ต้นกุงหรือพลวง หรือยางพลวง หรือยางกุง ไม้พื้นเมืองถิ่นอีสาน ที่เริ่มจะสูญหายในไม่ช้า ใบใช้ทำหลังคา ฝากั้นห้อง ลำต้นใช้ทำจันทัน ขื่อ แป เป็นไม้เนื้อแข็ง ใช้ทำโครงสร้างบ้านเรือน
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus tuberculatus Roxb.
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น กุง เกาะสะแต้ว สะเติ่ง คลง คลอง คลุ้ง ควง ตะล่าอ่ออาขว่า ล่าเทอะ ตึง ตึงขาว ยาง พลอง แลเท้า สาละออง
ลักษณะ
สภาพนิเวศ พบขึ้นในประเทศพม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ชอบขึ้นตามที่ลาดต่ำใกล้ชายห้วย หรือใกล้ที่ชุ่มชื้น ที่ระดับความสูง 100-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล
สถานภาพ ไม้หวงห้ามธรรมดาประเภท ก.
การใช้ประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
น้ำมันใช้ทาแผลภายนอก โดยผสมกับมหาหิงคุ์ และน้ำมันมะพร้าวก็ได้ ใบ เผาให้เป็นเถ้าผสมกับน้ำปูนใส แก้บิดและถ่ายเป็นมูกเลือก ราก นำมาต้มแล้วดื่มแก้ตับอักเสบ
การใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆ
ชันใช้ทาไม้ ยาเรือ หรือ ยาเครื่องจักสาน ทำไต้ ใบแห้งใช้มุงหลังคา ฝากั้นห้อง คลุมผิวดิน ปลูกผัก ปลูกสตรอเบอร์รี่ ใบสด ใช้ห่อของแทนถุงพลาสติก
ไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ทางภาคเหนือนิยมใช้ใบแก่ มุงหลังคาและทำฝากระท่อม และใช้รองผลสตรอเบอรี่ไม่ให้ติดดิน เน่าเสีย หรือผิวไม่สวย
ป้ายคำ : ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง, ป่ายาง