มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านของไทยอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจนิยมบริโภคผลและยอดอ่อน มีรสขม พบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย เป็นพืชที่ปลูกง่ายชอบอากาศร้อน ในทางโภชนาการเป็นผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารอีกหลายชนิดด้วยกัน นอกจากนี้แล้วคุณค่าทางยานั้นยังเป็นสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน รักษาโรคเอดส์ มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง แก้ไข แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นต้น
มะระขี้นก (Momordica charantia L.) เป็นสมุนไพรที่ใช้กันมานานนับพันปี ในเอเซีย อาฟริกา และละตินอเมริกา อายุรเวทใช้ผลมะระรักษาเบาหวาน โรคตับ บรรเทาอาการโรคเก๊าต์และข้ออักเสบ ตำรายาไทยใช้ใบมะระในตำรับยาเขียวลดไข้ รากในตำรับยาแก้โลหิตเป็นพิษ และโรคตับ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia Linn.
ชื่อวงศ์ : Cucurbitaceae
ชื่อสามัญ : BALSAM PEAR, BITTER CUCUMBER
ชื่ออื่น : ผักไห่ มะไห่ มะนอย มะห่วย ผักไซ (เหนือ) สุพะซู สุพะเด (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) มะร้อยรู มะระหนู (กลาง) ผักเหย (สงขลา) ผักไห (นครศรีธรรมราช) ระ (ใต้) ผักสะไล ผักไส่ ผักไซร้ (อีสาน) โกควยเกี๋ยะ โควกวย (จีน) มะระเล็ก มะระขี้นก (ทั่วไป) ชาวปานามาเรียก บัลซามิโน่
ลักษณะ : เป็นไม้เลื้อย พันต้นไม้อื่น มีมือเกาะ ลำต้นเป็นเหลี่ยมมีขนปกคลุม ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกสลับลักษณะคล้ายใบแตงโม แต่เล็กกว่า มีสีเขียวทั้งใบ ขอบใบหยัก เว้าลึก มี 5 – 7 หยัก ปลายใบแหลม ดอก ออกดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีเหลืองอ่อน มี 5 กลีบ เกสรมีสีเหลืองแก่ถึงส้ม กลีบดอกบาง ช้ำง่าย ผล ผลเดี่ยว รูปกระสวย ผิวขรุขระ มีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลแก่แตกอ้าออก เมล็ด เมล็ดสุกมีสีแดงสด รูปร่าง กลม แบน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา :
ข้อแนะนำ : วิธีแก้รสขม หากต้องนำผลแห้ง หรือใบแห้งมารับประทาน ให้เติมใบชาลงไปเล็กน้อย จะช่วยได้
ข้อควรระวัง :
ผลสุก เป็นพิษ มีซาโปนินมาก ทำให้อาเจียนและท้องร่วง อาจตายได้ ห้ามรับประทาน
เมล็ด รับประทานขับพยาธิตัวกลม รับประทานมากมีพิษเช่นเดียวกับผลสุก
งานวิจัยสมุนไพรมะระได้ดำเนินอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ค.ศ. 1962 ซึ่ง Lotlika และ Rao ได้ค้นพบชาแรนตินในผลมะระ ที่แสดงฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลอง ในปี 1965 Sucrow ได้พิสูจน์โครงสร้างเคมีของชาแรนติน พบว่าเป็นสารผสมของ sitosteryl- และ 5,25-stigmastadien-3-beta-ol-D-glucosides ในอัตราส่วน 1:1 ปี 1977 Baldwa และคณะ ได้แยกสารคล้ายอินซูลินจากผลมะระและมีฤทธิ์ลดน้ำตาล ในปี 1981 Khana และคณะได้พิสูจน์โครงสร้างของสารคล้ายอินซูลิน พบว่าเป็นโพลีเปปไทด์ที่มีน้ำหนักโมเลกุล 11,000 ดาลตัน และมีกรดอะมิโน 166 residues เรียกสารนี้ว่า โพลีเปปไทด์ พี สารขมกลุ่มคิวเคอร์บิตาซินซึ่งเป็น chemotaxonomic character ของพืชวงศ์ Cucurbitaceae คิวเคอร์บิตาซินในมะระ คือ momordicosides, momordicins, karaviloside K1 และ charantoside มีรายงานว่าสารขมดังกล่าวมีฤทธิ์ลดน้ำตาล
ในมะระขี้นกมีสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน และมีหลายกลไกที่ออกฤทธิ์ต้านเบาหวาน ได้แก่ เสริมการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน ลดการสร้างน้ำตาลจากตับ เสริมการเผาผลาญน้ำตาล เพิ่มความไวต่ออินซูลิน เพิ่มความทนต่อกลูโคส (glucose tolerance) นอกจากนี้ยังยับยั้งการหลั่งกลูโคสในลำไส้เล็ก และยับยั้งเอนไซม์กลูโคไซเดส
น้ำคั้นจากผลมะระขี้นกแสดงฤทธิ์ต้านเบาหวานในกระต่ายและหนูขาว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามะระสามารถชะลอความผิดปกติของไต การเกิดต้อกระจก การเสื่อมของเส้นประสาทซึ่งเป็นผลมาจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเลือดให้ปกติ
การศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน (8 คน) พบว่าผู้ป่วยทนต่อกลูโคสได้ดีขึ้น ลดระดับน้ำตาลขณะอิ่ม และลดความถี่ของการถ่ายปัสสาวะ จึงขอแนะนำผู้ป่วยเบาหวานบริโภคมะระขี้นกเป็นอาหาร หรือในรูปน้ำคั้นเป็นอาหารเสริม เพื่อช่วยรักษาระดับความดันเลือดให้ปกติ และชะลออาการต่างๆที่เป็นผลเสียจากโรคเบาหวานที่เป็นมานาน
มะระขี้นก (สีเขียว) มีคุณค่าทางอาหารเพราะมีวิตามินเอ (2,924 IU) ไนอะซิน (190 มก./100 ก) และมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ
การเตรียมน้ำคั้นจากผลมะระขี้นก ขนาดที่ใช้ต่อวัน ผลสด 100 ก. นำมาผ่าครึ่ง ใช้ช้อนกาแฟขูดไส้ในและเมล็ดออก หั่นเนื้อผลเป็นชิ้นเล็กขนาดกว้าง 1 ซม. ใส่ในเครื่องปั่นแยกกาก จะได้น้ำมะระประมาณ 40 มล. ดื่มหลังอาหารเช้าหรือเย็น
คุณค่าทางอาหาร
มะระมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี ไนอาซีน และเบต้าแคโรทีน อยู่ในระดับสูง มะระมีสารโบมอร์ดิซิน ผลอ่อนของมะระขี้นกให้วิตามินซี และเบต้าแคโรทีนสูง เวลาลวกควรลวกทั้งลูก และไม่แช่ไว้นาน เพราะจะทำให้วิตามินซีและเบต้าแคโรทีนสูญเสียไป เคล็ดลับในการทำให้รสขม ของมะระน้อยลงคือ คลุกเคล้าหรือแช่มะระในน้ำเกลือหรือต้มมะระโดยไม่ปิดฝาหม้อจนน้ำเดือดเต็มที่ จะช่วยลดความขมให้น้อยลง(คมสัน หุตะแพทย์)
ได้มีการศึกษาคุณค่าทางอาหารของผลมะระขี้นก พบว่า ผลมะระขี้นก 100 กรัม มีส่วนประกอดังนี้ (สถาบันการแพทย์แผนไทย, 2540 และทศพร, 2531)
สภาพแวดล้อมในการผลิต
ดิน สามารถขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ดินที่ปลูกได้ผลดีที่สุด คือ ดินร่วนปนทราย ซึ่งมีการระบายน้ำดีความเป็นกรดเป็นด่างของดิน เป็นกรดเล็กน้อยถึงปานกลางแสงแดด ชอบแสงแดดเต็มที่ตลอดวันความชื้น ในดินสูงสม่ำเสมอเพียงพออุณหภูมิ ช่วงที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18 25 องศาเซลเซียส สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี
การเตรียมดิน
แปลงปลูก มะระขี้นกเป็นผักที่มีระบบรากลึกปานกลาง ควรไถดินลึกประมาณ 20 25 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ 7 10 วัน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วเข้าไปให้มาก เพื่อปรับปรุงสภาพทางกายของดิน แล้วยกร่องเล็ก ๆ ยาวไปตามพื้นที่ระบบปลูก นิยมระบบแถวคู่ระยะปลูก ระยะที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 50 75 เซนติเมตร และระยะระหว่างแถว 1 เมตร(กรมส่งเสริมการเกษตร)
การทำค้าง
ถ้าใช้ไม้ไผ่ต้องนำมาผ่าเป็นซีกเล็กๆกว้าง 2.3 เซนติเมตร ยาว 2 เมตร ถ้าใช้ไม้รวกก็ไม่ต้องผ่า ใช้ไม้รวกยาวประมาณ 2 เมตร เช่นกัน ปักไม้ลงไปข้างๆ หลุม แล้วรวบปลายไม้เข้าด้วยกันเป็นรูปจั่ว มัดให้เหลือปลายไม้ไว้ แล้วใช้ไม้ยาววางพาดข้างบนอีกทีหนึ่ง ตามร่องใช้ยอดไม้รวกปักเพื่อให้มะระขึ้นไปได้
วิธีปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษา
หยอดเมล็ดโดยตรงลงในแปลง หลุมละ 3 4 เมล็ด ลึกลงไปในดินประมาณ 2.5 3.5 เซนติเมตร กลบด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดินผสม รดน้ำให้ชุ่ม คลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง 2 ใบ ถอนแยกต้นที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือไว้หลุมละ 2 ต้น
เมื่อมะระเริ่มเลื้อยหรือต้นมีอายุประมาณ 15 วัน ควรทำค้างเพื่อให้ต้นเลื้อยเกาะขึ้นไป อาจทำได้ 2 แบบ คือ
การรดน้ำ
รดเช้า-เย็น ควรให้อย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ถึงกับเปียกแฉะ ไม่ควรขาดน้ำ โดยเฉพาะช่วงออกดอกติดผล
การพรวนดิน
กำจัดวัชพืช ควรปฏิบัติในระยะแรก เมื่อต้นยังเล็กอยู่ เพื่อไม่ให้วัชพืช ระวังอย่าให้กระทบกระเทือนถึงระบบราก
การให้ปุ๋ย
อายุประมาณ 15 วัน ควรให้ปุ๋ยยูเรีย หรือแอมโมเนียมซัลเฟต ประมาณ 5 ช้อนแกงต่อหลุม พรวนรอบ ๆ ต้นแล้วรดน้ำ ปริมาณของปุ๋ยที่ใช้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และปริมาณของปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่ใช้
โรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด โรคเหี่ยว แหล่งที่สำคัญ ได้แก่ แมลงวันทอง เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน หนอนเจาะเถา หนอนเจาะยอด
การเก็บเกี่ยว อายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 45 วัน เก็บผลที่ยังอ่อนอยู่
การห่อผล
เมื่อมะระอายุได้ 40 วัน จะออกดอกและติดผลจนลูกโตขนาดนิ้วก้อย ก็เริ่มห่อผลได้ทันที โดยใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ทำเป็นถุงขนาด 15 คูณ 20 เซนติเมตร ปากถุงเปิดทั้งสองด้าน นำปากถุงด้านหนึ่งสวมผลมะระ แล้วใช้ไม้กลัดๆ ปากถุงให้แขวนอยู่บนก้านของผลมะระ การห่อผลจะช่วยไม่ให้มะระถูกรบกวนจากแมลงศัตรูพืชมากนัก และยังทำให้ผลมีสีเขียวอ่อนน่ารับประทานด้วย(ตระกาลศักดิ์มณีภาค,มูลนิธิ,)
การเก็บเกี่ยว
มะระจะให้ผลเก็บเกี่ยวได้เป็นรุ่นๆ ไปมะระรุ่นแรกเกษตรกรเรียกว่า มะระตีนดิน ผลมีลักษณะ อ้วน ป้อม สั้น ผลจะอยู่บริเวณโคนเถาเกือบติดดิน เก็บผลได้วันเว้นวัน เมื่อเก็บมะระรุ่นใหญ่ไปแล้ว 3 ครั้ง ก็จะถึงมะระรุ่นเล็กซึ่งเป็นมะระปลายเถา ผลจะมีขนาดเล็กลง การเก็บผลมะระควรเลือกเก็บในขณะที่ผลยังมีลักษณะอ่อนอยู่ มีสีเขียวและโตได้ขนาด อย่าปล่อยให้มะระแก่จัดจนเปลี่ยนเป็นสีครีม หรือผลเริ่มแตกเพราะเนื้อและรสจะไม่น่ารับประทาน
การเก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์
เริ่มด้วยการคัดเลือกต้นมะระในแปลงปลูกที่เจริญงอกงามแข็งแรง ให้ผลรุ่นแรกมีลักษณะดีตรงตามพันธุ์ไว้หลายๆต้น กะให้ได้เมล็ดพันธุ์พอปลูกในปีหน้า เมื่อดอกตัวเมียและตัวผู้ของต้นที่เลือกไว้เป็นต้นแม่พันธุ์ใกล้จะบาน หาถุงกระดาษบางขนาดโตกว่าดอกนิดหน่อยมาสวมไว้ รุ่งขึ้นดอกจะบาน เด็ดดอกตัวผู้มาครอบดอกตัวเมียแล้วเคาะเบาๆ ให้ละอองเกสรหล่นลงไปบนดอกตัวเมีย แล้วเอาถุงกระดาษสวมไว้ตามเดิมทิ้งให้ผลสุกจึงเด็ดไปผ่าเอาเมล็ดออกล้างน้ำตากแดดจนแห้งสนิท เก็บไว้ทำพันธุ์ต่อไปได้
น้ำมะระขี้นก
ส่วนผสม
วิธีทำ
ประโยชน์ของน้ำมะระ
ประโยชน์ของน้ำมะระขี้นกแบ่งออกเป็น 2 ทาง ได้แก่
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน