มะม่วงเขียวเสวยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 1030 ม. ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดง ผลดิบสีเขียว รสเปรี้ยวและหวานมัน เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม
มะม่วงเขียวเสวยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 1030 ม. ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม ดอกเป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดง ผลรูปไข่กลับ ตรงใกล้ขั้วจะมีติ่งยื่นออกมาคล้ายนอแรด ผิวเปลือกสีเขียวเข้ม เนื้อสีขาวอมเขียว ผลดิบมีรสเปรี้ยว ผลสุกมีรสหวาน, ต้น สูง 10-20 ม. แตกกิ่งก้านสาขาเยอะ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับเป็นคู่ๆ รอบกิ่งก้านจำนวนมากบริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นรูปใบหอก ปลายแหลม โคนมน สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อแบบเชิงลดที่ปลายยอด แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองนวล มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นรูปกลมรีและยาว ปลายผลจะเรียวแหลมและงอนมาก
เขียวเสวย กล่าวกันว่าเป็นพันธุ์พื้นเมืองของนครปฐม ถ้าพิจาณาเปลือกน่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุ์ทองดำ (สถาบันวิจัยพืชสวน 2539 มาตรฐานพันธุ์พืชสวน สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กทม.) รูปร่างของผลมะม่วงเขียวเสวยยาวรี ด้านหลังผลโค้งนูนออก ปลายด้านปลายผลแหลม ผิวเปลือกเรียบ สีเขียวเข้ม หนา เหนียว ผลแก่ให้เนื้อมีรสมัน อย่างไรก็ดี มะม่วงเขียวเสวยออกดอกค่อนข้างยาก (น่าจะคล้ายกับกรณีมะปราง) และตามงานวิจัยของสถาบันวิจัยพืชสวน มะม่วงเขียวเสวยที่ติดผลยากหรือไม่ค่อยดีนั้น น่าจะเกี่ยวข้องกับการผสมเกสรด้วย ได้มีความพยายามปรับปรุงพันธุ์นี้ โดยการคัดเลือกหลังผสมข้ามกับพันธุ์สายฝนและโชคอนันต์ ทำให้ได้พันธุ์ที่มีผลดก (ศิวพร จินตนาวงศ์ หิรัญ หิรัญประดิษฐ์ บังอร พิงพักตร์ 2541 ปรับปรุงพันธุ์มะม่วง สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กทม. 17 หน้า) แต่ผลไม่ใหญ่ เมื่อเทียบกับมะม่วงผลใหญ่พันธุ์ขาวนิยมและงามเมืองย่า มีการพบความแปรปรวน (polymorphism) ในเขียวเสวยและน้ำดอกไม้เสมอ (Jintanawongse, S., Chunwongse, J., Chumpong, S. and Hirnpradit, H. 1999. Clonal selection and comparison or the commercial mango cultivars in Thailand. Chanthaburi Horticultural Research Center, Chanthaburi. 5 p. และสัมฤทธิ์ เฟื่องจันทร์ และจินดา จันทร์อ่อน 2528 พันธุ์มะม่วงกับการจดทะเบียน กสิกร ปีที่ 58 ฉบับที่ 2 (มีนาคม-เมษายน 2528) หน้า 131-135) การเพาะเมล็ดมะม่วงดังกล่าวยังให้ต้นมะม่วงที่แปลกไป ซึ่งเป็นประเด็นที่มีการผสมข้ามด้วย
ข้อมูลจากสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานครบ่งว่า ขาวนิยมเป็นพันธุ์หรือโคล์นจากต้น (ortet) ที่เกิดจากการเพาะเมล็ดมะม่วงเขียวเสวย (มีใบคล้ายเขียวเสวย) เป็น ใบมะม่วงขาวนิยม (ภาพบน) และ 3 ใบ ด้านบนของภาพล่าง เปรียบเทียบกับเขียวเสวยใบล่างสุด มะม่วงซึ่งมีผลรูปทรงกระบอก หัวหรือขั้ว (ส่วนที่ต่อของก้าน) ที่ติดกับก้านคล้ายมะม่วงเขียวเสวย ปลายแหลมคล้ายมะม่วงน้ำดอกไม้ ขนาดใหญ่ (น้ำหนักเฉลี่ย 0.6 1.5 กิโลกรัม) และยังเรียกกันว่า น้ำดอกไม้มัน โดยผลดิบที่แก่จัด มีรสชาติเนื้อที่มันอร่อยคล้ายมะม่วงเขียวเสวย เมื่อสุก มีเนื้อแน่น รสชาติหวานหอม เมล็ดแบนลีบคล้ายมะม่วงน้ำดอกไม้ สีผิวเปลือกของผลไม่เขียวเข้มเท่าเขียวเสวยและไม่อ่อนเท่าน้ำดอกไม้ ผลแก่จัด (สุกปากตะกร้อ) จะสุกจากปลายไปหาขั้ว (มะม่วงเปรี้ยวจะสุกจากด้านติดขั้วไปหาปลายผล) เนื้อด้านในใกล้เปลือกกรอบ และเนื้อด้านติดเมล็ดจะนิ่ม เนื้อผลสุกสีเหลืองปนส้ม ไม่มีเสี้ยน (มีเปลือกหนากว่ามะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้และมะม่วงเขียวเสวย) อย่างไรก็ดี คล้ายกับมะม่วงเขียวเสวย ขาวนิยมติดหรือให้ผลค่อนข้างยาก ซึ่งน่าจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมด้วย
ป้ายคำ : ผลไม้