มะเกลือ ไม้ผลย้อมผ้า

6 มีนาคม 2558 ไม้ผล 0

มะเกลือ เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Ebenaceae พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มกลมกิ่งอ่อนมีขนนุ่ม ผลดิบของมะเกลือมีสรรพคุณเป็นยา จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่ง สมัยก่อนนิยมใช้ยางผลมะเกลือไปย้อมผ้า มะเกลือเป็นพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลของจังหวัดสุพรรณบุรี ในภาคเหนือเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า มะเกีย มะเกือ หรือ ผีผา ทางใต้เรียกว่า เกลือ แถบเขมร-ตราดเรียก มักเกลือ

ไม้ยืนต้น สูงได้ถึง 30 เมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 เซ็นติเมตร ยาว 4-7 เซ็นติเมตร สีเขียวเข้ม เมื่อแห้งสีดำ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกตัวผู้ออกเป็นช่อสั้นๆ ประมาณ 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว กลีบดอกสีเหลือง ผลเป็นผลสด รูปกลมเกลี้ยง ผลดิบสีเขียว ผลสุดสีดำ มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ ติดอยู่ที่ขั้วผล

maklearpon

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros mollis Griff.
ชื่อสามัญ : Ebony tree
วงศ์ : Ebenaceae
ชื่ออื่น : ผีเผา (ฉาน-ภาคเหนือ) มักเกลือ (เขมร-ตราด) เกลือ หมักเกลือ ผีผา มะเกีย

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-30 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลา โคนต้นมักเป็นพูพอน ผิวเปลือกเป็นรอยแตกสะเก็ดเล็กๆ สีดำ เปลือกในสีเหลือง กระพี้สีขาว กิ่งอ่อนมีขนนุ่มขึ้นประปราย

  • ใบ เป็นใบเดี่ยวขนาดเล็กรูปไข่หรือรีเรียงตัวแบบสลับ ปลายใบสอบเข้าหากัน โคนใบกลม หรือมน ผิวใบเกลี้ยง ใบกว้าง 3.5-4.0 ซม. ยาว 9-10 ซม. ใบที่ยังอ่อนจะมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน
  • ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบ ดอกแยกเพศต่างต้น ดอกตัวผู้มีขนาดเล็ก สีเหลืองอ่อน หนึ่งช่อมี 3 ดอก ดอกตัวเมียเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะดอกเหมือนกัน คือ กลีบรองดอกยาว 0.1-0.2 ซม. โครกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายกลีบดอกแยกเป็น 4 กลีบ สีเหลืองเรียนเวียนซ้อนทับกัน ตรงกลางดอกมีเกสร
  • ผล กลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. ผิวเกลี้ยง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีดำ ผลแก่จัดจะแห้ง มีกลีบเลี้ยงติดบนผล 4 กลีบ ผลแก่ราวเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เมล็ด แบน สีเหลือง 4-5 เมล็ด ขนาดกว้าง 0.5-0.7 ซม. ยาว 1-2 ซม. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

maklearton maklearbai makleardib
ส่วนที่ใช้ : ราก, ผลมะเกลือสด โตเต็มที่และสีเขียวจัด (ห้ามใช้ผลสุกสีเหลืองหรือผลสีดำ)

สรรพคุณ :

  • ราก – ฝนกับน้ำซาวข้าว รับประทานแก้อาเจียน แก้ลม
  • ผลมะเกลือสดและเขียวจัด – เป็นสมุนไพรยอดเยี่ยมที่สุดในการถ่ายพยาธิ กำจัดตัวตืด หรือไส้เดือนตัวกลม พยาธิปากขอ พยาธิเข็มหมุด

วิธีและปริมาณที่ใช้
ผลสดโตเต็มที่และเขียวจัด จำนวนผลเท่าอายุแต่ไม่เกิน 25 ผล (คนไข้อายุ 40 ปี ใช้เพียง 25 ผล) ตำใส่กะทิ คั้นเอาแต่น้ำกะทิ ช่วยกลบรสเฝื่อน ควรรับประทานขณะท้องว่าง ถ้า 3 ชั่วโมงแล้วยังไม่ถ่ายใช้ยาระบาย เช่น ดีเกลือ 2 ช้อนโต๊ะ ละลายน้ำดื่มตามลงไป
สารเคมี – สารกลุ่มพีนอล ชื่อ diospyrol ซึ่งถูก oxidize ง่าย

วิธีการใช้

  • การใช้มะเกลือรักษาโรคพยาธิ ตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข (สาธารณสุขมูลฐาน)
    ใช้ผลมะเกลือราว 10 ลูก หรือมากน้อยกว่านั้นตามความเหมาะสมแก่วัย (เกิน 25 ปี ใช้แค่ 25 ผล) ตำคั้นน้ำผสมหัวกะทิดื่ม
  • ใช้ผลมะเกลือสด (จำนวนเท่าอายุเด็กที่ป่วย) ล้างให้สะอาดตำให้ละเอียด ใส่เกลือป่นและน้ำสะอาดประมาณ 1 1/2 แก้ว กวนผสมให้เข้ากันดี กรองด้วยผ้าขาวบาง ใช้น้ำยาประมาณ 1 แก้ว ดื่มก่อนนอนเมื่อต้องการให้หยุดถ่ายให้อาบน้ำ
  • ใช้ผลมะเกลือสด 5-6 ผล ตำโขลกกับน้ำกะทิสด หรือนมวัวใช้ดื่มขับพยาธิได้
    เอาผลมะเกลือเท่าอายุ ตำคั้นเอาน้ำ แล้วเอาน้ำปลาปากไห 1 ถ้วย ผสมกัน เวลาเช้าให้ดื่มน้ำกะทิก่อนสัก 1 ถ้วย รอสักครู่แล้วจึงดื่มยาตาม
  • เอาผลมะเกลือเท่าอายุผสมกับเกลือ ตำคั้นน้ำ แล้วผสมกับหัวกะทิเท่ากันให้ได้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแกง ดื่มเวลาเช้ามืด งดอาหารเช้า ถ้าธาตุหนักให้ดื่มน้ำร้อนแทรกดีเกลือพอควร ถ้าธาตุเบาไม่ต้องแทรกดีเกลือ

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในเด็กอายุต่ำว่า 10 ขวบ หญิงตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดใหม่ๆ และผู้ป่วยในโรคอื่นๆ
ระวังอย่าให้เกินขนาด
ถ้าเกิดอาการท้องเดินหลายๆ ครั้ง และมีอาการตามัวให้รีบพาไปพบแพทย์ด่วน

maklearkla

maklearpah maklears

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ผล

แสดงความคิดเห็น