บรรพบุรุษไทยในแดนสุวรรณภูมิฉลาดมากที่เลือกเอามะเขือเปราะมาใส่แกงป่าเป็นอาหาร เป็นมะเขืออีกชนิดหนึ่งที่เรานิยมนำมาประกอบในอาหาร ไม่ว่าจะเป็นแกงเขียวหวาน แกงป่า หรือบางคนก็นิยมกินสดๆ จิ้มน้ำพริก หรือใส่ในยำต่างๆ ก็ได้รสอร่อยเช่นกัน ปราศจากคอเลสเตอรอล ลดมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด และเสริมสร้างสุขภาพ
ชื่อสามัญ : มะเขือเปราะ ( EGG PLANT)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : CHIONATHUS PARKINONII
ชื่ออื่น/ชื่อท้องถิ่น : บ่าเขือผ่อย (ภาคเหนือ) บ่าเขือกางกบ (ชนิดที่มีลายสีเขียวอ่อน อยู่บริเวณส่วนก้น) บ่าเขือเดือนแจ้ง (ชนิดที่มีผลสีขาวล้วน) , มะเขือเจ้าพระยา
ลักษณะทั่วไปของพืช
มะเขือที่ปลูกในบ้านเราส่วนมากจะเป็นมะเขือพื้นเมืองที่ปลูกต่อๆกันมา ชื่อของมะเขือมักจะตั้งตามลักษณะของพันธุ์หรือท้องถิ่นนั้นๆ เช่น มะเขือเปราะเจ้าพระยา มะเขือสามารถปลูกได้ในดินแทบทุกชนิดที่มีความชื้นสูงพอสมควร ไม่แฉะเกินไปหรือแห้งเกินไป pH ประมาณ 5.5-6.8 ต้องการแสงแดดเต็มที่
การเพาะกล้า
มะเขือเป็นพืชที่มีระบบรากปานกลาง การเพาะกล้าควรขุดไถดินลูกประมาณ 15 ซม. ตากดินไว้ 10-15 วัน ใส่ปุ๋ยคอกคลุกเคล้าในดินเพื่อช่วยให้ดินร่วนฟู พรวนดินให้ละเอียด หว่านเมล็ดมะเขือทั่วแปลง แล้วหว่านปุ๋ยคอกกลบทับ
คุณค่าทางอาหารของมะเขือเปราะ
มะเขือเปราะ 100 กรัม ให้พลังงาน 39 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย โปรตีน 1.6 กรัม ไขมัน 0.5 กรัม คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม แคลเซียม 7 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 10 มิลลิกรัม เหล็ก 0.8 มิลลิกรัม ไทอะมิน 0.11 มิลลิกรัม ไนอะซิน 0.6 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.06 มิลลิกรัม น้ำ 90.2 กรัม วิตามินเอรวม 143 RE. วิตามินซี 24 มิลลิกรัม
ประโยชน์ของมะเขือเปราะ
สรรพคุณของมะเขือเปราะ
การแพทย์อายุรเวทของอินเดียใช้รากมะเขือเปราะ รักษาอาการไอ หอบหืด อาการหลอดลมอักเสบ ขับปัสสาวะ และขับลม
ผลใช้ขับพยาธิ ลดไข้ ลดอักเสบ ช่วยการขับถ่าย ช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นทางเพศ
ประชากรในแคว้นโอริสสา ของประเทศอินเดียใช้น้ำต้มผลมะเขือเปราะรักษาโรคเบาหวาน
งาน วิจัยนานาชาติระหว่างปี พ.ศ.2510-2538 พบว่าผลมะเขือเปราะมีฤทธิ์ลดการบีบตัวกล้ามเนื้อเรียบ ต้านมะเร็ง บำรุงหัวใจ และลดความดันเลือด
ผลมะเขือเปราะมีไกลโคอัลคาลอยด์โซลามา ร์จีน โซลาโซนีน และอัลคาลอยด์โซลาโซดีนที่ปราศจากโมเลกุลน้ำตาล การทดสอบฤทธิ์ต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้พบว่า ทุกตัวมีฤทธิ์ต้านการเจริญของเซลล์มะเร็งตับและลำไส้ใหญ่ พบว่า ฤทธิ์ของไกลโคอัลคาลอยด์สูงกว่าโมเลกุลไร้น้ำตาล ราก ต้นและผลแก่มีสารอัลคาลอยด์เหล่านี้ต่ำ แต่ผลเขียว (เหมือนที่คนไทยกิน) มีสารที่มีประโยชน์เหล่านี้ในปริมาณสูงกว่าส่วนอื่นของพืชดังกล่าว
สารโซลาโซดีนใช้เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สเตียรอยด์คอร์ติโซนและฮอร์โมนเพศได้
ผลตากแห้งบดเป็นผงผสมน้ำผึ้งใช้ปรุงยาแก้ไอ
งาน วิจัยที่แคว้นโอริสสา ประเทศอินเดีย ใช้สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะลดปริมาณน้ำตาลในเลือดของหนูเบาหวานอะล็อกซาน พบว่าได้ผลลดน้ำตาลในเลือดดีเท่ากับการใช้ยากลิเบนคลาไมด์ (glibenclamide)
การทดสอบเพิ่มเติมพบว่า สารสกัดดังกล่าวออกฤทธิ์คล้ายอินซูลิน โดยช่วยเสริมการใช้งานกลูโคสอย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลเชิงบวกต่อการทำงานของตับอ่อน สารสกัดน้ำของผลมะเขือเปราะไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลองแต่อย่างใด
การปลูกมะเขือเปราะ
เมื่อต้นกล้าอายุ 30 วัน ให้ย้ายกล้าโดยมีดินติดรากให้มากที่สุด ควรย้ายกล้าช่วงบ่ายถึงเย็น เมื่อย้ายแล้วรดน้ำให้ชุ่มทันที ควรพรางแสงให้ต้นกล้าในช่วง 3 วันแรกเพื่อให้กล้าตั้งตัวเร็วขึ้น
ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ ระยะระหว่างต้น 50 ซม. ระหว่างแถว 80-100 ซม.
การดูแล
ช่วงแรกควรให้น้ำสม่ำเสมอและเพียงพอ ไม่ระวังไม่ให้แฉะเกินไปควรใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 50-100 กก./ไร่ เป็นปุ๋ยรองพื้นตอนปลูก และหลังย้ายกล้า 30 วันควรใส่ปุ๋ยยูเรีย เพื่อช่วยเร่งการเจริญของต้นกล้าระยะแรกควรพรวนดินกำจัดวัชพืชในระยะที่ต้นยังเล็ก เพื่อช่วยให้ถ่ายเทอากาศและน้ำได้ดี ต้นจะแข็งแรง
การเก็บเกี่ยว
ปกติจะเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุประมาณ 60-85 วัน ควรเลือกเก็บผลที่ยังไม่แก่ เพราะผลที่เริ่มแก่คุณภาพจะลดลงและไม่อร่อย ไม่ควรปล่อยผลแก่คาต้นเพราะทำให้ผลผลิตลดลง
โรคและแมลงศัตรู
การเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อทำพันธุ์ต่อไป
ช่วงอายุประมาณ 95-100 วัน ดอกจะเริ่มทยอยบาน ซึ่งจะบานไม่พร้อมกัน ผลก็จะเริ่มแก่ซึ่งอายุจะอยู่ที่ 180 วัน ต้องทยอยเก็บผลที่เป็นสีเหลืองทั้งผล จากนั้นนำมาทิ้งไว้ในร่มประมาณ 2-3 วัน แล้วนวดผลเพื่อให้เมล็ดหลุดอออกจากเนื้อผล แล้วฝ่าเอาเมล็ดออก จากนั้นล้างทำความสะอาดเมล็ด เมล็ดที่จมจะเป็นเมล็ดที่ดี ส่วนเมล็ดที่ลอยเป็นเมล็ดที่ไม่ดีให้เททิ้งไป จากนั้นใช้ตะแกรงล้างน้ำผ่านอีกครั้ง ทิ้งไว้ให้หมาดก่อนแล้วค่อยนำมาตากแดด(ในการตากควรใช้ผ้ารองเมล็ดตากก่อน) ตากประมาณ 3-4 แดด แล้วเช็คความสะอาดอีกรอบ แล้วค่อยเก็บใส่ถุงกระดาษเขียนชื่อและวันเดือนปีที่เก็บแล้วพับใส่ในถุงพลาสติกเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อรักษาอัตราการงอกและลดการหายใจของเมล็ดพันธุ์ให้น้อยที่สุด จะสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้ได้นานเกิน 2 ปีขึ้นไป
หมายเหตุ ; ต้นมะเขือสามารถตัดแต่งกิ่งได้หลังการเก็บเกี่ยวรุ่นที่ 1 ใช้กรรไกรตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยหมักเพื่อให้กิ่งใหม่ออกมาซึ่งจะสามารถเก็บผลได้อีก
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน