มะแว้งเครือ สุดยอดยาแก้ไอ

2 กุมภาพันธ์ 2557 สมุนไพร 0

มะแว้งมี 2 ชนิด คือมะแว้งที่เป็นพุ่มหรือเป็นต้น ๆ เรียกว่า “มะแว้งต้น” ส่วนต้นเป็นเถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่นเรียกว่า “มะแว้งเครือ” หรือ “มะแว้งเถาเครือ” มีหนามตลอดต้น เก็บยาก แต่มะแว้งเนี่ย ใบจะเหมือนมะเขือ ดอกก็เหมือนมะเขือ ลูกมะแว้งตอนแรกก็จะเขียว ๆ แก่ไปจะเป็นสีแดง ปลูกง่ายมาก ใส่ปุ๋ยขี้วัว ครั้งเดียว กินได้ตลอดปี

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum trilobatum L.
วงศ์ : Solanaceae
ชื่ออื่น : มะแว้งเถา (กรุงเทพฯ ) แขว้งเควีย (ตาก)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเลื้อยพาดพันกับต้นไม้อื่น ลำต้นกลม สีเขียวเป็นมัน มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ สีเขียวเป็นมัน แผ่นใบล่างมีหนามตามเส้นใบ ดอก ออกเป็นช่อตามซอกใบที่ปลายกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 แฉก ย่น ปลายแหลม โคนเชื่อมติดกัน เกสรเพศผู้สีเหลืองมี 5 อัน ผล รูปทรงกลม ขนาด 0.5 ซม. ผิวเรียบ ผลดิบสีเขียวมีลายขาว ผลสุกสีแดงใส เมล็ดแบน มีจำนวนมาก

mawangkrerpon

  • ต้น เป็นไม้เถาเลื้อยของลำต้นมีหนามโค้งแหลมและสั้น กระจายอยู่ทั่วไป
  • ใบ มีลักษณะรูปไข่หรือรูปรี ขอบใบหยักเว้า 2-5 หยัก ใบกว้าง 1-4 ซม. ยาว 2-7 ซม.ผิวใบเรียบมีหนามเล็กๆ ตามเส้นกลางใบ
  • ดอก ออกเป็นช่อ ช่อละ 2-8 ดอก กลีบดอกสีม่วงสดแต่ละดอกมีขนาด 2-3 ซม.
  • ผล ขนาดเล็กลักษณะกลมผิวเรียบ เป็นช่อคล้ายมะเขือพวง เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 8 มม. ผลอ่อนสีเขียวมีลายสีขาวตามยาว ผลสุกสีแดง

mawangkrerdok mawangkrerking
ส่วนที่ใช้ : ราก ทั้งต้น ต้น ใบ ผลสดแก่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก

สรรพคุณ :

  • ราก – แก้โลหิตออกทางทวารหนัก ทวารเบา แก้ไอ แก้ขับเสมหะให้ตก แก้หืด ขับปัสสาวะ แก้ไข้สันนิบาต บำรุงธาตุ แก้น้ำลายเหนียว กระหายน้ำ แก้วัณโรค
  • ทั้งต้น – ขับเหงื่อ แก้ไอ แก้หืด ขับปัสสาวะ
  • ต้น – แก้หญิงท้องขึ้นในขณะมีครรภ์ แก้ไอ ขับเสมหะ แก้น้ำลายเหนียว กระทุ้งพิษไข้ ขับปัสสาวะ
  • ใบ – บำรุงธาตุ แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว
  • ผลสด – แก้ไอ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ รักษาโรคเบาหวาน บำรุงดี แก้น้ำลายเหนียว บำรุงเลือด แก้โลหิตออกทางทวารหนักทวารเบา

วิธีและปริมาณที่ใช้

  • แก้ไอ แก้โรคหืดหอบ ใช้เป็นยาขมเจริญอาหาร
    เอาผลมะแว้งเครือสดๆ 5-6 ผล นำมาเคี้ยวกลืน เฉพาะน้ำจนหมดรสขม แล้วคายกากทิ้งเสีย บำบัดอาการไอได้ผลชงัด
    ใช้ผลสดๆ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาน้ำ ใส่เกลือ จิบบ่อยๆ หรือใช้ผลสดเคี้ยวแล้วกลืนทั้งน้ำและเนื้อ
  • รักษาเบาหวาน ลดน้ำตาลในเลือด
    ใช้ผลมะแว้ง โตเต็มที่ 10-20 ผล รับประทานเป็นอาหาร เป็นผักจิ้มน้ำพริก

สารเคมีและสารอาหารที่สำคัญ : มีวิตามิน เอ และมีสารกลุ่มอัลคาลอยด์ชื่อ Solanine, Solanidine และสารที่ทำให้ผลมะแว้งเครือมีรสขมคือ Tomatid 5-en-3-B-ol

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ปลูกได้ดีในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ถ้ามีนํ้าพอเพียงสามารถให้ผลผลิตได้ตลอดปี ชอบดินร่วนระบายนํ้าดี มีอินทรีย์วัตถุพอสมควร

mawangkrercho

การเตรียมแปลงปลูก
ไถพรวนดิน กำ จัดเศษวัชพืชและใส่ปุ๋ยคอก ไถพรวนดินอีกครั้งคลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นปรับพื้นที่ให้เรียบ

การเพาะกล้า
นำเมล็ดแช่ในนํ้าอุ่น 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลานาน 5 นาที เพาะในกระบะเพาะเป็นเวลา 1 เดือน จึงย้ายปลูก

การปลูก
ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 1 X 1 เมตร รดนํ้าทันที

การเตรียมค้าง
การเตรียมค้างให้ต้นมะแว้งเครือ กระทำ เมื่อต้นมีอายุ 2-3 เดือนขึ้นไป โดยใช้เสาไม้ไผ่ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว ความยาว 2 เมตร และมีไม้ไผ่ผ่าซีกผูกในแนวขวาง 2 แถว ห่างจากพื้นดิน 75 เซนติเมตร และ 150 เซนติเมตร ตามลำดับ

การดูแลรักษา
กำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นโดยใช้มือถอน คอยจัดเถามะแว้งเครือให้เลื้อยบนค้าง รดนํ้าให้ดินมีความชื้นสมํ่าเสมอ ตัดแต่งกิ่งที่แห้งออกบ้าง หลังให้ผลผลิตรุ่นแรก ใส่ปุ๋ยคอกในอัตรา 0.5 กิโลกรัม/ต้น
ถ้าพบการระบาดของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง ให้ป้องกันกำ จัดโดยใช้สารสะเดาฉีดพ่นทุก 3-5 วัน ช่วงที่มีการระบาด

mawangkrerton

การเก็บเกี่ยว
เริ่มเก็บผลผลิตได้ เมื่ออายุ 8-10 เดือน
เก็บผลในระยะเริ่มแก่แต่ยังไม่สุก โดยผลเริ่มมีสีเหลืองส้ม (ผลที่แก่เต็มที่จะมีสีส้มเข้ม)
ควรสวมถุงมือในระหว่างเก็บเพื่อป้องกันหนามแหลมคมของมะแว้งเครือ ทยอยเก็บผลผลิต ตากแดดเป็นเวลา 3-5 วัน ให้แห้งสนิท

mawangkrerpol

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สมุนไพร

แสดงความคิดเห็น