ยางบงหรือต้นไก๋ที่ปลูกแล้ว 6-7 ปี ต้นยางบงจะมีเส้นรอบวงประมาณ 50-100 ซม. แล้วแต่ความสมบูรณ์ของที่ดินที่ปลูก การขูดลอกเปลือก ทำเพียงหนึ่งในสี่ของลำต้นตลอดความยาวของลำต้น ต้นจะไม่ตาย และ ค่อยๆ สร้างเปลือกทดแทน ที่ถูกลอกไป ปีต่อมาก็ลอกเปลือกเพียง 1 ใน 4 ด้านตรงข้าม ทำสลับกันไป เช่นนี้จนครบ 4 ปี พอปีที่ 5 ก็กลับย้อนมาขูดบริเวณที่ขูดในปีแรกอีก ทำให้มีผลผลิตทุกปีและยางบงก็ฟื้นตัวทัน
ชื่อพื้นเมือง บงปง มง หมี ยางบง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Persea kurzii Kosterm.
ชื่อวงศ์ LAURACEAE
ยางบงเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง เป็นไม้ที่ไม่ผลัดใบ มีมากในบางจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบจังหวัดมุกดาหาร นครพนม อุบลราชธานี ในป่าดงดิบสามารถพบได้โดยเฉพาะในแถบที่มีฝนตกชุกมากๆ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง อยู่ในวงศ์ LAURACEAC สูงเต็มที่ไม่เกิน 15 เมตร ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบสีเทาแก่ ทรงต้นเป็นพุ่ม แตกกิ่งก้านมาก
ไม้บงเป็นไม้ที่มีเรือนยอดเป็นพุ่มกว้างเปลือกค่อนข้างหนาสีเทาแก่ เปลือกในมีสีขาวและสีแดง
ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ปักชำกิ่ง ขึ้นได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบความชื้นและแสงแดดปานกลาง
ประโยชน์ เนื้อไม้นิยมใช้ไม้บงทำเครื่องมือเครื่องใช้ เปลือก บดให้ละเอียดผสมขี้เลื่อยและการใช้ทำธูป และผสมกำมะถันใช้ทำยากันยุงได้ดี ปกติจะใช้เปลือกได้เมื่ออายุ 6-7 ปี ยางไม้บงมีน้ำยางเมือกใสขาวเหมือนนมสด ใช้อุดรอยรั่วต่างๆ ได้ดี ใช้เป็นส่วนผสมในการทำฟิล์มภาพยนตร์ ในสมัยก่อน ใช้ยางบงโอบรอบโคนเสาไม้ซึ่งสามารถป้องกันปลวก มอด มด เจาะกินเนื้อไม้ และยังใช้ไม้ยางบนเป็นส่วนผสมในการก่อสร้างก่อสร้าง เช่นเดียวกับการใช้ปูนซีเมนต์ในปัจจุบัน
การแปรรูป ใช้เปลือก ไม้บง บดให้ละเอียดผสมขี้เลื่อยและการใช้ทำรูปและผสมกำมะถันใช้ทำยากันยุงได้ดี ปกติจะใช้เปลือกได้เมื่ออายุ 6-7 ปี
การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า เพาะเมล็ด เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์การงอกประมาณ 80-90% โดยเมล็ดจะเริ่มงอกหลังจากเพาะแล้วประมาณ 15-30 วัน ควรเพาะหลังจากเก็บเมล็ดไม่เกิน 30 วัน ต้องเอาเยื่อหุ้มผลออกก่อน โดยการขยำด้วยมือ จะเพาะด้วยการเพาะลงถุงโดยตรง หรือเพาะลงแปลงเพาะก็ได้
ปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก
ดิน ดินร่วนปนทราย อุ้มน้ำได้ดี และเป็นดินลึก เช่น ที่นาหรือบนดินนา
ความชื้น ปริมาณน้ำฝนควรอยู่ระหว่าง 1,200-2,000 มม./ปี
การปลูกดูแลบำรุงรักษา
การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก ควรใช้รถแทรกเตอร์เข้าไถพรวนดินเสียก่อน เพื่อจะได้ลดการแ่ก่งแย่งของวัชพืชในระยะแรก
วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ขนาดหลุมที่พอเหมาะในการปลูกควรมีขนาดกว้าง 30 ซม. ยาว 30 ซม. ลึก 40 ซม. กันหลุมให้ใช้ฟางข้าวแห้ง หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง รองก้นหลุม เพื่อเก็บความชื้น ระยะปลูกคือ 4 x 4 ม. (ไร่ละ 100 ต้น) การถางวัชพืชทุก ๆ 3 เดือน
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ป่ายาง