ยาเตรียมที่เข้ากัน ใช้ทาแผลที่เป็นบ่อย ๆ สรรพคุณ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ข้อเสนอแนะ ไม่ควรใช้สมุนไพรนี้กับแผลที่มีขนาดใหญ่ และแผลที่หนังแท้หรือเนื้อถูกทำลาย เพราะแผลที่ใหญ่และลึกอาจติดเชื้อได้ง่าย
งานฝีมือจากมะพร้าว
มะพร้าวเป็นพืชที่มีความผูกพันกับ วัฒนธรรมความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านาน คุณสมบัติที่ดีของมะพร้าว คือ ส่วนต่างๆ ของมะพร้าวสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ หลากหลาย ตั้งแต่ ลำต้น ใบ ก้าน ผล กะลา รากมะพร้าว กาบมะพร้าว รากมะพร้าวประเภทของรูปแบบผลิตภัณฑ์มะพร้าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานหัตถกรรม มีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัสดุที่มาจากส่วนต่างๆ ของมะพร้าว เช่น
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, เกษตรประณีต, ไร่นาสวนผสม