มะระ ขมเป็นยา

16 มิถุนายน 2557 ไม้เลื้อย 0

มะระเป็นพืชล้มลุกชนิดไม้เถา จัดเป็นผักตระกูลเดียวกับ ฟัก แตงกวา บวบ ค้นพบครั้งแรกในประเทศจีน ก่อนที่แพร่ขยายไปในแถบทวีปเอเชียและอินเดีย จนกลายเป็นผักที่ใครๆ ก็รู้จักทุกวันนี้ ปัจจุบันในบ้านเรานิยมบริโภคมะระเพียงสองชนิด คือ มะระขี้นก ซึ่งมีขนาดเล็ก ผิวขรุขระ สีเขียวแก่ หัวและท้ายเรียวแหลม มีรสชาติขม และมะระจีน ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ชาวจีนนำเข้ามาในประเทศไทย ลักษณะผลมีขนาดใหญ่ สีเขียวอ่อน น้ำหนักมาก แต่มีความขมน้อยกว่า

marajeans

ชื่อวิทยาศาสตร์ Momordica charantia Linn.
ชื่อสามัญ Bitter cucumber-chinese
วงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่ออื่นๆ ผักเหย, ผักไห, มะร้อยร,ู มะห่อย, มะไห,่ สุพะซ,ู สุพะเด

ลักษณะ
ไม้เถา มีมือเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ กว้างยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร ขอบใบหยักเป็นซี่ห่างๆ ใบเว้าเป็นแฉกลึก 5-7 แฉก ใบและลำต้นมีขนสากอยู่ทั่วไป ดอกสีเหลือง ออกเดี่ยวตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน รูปแตร ปลายกลีบดอกแยกเป็น 5 แฉก เมื่อบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร มะระมี 2 ชนิด คือ มะระไทยหรือมะระขี้นก และมะระจีน ซึ่งต่างกันที่ลักษณะและขนาดของผล ผลมะระขี้นก มีขนาดเล็กกว่า ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลรูปกระสวย ผิวขรุขระ สีเขียวเข้ม เมื่อสุกมีสีเหลือง ส่วนมะระจีนมีขนาดใหญ่กว่า เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-5 เซนติเมตร ยาว 12-30 เซนติเมตร รูปทรงกระบอก สีเขียวอ่อน ผิวขรุขระ ผลมะระทั้งสองชนิดมีรสขม

marajeanyod marajeanbai marajeanonn

มะระที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ

  1. มะระพันธุ์ขี้นก มะระชนิดนี้เป็นพันธุ์ป่า มีผลที่เล็ก รูปร่างป้อมเรียว ผวไม่เรียบ ขรุขระเป็นหนามแหลม รสขมจัด เนื้อบาง ขึ้นตามชายรั้วบ้านหรือชายป่า
  2. มะระพันธุ์จีน มะระชนิดนี้มีผลโต รูปร่างยาว ยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร ผิวสีเขียวอ่อน รสขมน้อย เนื้อหนาเป็นที่นิยมรับประทานกันมาก และนิยมปลูกกันมาก
  3. มะระพันธุ์สองพี่น้อง มะระพันธุ์นี้เป็นมะระที่เก็บเมล็ดจากมะระจีน จึงกลายพันธุ์มา มะระสองพี่น้องมีผลโตน่ารับประทาน
  4. มะระพันธุ์ย่างกุ้ง มะระพันธุ์นี้มีผลเล็ก แต่มีรูปร่างยาว ผิวขรุขระเป็นหนามแหลมปลายผลและหัวผลมีรสดีขมน้อย

คุณค่าทางอาหาร

  1. มะระขี้นก หรือมะระไทย มีผลเล็กๆ สั้นป้อม หัวแหลม ท้ายแหลม ผลยาวประมาณ 2-3 นิ้ว ผิวผลขรุขระ สีเขียวแก่ รสขมจัด มะระชนิดนี้เป็นพืชพันธุ์ของไทย และเป็นชนิดที่มีสรรพคุณตามตำรายาไทย ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 1.ฤทธิ์การลดน้ำตาลในเลือด 2.ฤทธิ์การต้านเชื้อ HIV 3.ฤทธิ์ต้านมะเร็ง
    สำหรับสรรพคุณในตำรายาไทย ช่วยเจริญอาหาร ใช้เนื้อของผลที่ยังไม่สุกเป็นอาหาร ผักจิ้ม ต้ม แกง รักษาเบาหวาน ใช้ผลโตเต็มที่หั่นเนื้อตากแห้ง ชงน้ำรับประทานต่างน้ำชา แก้ไข้ ผลต้มรับประทานแต่น้ำเป็นยาแก้ไข้ หรือดื่มน้ำคั้นจากผลแก้ปากเปื่อย ปากเป็นขุย น้ำคั้นจากผลใช้อม บำรุงระดู ดื่มน้ำคั้นจากผล ใช้ผลตำพอกฝี แก้บวม แก้ปวด
  2. มะระจีน ผลยาวใหญ่สีขาวอมเขียว ผิวขรุขระ ร่องใหญ่ ผลยาวประมาณ 4-9 นิ้ว อาจยาวถึง 10-12 นิ้ว ส่วนที่ใช้ ยอดอ่อน ผลอ่อน ใบ ราก และเถา ส่วนประกอบ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ บี 1 บี 2 ซี มีสารรสขม และสารลดระดับน้ำตาลในเลือด ได้แก่ พี-อินซูลิน

ประโยชน์
นิยมนำมะระมาปรุงอาหารอย่างง่าย ๆ คือ เอามาลวกหรือต้มจนสุก จิ้มน้ำพริก หลาย ๆ แห่งใช้มะระขี้นกเผาไฟ ส่วนมะระจีนนำมาต้มกับน้ำซุปกระดูกหมู หรือแกงจืดยัดไส้หมูสับ บ้างพลิกแพลง นำมะระมาหั่นเป็นแว่นบาง ๆ ชุบไข่ทอด แบบชะอมหรือมะเขือยาว นิยมจิ้มกับน้ำพริกทำให้เจริญอาหารดีนัก มะระผัดไข่ก็นิยมรับประทานกันมาก

มีอาการป่วยไข้ ให้นำมะระทั้ง 5 คือ ดอก ผล ใบ ราก และเถาอย่างละ 1 กำมือใส่น้ำให้ท่วมแล้วต้มจนเดือด กินครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหาร วันละ 3 – 4 ครั้งติดต่อกันเพียง 3-4 วันก็จะหายไข้

มะระมีรสขมเย็น แต่มีสรรพคุณมากมายเพราะสามารถใช้รักษาได้ทั้งไข้ร้อนและไข้เย็น นอกจากจะช่วยแก้ไข้แล้วมะระยังช่วยลดเสมหะ ลดน้ำมูก และบรรเทาอาการไอได้อีกด้วย

มีอาการคอแหบแห้ง เสียงไม่มี เนื่องจากโรคหวัด นำผลมะระต้มกินเป็นอาหารช่วยรักษาให้ทุเลาจนถึงหายขาดได้

marajeanplang

แก้ท้องผูก นำมะระทั้ง 5 มาต้มกิน ทำให้อุจจาระอ่อน ขับถ่ายสะดวกใช้เป็นยาระบายได้ดี แม้ท้องผูกยามเป็นไข้ (หรือไข้เกิดจากท้องผูก) ใช้มะระต้มดื่มวันละ 1 ครั้ง 1 แก้ว ตอนบ่ายหรือตอนเย็น เพราะมะระมีสรรพคุณถ่ายพิษไข้ได้เป็นอย่างดี

อีกตำรับหนึ่ง ให้นำมะระจีนหรือมะระขี้นกใกล้สุก มาหั่นทั้งเนื้อและเม็ดแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง คั่วจนหอมแล้วตำให้ละเอียดผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นยาลูกกลอนขนาดหัวแม่มือกินครั้งละ 1 เม็ดก่อนนอน อาการท้องผูกจะหายไป

บำรุงสายตา ให้นำผลมะระและยอดอ่อนมาปรุงอาหารตามใจชอบ ควรกินวันเว้นวันสม่ำเสมอ สายตาจะดีขึ้น

บำรุงเลือด ใช้ตำรับเดียวกับบำรุงสายตา

บำรุงกำลัง เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ให้นำเม็ดมะระจีนแก่จัดมาตากแห้งแล้วแกะเปลือกนอกออก ใช้เนื้อในบดจนละเอียด ละลายน้ำร้อนกินครั้งละ 1 ช้อนกาแฟวันละ 1 ครั้งก่อนนอน ติดต่อกัน 2 อาทิตย์ เว้น 2 อาทิตย์ กินอีก 2 อาทิตย์ จะทำให้เจริญอาหาร มีกำลังวังชาขึ้น ยาขนานนี้ยังช่วยขับพยาธิตัวเล็กได้อีกด้วย

ข้อควรระวัง มะระมีความเย็นจัด จึงไม่ควรกินติดต่อกันทุกวัน หรือเป็นเวลานาน ๆ ถ้าใครกินมะระแล้วอาเจียนหรือปวดท้องหรือท้องเสีย เกิดจากอาการแพ้ มะระต้องหยุดกิน

สรรพคุณทางยา
สรรพคุณและวิธีใช้ ใบ ต้มดื่ม แก้ไข้หวัด บำรุงน้ำดี ดับพิษฝี แก้ปากเปื่อย แก้ตับม้ามพิการ แก้อักเสบ ฟกช้ำบวม ใช้ทาภายนอก แก้ผิวแห้ง ลดอาการระคายเคือง อักเสบ ผลสุก มีซาโปนิน ไม่ควรกิน จะทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ โดยรวมมะระ มีสรรพคุณเป็นยารสเย็น บรรเทาอาการร้อนใน แก้อักเสบ เจ็บคอ สำหรับคนที่เป็นงูสวัด คั้นน้ำมะระผสมน้ำส้มสายชูทาบริเวณที่เป็นอาการจะดีขึ้น ถ้ากินป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่องจะสามารถลดอาการเบาหวานได้ เมล็ดรสขมจัด ขับพยาธิตัวกลม รากก็ขมให้ต้มดื่ม แก้ไข้ รักษาโรคริดสีดวงทวาร

วิธีการลดความขมให้นำไปแช่น้ำเกลือประมาณ 15-30 นาที หรือนำไปเคล้ากับเกลือ ทิ้งไว้ 10-20 นาที แล้วบีบน้ำให้แห้ง ลวกกับน้ำเดือด หรือต้มในน้ำเดือดพล่าน ปิดฝาให้สนิท ให้เดือดสัก 10 นาทีค่อยเปิดฝาหม้อ แต่ทั้งนี้การต้มนานๆ จะทำให้วิตามินซีลดลงไปด้วย
การศึกษาพบว่าน้ำคั้นจากผลมะระมีผลทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง ถามว่าน้ำมะระต้มเป็นยาระบายหรือไม คำตอบจาก ดร.ฉัตรชัย อธิบายว่ามะระมีฤทธิ์เป็นยาระบาย แต่ถึงขั้นช่วยควบคุมน้ำหนักได้ ยังไม่มีงานวิจัยยืนยัน งานวิจัยที่มีอยู่ในปัจจุบันสรุปตรงกันเพียงว่ามะระทั้ง 2 ชนิดเป็นสมุนไพรช่วยเจริญอาหาร

การปลูกมะระจีน
ก่อนอื่นเรามารู้จักสายพันธุมะระจีนลูกผสมที่ได้รับความนิยมกันก่อน ส่วนใหญ่เกษตรที่ทำการปลูกมะระจีนต้องเลือกสายพันธุก่อนสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมคือ เมล็ดพันธุ์ มะระลูกผสมพันธุ์เขียวหยก16 ของตราศรแดง มะระลูกผสมพันธุ์หยกกวางเจาและมะระลูกผสมพันธุ์

marajeansuan

ขั้นตอนการปลูกเมล็ดมะระจีนลูกผสม
ปริมาณเมล็ดพันธุ์
เมล็ดพันธุ์มะระจีนลูกผสมที่ใช้ ประมาณ 100-150 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 500-700 เมล็ด
การเพาะเมล็ด

  1. การเพาะเมล็ดเป็นที่นิยมของเกษตรกรโดยทั่วไป
    – นำเมล็ดพันธุ์แช่น้ำประมาณ 5-6 ชั่วโมง
    – นำเมล็ดพันธุที่แช่น้ำแล้วมาห่อผ้าขาวบาวหรือผ้าขนหนูแล้วอบใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน
    – หลังจากนั้นนำเมล็ดพันธุ์ออกมาจะสังเกตูเห็นว่าเมล็ดพันธุ์มีการแทงรากออกมาแล้วนำไปใส่ถาดเพาะกล้า(ควรใช้ดินสำหรับเพาะกล้า) ทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วันแล้วค่อยนำกล้าที่เพาะแล้วลงหลุมปลูก
  2. การหยอดเมล็ดลงหลุมปลูกไม่เป็นที่นิยมของเกษตรกร
    ระยะการปลูกและการทำค้าง
    1.ในฤดูร้อนและในฤดูหนาว
    – ระยะระหว่างต้น 1.50 เมตร
    – ระยะระหว่างแถว 3.00 เมตร
    2.ในฤดูฝน
    – ระยะระหว่างต้น 2.00 เมตร
    – ระยะระหว่างแถว 4.00 เมตร
    3.การทำค้างมี 2 แบบที่เกษตรนิยม
    – ทำค้างแบบสามเหลี่ยม
    – ทำค้างแบบกล่อง

การเตรียมดิน

  • ไถพรวนดินให้ลึกประมาณ 0.30-0.50 เมตร เพราะรากของมะระจีนนั้นแผ่ขยายกว้างและลึก
  • ใสปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ในปริมาณ 1-2 ตัน ต่อไร่
  • ใช้คากิ ปูนหอย หรือปูนขาวเพื่อปรับค่าความเป็นกรดของดิน
  • รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมีอินทรีย์ 18-5-4

การดูแลรักษา

  • อายุ 10-14 วัน
    – เริ่มแตกใบจริง 4-6ใบ ควรฉีดพ่นสารป้องกันกำจัโรคพืชและแมลงศัตรูพืชตั้งแต่เล็กๆ เพื่อป้องกันโรคไวรัส ยอดหยิก ยอดตั้ง ยอดไอ้โต้ง
    – เริ่มแตกยอดให้เด็ดยอดทิ้งเพิ่มมะระจะไดแทงแขนงข้างได้มากขึ้น
  • อายุ 14-21 วัน
    – ระยะการเจริญเติบโตช่วงแตกแขนงข้าง พยายามปลิดใบล่างออก สูงจากโคนต้นประมาณ 1.00 ม.
    เพื่อให้ส่วนโคนต้นระบายอากาศได้ดี ป้องกันการสะสมของแมลงศัตรูพืช และยังช่วยให้มะระจีนลำเลียงอาหารจากลำต้นไปเลี้ยงยอดได้ดีขึ้น
    ทำให้การติดดอก ออกผลสมบูรณ์ขึ้นด้วย
    – ระยะนี้ควรเอาใจใส่เป็นพิเศษในการป้องกันโรคเชื้อราและโรคไวรัส
  • อายุ 24-30 วัน
    – ระยะนี้เป็นระยะช่วงก่อนการติดดอก ควรเริ่มสะสมอาหารเพื่อให้การติดดอกสมบูรณ์ขึ้นถ้าเป็นในฤดูร้อนมะระจีนจะติดดอกตัวผู้เยอะ
    (ดอกน้ำ)ทำให้การติดผลผลิตน้อยเพราะสภาพอากศทำให้การผสมเกษรไม่สมบูรณ์ เราควรใช็ฮอร์โมนในการแปลงเกษรช่วยพืช แต่ถ้าเป็นช่วงฤดูหนาว
    ดอกเกษรตัวผู้จะน้อยทำให้ผลผลิตไม่ค่อยสมบูรณ์ลูกจะคด งอ เราก็ควรช่วยพืชในเรื่องการผสมเกษรเช่นกัน
  • อายุ 35-42 วัน
    – เริ่มติดผลผลิตเกษตรกรจะทำการสอดลูกแล้วระยะนี้เกษตรกรบางท่านก็นิยมนำกระดาษมาห่อลูกมะระเพื่อป้องกันแมลงวันทอง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญในการปลูกมะระจีน ประโยชน์อีกทางหนึ่งของการห่อจะทำให้สีของลูกมะระจีนสวย แต่บางครั้งทำให้หลายแปลงเสียค่าใช้จ่าย
    ในเรื่องแรงงานและวัสดุมาก จึงอยากแนะนำเกษตรว่าในปัจจุบันมีสารล่อแมลงวันทองซึ่งจะทำให้ประหยดค่าแรงงานค่อนข้างมาก และในส่วนของสีผิวของผลมะระจีนนั้นสามารถทำใสีเขียวหยกได้โดยใช้ ไวท์ออย ช่วย
  • อายุ 42-48 วัน
    – เริ่มเก็บผลผลิต เก็บผลผลิตวันเว้นวันไปเรื่อย จนอายุได้ประมาณ 80 วัน ผลผลิตเฉลี่ยต่อ 1 ไร่ประมาณ 2-5 ตัน

เก็บผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 15-20 ครั้ง

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

โรคและแมลงศัตรูพืช

  • โรคใบจุด โรคใบเลือง โรคราน้ำค้าง โรครากเน่าโคนเน่า โรคไวรัส ใช้สารป้องกันกำจัดตามอาการ
  • แมลงศัตูพืช เพลี้ยไฟ ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง หนอนชอนใบ ใช้สารป้องกันกำจัดตามอาการ

น้ำมะระ
ส่วนผสม

  • เนื้อมะระขี้นก 30 กรัม( 3 ลูก )
  • ใบเตยหอมตากแห้ง 15 กรัม( 1 ช้อนคาว )
  • น้ำต้มสะอาด 200 กรัม( 14 ช้อนคาว )
  • เกลือป่น 1 กรัม( 5 ช้อนชา )
  • น้ำมะนาว 15 กรัม( ครึ่งลูก )
    marajeannam

วิธีทำ

  1. นำมะระขี้นกล้างให้สะอาด ผ่าซีก แกะเอาเมล็ดออก หั่นเป็นชิ้นยาวๆบางๆ ตามขวางของผลมะระ
  2. นำใบเตยหั่นเป็นท่อนสั้นๆตากแห้งแล้วคั่วให้เหลืองกรอบเก็บในขวดปากกว้าง
  3. เอามะระขี้นก ใบเตยหอมและน้ำใส่ในหม้อต้มให้เดือด หรือถ้าไม่อยากต้ม จะใส่ในถ้วยแก้ว ที้งไว้ 5-10 นาที แล้วนำมาดื่มใด้ไม่ต้องกลัวว่าจะขมเวลาดื่ม เพราะแก้ไขด้วยการเอาใบเตยหอมและน้ำมะนาวมาผสมช่วยกลบความขมของมะระขี้นกได้ดี

ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ

  • คุณค่าทางอาหาร : มีวิตามินเอสูงมากช่วยบำรุงสายตา
  • คุณค่าทางยา : น้ำคั้นผลมะระ เมื่อดื่มจะช่วยลดการเกิดต้อกระจกจากเบาหวาน ..ช่วยเจริญอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด ลดไข้ แก้อาการข้ออักเสบ บำรุงน้ำดี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้เลื้อย

แสดงความคิดเห็น