มันเสา (Dioscorea alata ) สันนิษฐานว่ามีถิ่นดั้งเดิมในเมืองไทยหรือพม่า แล้วจึงแพร่เข้าไปทั่วเอเชีย ส่วนใหญ่เป็นหัวขนาดใหญ่ จึงเรียกว่าgreater yam มันชนิดนี้มีรูปทรงแตก ๆ ต่างกันออกไป ทั้งแบบยาวตรง กลมรี นิ้วมือ ตัวยู ฯลฯ เคยมีผู้ค้นพบถึง 72 แบบ จึงเรียกไปตามลักษณะหัว เช่น มันงู มันมะพร้าว มันมือหมี มันเหลือง มันเขาวัว มันหวาย ฯลฯ
ชื่อสามัญ Buabua(Fiji Islands), Urung (Philippines),
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dioscorea alata L.
ชื่อวงศ์ Dioscoreaceae
ชื่ออื่นๆ ไคว้ซอง(ลั้วะ), หน้วยมี(กะเหรี่ยงเชียงใหม่), กวาย/มันป่า(ขมุ), เบล่หม่าติ้ง(ปะหล่อง) – มันงู, มันจาวมะพร้าว, มันมือหมี, มันเลือดไก่ (กลาง);; มันเขาวัว, มันแข้งช้าง, มันตีนช้าง, มันเลี่ยม (เหนือ); มัน
ลักษณะ
มันเสาเป็นไม้เลื้อย รากสีชมพู เถาเป็นสันเหลี่ยม มีครีบ ลำต้นเลื้อยพันไปทางขวา ไม่มีหนามแต่บางครั้งเป็นปุ่มปมหรือเป็นรอยหยาบที่โคน มีหัวขนาดเล็กตามซอกใบ และมีหัวใต้ดิน หัวมีขนาดใหญ่ ด้านนอกสีน้ำตาล เนื้อสีขาวสีครีม จนถึงสีม่วง
- ไม้เถา, มีหัวใต้ดิน, หัวมีรูปร่างต่าง ๆ กัน, เช่น รูปทรงกระบอก, กลม, รูปชมพู่, เป็นพูหรือแฉก, รูปนิ้วมือ เป็นต้น, ผิวสีน้ำตาลหรือดำ, ขาว, สีงาหรือม่วง, ไม่มีพิษ, ไม่มีขน, ลำต้นสี่เหลี่ยม, ไม่มีหนาม, ตามเหลี่ยมเป็นครีบ, ครีบเป็นคลื่น, มีหัวเกิดตามง่ามใบ, กว้าง 1 ซม., ยาว 4 ซม.
- ใบ เป็นใบเดี่ยว, ใบที่อยู่โคนต้นเรียงสลับกัน, ใบที่อยู่เหนือขึ้นไปเรียงเป็นคู่ตรงข้ามกัน, รูปไข่แกมสามเหลี่ยมหรือแกมหัวลูกศร, รูปขอบขนานแกมสามเหลี่ยม หรือขอบขนานแกมรูปไข่, กว้าง 6 15 ซม., ยาว 8 22 ซม.; โคนใบเว้าเป็นรูปหัวใจ, เป็นติ่งหูหรือโคนตัด; ขอบใบเรียบ; ปลายใบเรียวแหลม, มีเส้นใบ 5 เส้น, นูนเห็นชัดทั้งด้านบนและด้านล่าง; แผ่นใบและก้านใบสีเขียวอ่อน; ก้านใบยาวใกล้เคียงกับแผ่นใบ, มีครีบ, บิด, โคนก้านใหญ่.
- ดอก ออกตามง่ามใบ, ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน. ดอกเพศผู้ ออกเป็นช่อ ยาว 15 25 ซม., ก้านช่อสีเขียว, ไม่มีขน, มีครีบ, กลีบดอกมี 6 กลีบ, เรียงเป็น 2 ชั้น, เกสรผู้ 6 อัน, ดอกเพศเมีย ออกเป็นช่อ, ดอกไม่มีก้าน, แต่ละช่อมี 8 14 ดอก, กลีบดอกมีลักษณะเหมือนดอกเพศผู้, รังไข่มี 3 ช่อง, ปลายท่อรังไข่มี 3 แฉก.
- ผล มีปีกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม 3 ปีก, ปีกกว้าง 1.5 2.0 ซม., ยาว 1.7 2.5 ซม., ปลายผลเว้าเล็กน้อย, โคนกลมเป็นติ่งแหลมสั้น ๆ ; เมล็ดมีปีก

ประโยชน์
หัวใต้ดิน นึ่งรับประทาน(ลั้วะ,ขมุ)
หัวใต้ดิน หั่นเป็นชิ้นๆ แล้วนำไปนึ่งรวมกับข้าวเหนียว แล้วนำมารับประทาน(กะเหรี่ยงเชียงใหม่)
- ผล เอามาทาหน้ารักษาฝ้า(ปะหล่อง)
- หัวใต้ดินมีเนื่องในสีม่วงเป็นสารแอนโธไซยานิน นิยมใช้แต่งสีขนมกวน เช่น เผือกกวน แต่งสีไอศกรีม เป็นต้น มีมากทางภาคใต้

หัวใต้ดิน เมื่อทำให้สุกกินได้ และใช้ทำแยมได้ดีเพราะเหนียวมาก , มีสรรพคุณเป็นยาขับพยาธิ, แก้โรคเรื้อน และริดสีดวงทวาร, ใช้กินหลังจากฟื้นไข้ด้วยอาการไอเป็นเลือด และโรคไต หรือม้ามอักเสบ
- (ราก) ต้มดื่มเป็นส่วนผสมของยารักษาวัณโรค (หัว) รับประทาน (อาข่า)
