มะเขือม่วง ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ

6 กุมภาพันธ์ 2557 พืชผัก 0

มะเขือม่วงลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ ลดความดันเลือด บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน เนื่องจากมะเขือม่วงมีสรรพคุณคล้ายกับอินชูลิน ลดปริมาณน้ำตาลในเลือด คนเป็นเขาหวานควรมีมะเขือม่วงเป็นผักคู่ใจเลยอาการดีวันดีคืน ช่วยขับพยาธิ ลดการอับเสบ ช่วยให้ระบบย่อย และระบบขับถ่ายงานดี ทำให้ตับแข็งแรงทำงานได้ มีคุณภาพ

ชื่อสามัญ : EGG PLANT อยู่ในวงศ์มะเขือ (SOLANACEAE)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum melongena L.
ชื่ออื่น : มะเขือกะโปกแพะ, มะเขือหำม้า, มะเขือจาน, มะเขือจาวมะพร้าว, มะแขว้งคม (เหนือ)

มะเขือม่วงมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย อยู่ในตระกูลเดียวกับพริก มะเขือเทศ มันฝรั่ง และยาสูบ ในเขตร้อน มะเขือม่วงจะเป็นพืชข้ามปี แต่ในเขตหนาวนิยมปลูกเป็นพืชฤดูเดียว โดยทั่วไปมีขนาดทรงพุ่มสูง 50-250 เซนติเมตร มีการเจริญแบบไม่จำกัด ทรงพุ่มเกิดราก มีการเจริญของกิ่งแขนง ระบบรากเป็นรากแก้ว ใบเดียว ขนาดใหญ่เจริญสลับกัน ด้านล่างของใบมีขนหนาสีเทา ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศดอกสามารถเจริญได้ในทุกช่วงแสง ขนาดผลขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ลักษณะผลมีหลายแบบ เช่น กลม รูปไข่ หรือกลมยาว เมล็ดมีขนาดเล็กสีน้ำตาล

makermoungpon

มะเขือม่วงเป็นไม้เป็นไม้ล้มลุก สูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีสีเขียวหรือสีม่วง มีขนนุ่มปกคลุม อาจมีหนามเล็กๆ ส่วนบนแตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบ ใบออกสลับกันรูปร่างค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก หรือเป็นคลื่นหลังใบ ใต้ท้องใบมีขนนุ่มปกคลุม ดอกออกเป็นช่อ หรือดอกเดี่ยว มีสีม่วง กลีบดอกมี 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ส่วนปลาย แยกจากกันเป็น 5 แฉก ปลายแหลม กลางดอกมีเกสรตัวผู้ 5 อัน และตัวเมีย 1 อัน อยู่ติดกับกลีบดอก ก้านเกสรและอับเกสรเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะกลมยาวมีสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลก็จะมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ ภายในผลมีเมล็ดจำนวนมาก ขนาดเล็กกลมแบน (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2542, 195) มะเขือยาวเขียว เป็นพันธุ์ที่แพร่หลายที่สุด มะเขือยาวม่วงมีมากในญี่ปุ่น (ทวีทอง หงษ์วิวัฒน์, 2547, 53)

makermoung

เปลือกของมะเขือม่วงอุดมไปด้วยนาซูนิน (nasunin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยปกป้องสมองของคุณจากการถูกทำลาย เพื่อคงความฉลาดหลักแหลมของคุณไว้ ลองนำมะเขือม่วงไปทำแกง หรือรับประทานกับข้าวกล้องก็อร่อยไม่เบา แข็งแรงได้ใจ จากการศึกษาพบว่า อะไรก็ตามที่คุณรับประทานเข้าไป มีโอกาสที่จะทำให้โรคภัยไข้เจ็บต่างๆดีขึ้นได้ เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคหัวใจ เพื่อให้อัตราการเสี่ยงของคุณลดน้อยลง

makermoungpa

สภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต
อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเจริญอยู่ระหว่าง 22-30 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า 35 องศาเซลเซียส พืชชะงักการเจริญ ละอองเกสรส่วนใหญ่จะเป็นหมัน มะเขือม่วงต้องการดินร่วนซุย ดินอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี เมื่อมีน้ำขังรากจะเน่าตามได้ง่าย pH 6.0-6.8 ไม่ควรปลูกมะเขือซ้ำกับพื้นที่ที่เคยปลูกมะเขือเทศ พริก หรือยาสูบ

ประโยชน์ของ การปลูกมะเขือม่วง
ลำต้น,ราก-ต้มกินแก้บิด หรือคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้ง-ป่นเป็นผง เป็นยาแก้โรคบิด ปัสสาวะขัด หนองใน ดอกสดหรือแห้ง เผาให้เป็นเถ้า แล้วบดละเอียด แก้ปวดฟัน ผลแห้ง-ทำเป็นยาเม็ด แก้ปวด แก้ตกเลือดในสำไส้ ขับเสมหะ ผลสด-ใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรัง ผดผื่นคัน

มีวิตามินบี 1 โปรตีน แคลเซียม กรมอนามัยรายงานว่า มะเขือยาว 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 26 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย ไขมัน 0.3 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.9 กรัม โปรตีน 0.9 กรัม เส้นใย 0.9 กรัม แคลเซียม 19 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม เหล็ก 2.6มิลลิกรัม วิตามินเอ 354 IU วิตามินบี 1 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 9.06 มิลลิกรัม และวิตามินซี 3 มิลลิกรัม ไม่มีไนอาซิน (มะปราง, 2548, 112) ข้อมูลทางอาหาร ผล ใช้ต้ม หรือเผาไฟ จิ้มน้ำพริก และยำมะเขือยาว ชุบไข่ทอด ผัดมะเขือยาว ผัดกับถั่วฝักยาว (ชาวล้านนาเรียก คั่วบ่าเขือบ่าถั่ว) เป็นส่วนผสมของแกงเขียวหวาน

makermoungs

สรรพคุณทางยา

  • รับประทานเป็นประจำ จะช่วยให้เส้นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคลักปิดลักเปิด มีสารต้านอนุมูลอิสระ (มะปราง, 2548, 112)
  • ลำต้นและราก แก้บิดเรื้อรัง อุจาระเป็นเลือด แผลเท้าเปื่อยอักเสบ ใบแก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน พอกแผลบวมเป็นหนอง ผลแห้งทำเป็นยาเม็ดกินแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ ผลสด ใช้ตำแล้วพอกแผลอักเสบมีหนอง ขั้วผลแห้ง เผ้าเป็นเถ้าบดให้ละเอียด เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ (กัญจนา ดีวิเศษ และคณะ, ผู้รวบรวม, 2548, 183)
  • ลำต้นและราก ต้มกินแก้บิด นำมาคั้นน้ำล้างแผลเท้าเปื่อย ใบแห้งนำมาป่นเป็นผง รักษาอาการปัสสาวะขัด บิดหนองใน ดอกสดหรือแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดละเอียดกินแก้ปวดฟัน ผลแห้งทำเป็นยาเม็ดแก้ปวด ขับเสมหะ แก้ตกเลือดในลำไส้ผลสดนำมาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง และโรคผิวหนังเรื้อรัง

การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆ ของการเจริญเติบโต

makermoungkla

  1. การเตรียมกล้า เพาะกล้าอย่างประณีตในถาดเพาะอายุกล้าไม่ควรเกิน 25 วัน และย้ายปลูกเมื่ออายุกล้า 30 วัน
  2. การเตรียมดิน ขุดดินตากแดดทิ้งไว้อย่างน้อย 14 วัน ใส่ปูนขาวในอัตรา 0-100 /ตารางเมตร การเลือกแปลงปลูก ไม่ควรปลูกซ้ำกับตระกูลมะเขือในฤดูก่อนหน้า
  3. การปลูกและการดูแลรักษา ควรใช้การปลูกระบบคลังอาหาร ให้ขุดหลุมลึก 50-60 ซม.กว้าง 50 ซม. ใส่ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยคอก อัตรา 50 กรัม โดยผสมคลุกเคล้ากับดิน ให้รองก้นหลุมด้วยกำมะถัน 7 วัน ก่อนย้ายปลูก การปลูกควรใส่เชื้อไตรไดรเดอร์ม่า ผสมกับปุ๋ยคอกหรือรำข้าวอัตราละ 50 กรัม
  4. การให้น้ำ ให้น้ำสม่ำเสมอไม่เปียกหรือแฉะเกินไป
  5. การเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยวตามมาตรฐานงานคัดบรรจุควรตัดให้มีขั้วติดผลด้วย มะเขือม่วงก้านเขียวอายุเก็บเกี่ยว 50-60 วัน (หลังย้ายปลูก) มะเขือม่วงก้านดำ 40-50 วัน หลังย้ายปลูก

makermoungton

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น