มะเขือยาว รักษาหลอดเลือดหัวใจ

14 กรกฏาคม 2556 พืชผัก 0

มะเขือยาว จะอุดมไปด้วยสารอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายสูงมากเลยทีเดียว ซึ่งจะมีสรรพคุณเป็นยาขับปัสสาวะ ถอนพิษไข้ แก้ปวด ช่วยขับเสมหะ แก้ตกเลือดในลำไส้ ช่วยรักษาหลอดเลือดและหัวใจให้เป็นปกติ ป้องกันเส้นเลือดหัวใจตีบ ป้องกันโรคความดันดลหิตสูง เสริมการทำงานของสมอง เสริมความจำ ลดอาการบวม ช่วยรักษาแผลอักเสบที่มีหนอง โรคผิวหนังเรื้อรังและผดผื่นคัน

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L.
ชื่อสามัญ Egg plant, Potato tree
วงศ์ Solanaceae
ชื่ออื่นๆ มะเขือไข่ม้า, มะแขว้ง, มะแข้งคม, มะเขือป้าว (ภาคเหนือ), มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ), มะเขือขาว, มะเขือจานมะพร้าว, มะเขือกระโปกแพะ, มะเขือจาน (ภาคกลาง), สะกอวา, ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ลักษณะ :
ไม้พุ่มไม่มีเนื้อไม้ อายุหลายปี สูงได้ถึง 1.5 เมตร มีระบบรากแข็งแรง นิยมปลูกแบบพืชปีเดียว ส่วนต่างๆ ของลำต้นปกคลุมด้วยขนสีเทา และพบว่ามีหนามเล็กๆ ต้นที่อายุมากลำต้นอาจมีเนื้อไม้แข็ง ใบเป็นใบเดี่ยว การเรียงใบแบบสลับ ก้านใบยาว 10 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่ หรือรูปไข่ขอบขนาน ยาว 3-25 เซนติเมตร กว้าง 5-15 เซนติเมตร มีขนรูปดาวปกคลุมอย่างหนาแน่น โคนใบกลมหรือเป็นรูปหัวใจมักมีขนาดไม่เท่ากัน ขอบใบเว้าเป็นคลื่น ปลายใบแหลมหรือทู่ ดอกเป็นดอกเดี่ยวหรืออยู่รวมกันเป็นช่อกระจุก 2-5 ดอก ดอกมีทั้งสองเพศในดอกเดียวกัน หรือมีเฉพาะเพศผู้เพียงอย่างเดียว ดอกเกิดที่ข้อของลำต้นด้านตรงข้ามกับใบ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร ก้านดอกยาว 1-3 เซนติเมตร เมื่อเจริญเป็นก้านผลยาวได้ถึง 7 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงมี 5-7 กลีบ เชื่อมติดกันเป็นรูปทรงระฆัง ยาว 2 เซนติเมตร มีหนาม มีขนนุ่ม อยู่คงทนและขยายขนาดตามผล กลีบดอกมี 5-6 กลีบ เชื่อมติดกัน ส่วนปลายกลีบแยกออกจากกันเป็นแฉกคล้ายดาว ความยาวกลีบ 1 เซนติเมตร มีสีม่วงอ่อน มีขนทางด้านล่างของกลีบ เกสรเพศผู้ 5-6 อัน ยาว 1 เซนติเมตร เกสรเพศเมีย 2 อันเชื่อมติดกัน แต่ส่วนปลายยอดเกสรเพศเมียแยกออกจากกัน ผลมีเนื้อหลายเมล็ด รูปทรงกระบอก ยาวได้ถึง 40 เซนติเมตร มีสีเขียวอ่อน หรือม่วง หรือเขียวปนม่วง ผิวเรียบเป็นมันมีเมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน

มะเขือยาวเป็นพรรณไม้ล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ลำต้นแข็งแรง มีสีเขียวหรือสีม่วง มีขนนุ่ม และสั้นปกคลุม หรืออาจมีหนามเล็ก ๆ ส่วนบนจะแตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบ ใบจะออกสลับกัน เป็นรูปค่อนข้างกลม โคนใบเบี้ยว ส่วนปลายใบแหลม ริมขอบใบหยัก หรือเป็นคลื่นหลังใบ ใต้ท้องใบมีขนนุ่มปกคลุม ผลมีลักษณะกลมยาว มีสีเขียวอ่อน สีม่วงคล้ำ หรือเป็นสีขาว ผิวเปลือกจะเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ตรงขั้วผลมีกลีบเลี้ยงสีเขียวติดอยู่ เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด

makearyoawp

มะเขือยาวมีประโยชน์ต่อร่างกายนานัปการ สามารถนำลำต้นและรากแห้งประมาณ 10-15 กรัม มาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือดหรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผลหรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็น ดอกสดหรือดอกแห้งนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด เป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง ผลแห้งกินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน รวมไปถึงขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี.

makearyoawton

ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์
ถิ่นกำเนิดจะอยู่แถบประเทศพม่าและอินโดจีน ซึ่งพบว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมมาก แหล่งอื่นที่สันนิษฐานว่าอาจเป็นถิ่นกำเนิดคือ แถบประเทศจีน และทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเขตร้อน เขตกึ่งร้อน เขตอบอุ่น และการปลูกในเรือนกระจกของเขตอบอุ่น เป็นพืชที่มีการปลูกสืบเนื่องมาเป็นเวลานาน มีความหลากหลายของสายพันธุ์ ลักษณะรูปทรงและสีสันของผลจึงแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ตั้งแต่ขาว เขียวอ่อน เขียวแก่ เหลือง และม่วง ผลมีรูปร่างเป็นทรงกลมเรียกว่า มะเขือเปราะ ผลเป็นทรงรีเรียกว่า มะเขือไข่เต่าหรือมะเขือม่วง ผลทรงยาวเรียกว่า มะเขือยาว

คุณค่าทางอาหาร
ส่วนของผลที่รับประทานได้หนัก 100 กรัม ประกอบด้วยน้ำ 92 กรัม โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 4.0 กรัม เส้นใย 1.0 กรัม เถ้า 0.6 กรัม แคลเซียม 22 มิลลิกรัม เหล็ก 0.9 มิลลิกรัม วิตามินบี 1 0.08 มิลลิกรัม วิตามินบี 2 0.07 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.7 กรัม วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม พลังงาน 100 กิโลจูลต่อ 100 กรัม เมล็ดจำนวน 1,000 เมล็ด หนักประมาณ 4 กรัม

ประโยชน์
ผลมะเขือยาวมีวิตามิน เอ บี ซี และ พี ไขมัน โปรตีน น้ำตาล และเกลือแร่ต่างๆ โดยทั่วไปในมะเขือยาวผิวสีม่วงจะมีวิตามิน P ในปริมาณที่มาก
ในมะเขือยาวผิวสีม่วง 600 กรัม มีวิตามิน P มากกว่า 3,600 มิลลิกรัม วิตามิน P สามารถเพิ่มภูมิต้านทานเชื้อโรคให้กับหลอดโลหิตฝอยไม่ให้แตกง่าย ทำให้หลอดเลือดทำงานได้ตามปกติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจโคโรนารี (Coronary) มีอาการอาเจียนเป็นเลือด หรือโรคลักปิดลักเปิด เป็นต้น ควรกินมะเขือยาวเป็นประจำ จะทำให้อาการโรคดังกล่าวทุเลาลงหรือหายได้
makearyoawplang

สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะเขือยาว

  • ลำต้นและราก : ใช้ลำต้นและรากแห้งประมาณ 10-15 กรัม นำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้บิดเรื้อรัง บิดอุจจาระเป็นเลือดหรือใช้ลำต้นและรากสดนำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำทาหรือล้างบริเวณที่เป็นแผลที่ถูกความเย็น แผลเท้าเปื่อยอักเสบ เป็นต้น
  • ใบ : ใช้ใบแห้งนำมาตำให้เป็นผงละเอียดกินประมาณ 6-10 กรัม เป็นยาแก้โรคบิดอุจจาระเป็นโลหิต แก้ปัสสาวะขัด แก้โรคหนองใน แก้ตกเลือดในลำไส้ ใช้ภายนอกนำเอามาต้มเอาน้ำใช้ล้างแผลหรือใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลบวมเป็นหนอง และแผลที่เกิดเนื่องจากถูกความเย็น
  • ดอก : ใช้ดอกสดหรือดอกแห้งนำมาเผาให้เป็นเถ้าแล้วบดให้เป็นผงละเอียด ใช้บริเวณที่ปวดเป็นยาแก้ปวดฟัน ฟันผุ และบริเวณแผลที่มีหนอง เป็นต้น
  • ผล : ใช้ผลแห้ง นำมาทำเป็นยาเม็ด กินเป็นยาแก้ปวด แก้ตกเลือดในลำไส้ ขับเสมหะ อุจจาระเป็นโลหิต หรือใช้ผลสด นำมาตำให้ละเอียดใช้พอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบที่มีหนอง เป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง และผดผื่นคัน เป็นต้น
  • ขั้วผล : ใช้ขั้วผลที่แห้ง ประมาณ 60-90 กรัม นำมาต้มหรือเผาให้เป็นเถ้าบดให้ละเอียดกิน เป็นยาแก้ตกเลือดในลำไส้ อุจจาระเป็นโลหิตหรือใช้ขั้วผลสดนำมาตำให้ละเอียดใช้พอกหรือทา บริเวณที่เป็นแผลบวมมีหนอง แผลในปาก ปวดฟัน หรือเป็นฝี เป็นต้น

Tips

  1. สำหรับผู้หญิงหัวนมแตกเจ็บ ให้ใช้ผลแก่จัดนำมาตากในร่มจนแห้งแล้วนำไปเผาให้เป็นเถ้า จากนั้นก็บดให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วใช้ทาบริเวณที่เจ็บ
  2. แผลที่เกิดจากพยาธิปากขอ เจาะไชเท้าให้ใช้ใบนำไปต้มเอาน้ำล้างบริเวณแผล
  3. เป็นฝีหลายหัวบริเวณที่หลังหนองยังไม่แตก ให้ใช้ใบสดนำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำส้มสายชูสีดำ นำมาต้มแล้วพอกในบริเวณที่เป็น
  4. เป็นปื้นขาวหรือแดงบริเวณบนผิวหนัง ให้ใช้ขั้วผลที่แห้งแล้วคลุกผสมกับกำมะถัน จากนั้นก็บดให้เป็นผงละเอียดใช้ทาบริเวณที่เป็น
  5. สำหรับเด็กที่เป็นวัณโรค อาเจียนเป็นโลหิต ไอ ท้องเสีย อาการที่พึ่งเป็น หรืออาการที่ยังไม่รุนแรงให้ใช้หนอนลำต้นมะเขือเทศ (ต้นที่ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง) นำมาผสมกับอาหารให้เด็กรับประทาน

การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด พันธุ์มะเขือยาวที่นิยมปลูก ได้แก่ เทอร์โบ ทอร์นาโด โทมาฮอค พันธุ์มะเขือม่วงที่นิยมปลูก ได้แก่ คาสิโน มัสแตง และพันธุ์มะเขือเปราะที่นิยมปลูก ได้แก่ ปิงปอง หยดพระยา และคางกบ

การกระจายพันธุ์:
เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุย ต้องการน้ำ ความชุ่มชื้น ในปริมาณปานกลาง

makearyoawlum

นิเวศวิทยา
อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของมะเขือยาวคือ กลางวัน 25-35 องศาเซลเซียส กลางคืน 20-27 องศาเซลเซียส ไม่ทนต่อสภาพที่มีน้ำค้างแข็ง ทนทานต่อสภาพแห้งแล้งและฝนตกหนักในขณะที่ยังไม่มีการออกดอกและติดผล เป็นพืชที่ไม่มีการตอบสนองต่อความยาวของช่วงวัน ชอบดินร่วนปนทรายระบายน้ำได้ดีปลูกได้ตั้งแต่บนพื้นที่ราบจนถึงความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล

การเก็บเกี่ยว
เมื่อต้นมีอายุ 60-90 วันหลังปลูก โดยเลือกผลที่มีขนาด 2 ใน 3 ของขนาดผลที่เจริญเติบโตเต็มที่

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด พืชผัก

แสดงความคิดเห็น