ยาดองสมุนไพรเป็นการนำเอาสมุนไพรมาหมักหรือแช่เพื่อให้สารสำคัญหรือตัวยาในสมุนไพรนั้นถูกสกัดออกมา โดยโรคและอาการที่นิยมใช้ยาดองรักษาส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มอาการปวดเมื่อย บำรุงกำลัง
ยาดองหมายถึง การแช่สมุนไพรในตัวทำละลาย โดยจะยังคงเห็นชิ้นส่วนของสมุนไพร
ยาหมัก หมายถึง การแช่สมุนไพรหรือน้ำต้มของสมุนไพรโดยอาศัยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์บางชนิดเป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของวัตถุดิบ โดยมีน้ำตาลเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์
แต่ในความเป็นจริง ยาดองและยาหมักก็มักใช้แทนหรือเรียกรวมๆ กันได้
ยาหมัก
ข้อดีของยาดอง-ยาหมัก
ข้อควรระวังในการใช้ยาดอง-ยาหมัก
เนื่องจากยาดองมีหลายประเภท การใช้จึงต้องใช้ด้วยความเข้าใจ หากใช้ไม่ถูกกับวัตถุประสงค์ ก็อาจจะเกิดผลเสียมากกว่าผลดี
การดองมี 6 รูปแบบด้วยกัน คือ
ยาดองเหล้า เป็นการนำเอาเหล้ามาเป็นตัวสกัดเอาตัวยาในสมุนไพรออกมา ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ ผู้ที่แพ้แอลกอฮอล์ หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่ให้นมบุตร
ยาดองแป้งข้าวหมาก เป็นการนำเอาสมุนไพรมาดองกับแป้งข้าวหมาก หรือ ลูกข้าวหมาก สำหรับสมุนไพรที่นิยมนำมาดองจะเป็นสมุนไพรที่มีน้ำตาลมาก ทั้งนี้แป้งข้าวหมากยังจัดเป็นอาหารกลุ่มโพรไบโอติก ซึ่งดีต่อระบบทางเดินอาหาร
การดองเปรี้ยว คือ การดองโดยใช้สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวใส่ในตำรับ มีฤทธิ์กระตุ้นเชื้อแบคทีเรียได้ดี ทำให้ยาไม่เสียง่าย และยังมีฤทธิ์สกัดตัวยาได้ด้วย
การดองน้ำผึ้ง เป็นการดองโดยใช้ความเข้มข้นน้ำตาลสูงและน้ำผึ้งยังถือเป็นโอสถทิพย์ที่มีการใช้มาแต่โบราณ เป็นยาที่ช่วยบำรุงร่างกาย
การดองเกลือ หรือ ดองเค็ม เป็นการดองหรือหมักโดยใช้เกลือเป็นตัวสกัดสารหรือตัวยา
การดองน้ำมูตรหรือปัสสาวะ มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฏกว่าให้พระภิกษุฉันยาดองน้ำมูตรเพื่อรักษาอาการอาพาธ ซึ่งในปัสสาวะจะมีความเค็มและยูเรียเป็นองค์ประกอบ จะช่วยทำให้มีการปัสสาวะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการดองน้ำมูตรเน่าจึงมีฤทธิ์ในการขับปัสสาวะ ช่วยลดไข้และขับพิษต่าง ๆ สมุนไพรที่นำมาดองได้ เช่น มะขามป้อม สมอไทย
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เภสัชกรเชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมการผลิต หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า การดองสมุนไพรที่ง่ายสุดและทุกคนรู้จักก็คือดองเหล้า อาจจะใช้เหล้าขาวหรือเหล้าชนิดอื่นก็ได้ สำหรับสมุนไพรที่นำมา ดองจะต้องตากแดดให้แห้ง มิฉะนั้นอาจเน่าเสีย ส่วนใหญ่ยาดองเหล้าจะเป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ โดยใช้สมุนไพรที่เป็นแก่น ราก ซึ่งคนที่จะนำมาดองต้องรู้จักสมุนไพรด้วย ทั้งนี้ไม่ควรดื่มมากจนเกินไป ควรดื่มไม่เกินวันละก๊ง
ตัวอย่าง
ยาดองเหล้าสูตรอายุวัฒนะ
ประกอบด้วย ตำยาน (เถา) ข้าวเย็นเหนือ (หัว) เดื่อหอม (ราก)
สรรพคุณบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง รักษาโรคไม่สู้เมีย
วิธีทำ
ยาดองน้ำมะกรูด
ประกอบด้วย กำแพงเจ็ดชั้น 20 กรัม คำฝอย 45 กรัม เถาวัลย์เปรียง 20 กรัม โคคลาน 20 กรัม แห้วหมู 20 กรัม เปราะหอม 20 กรัม กระชาย 20 กรัม เกลือ 100 กรัม มะกรูด 33 ลูก น้ำสะอาด 3,600 มิลลิลิตร
สรรพคุณ บำรุงเลือด ฟอกเลือด เป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีทำ
วิธีการรับประทาน : รับประทานครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า – เย็น
บอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง
สรรพคุณบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ
วิธีทำ
วิธีรับประทาน นำยา 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำ 1 แก้ว ดื่มวันละ 2-3 ครั้งก่อนหรือหลังอาหาร จะผสมน้ำแข็งดื่มก็ได้ ดองครบ 3 เดือนแล้วสามารถเทน้ำผึ้งออกและเติมน้ำผึ้งเพื่อดองใหม่ โดยทำได้ 3 ครั้ง
ยาดองสมอ
สรรพคุณบำรุงร่างกาย แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ
วิธีทำ
ใช้สมอ 63 ลูกล้างให้สะอาดวางให้สะเด็ดน้ำทุบพอแตกหรือไม่ทุบก็ได้ ใส่ลงในโหลดอง เติมน้ำผึ้งประมาณ 2 ลิตร ลงไป ปิดฝาให้สนิทอย่าให้โดนแดด ทิ้งไว้อย่างน้อย 3 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปีก็ได้ รับประทานเช่นเดียวกันบอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง
ยาดองกล้วยน้ำว้า
สรรพคุณ บำรุงร่างกายได้ทุกระบบ โดยเฉพาะบำรุงกำหนัด รักษาโรคไม่สู้เมีย
วิธีทำ
ใช้กล้วยน้ำว้า 32 ลูก ปลอกเปลือกออก ใส่โหล เทน้ำผึ้งลงไป 2 ลิตร รับประทานเช่นเดียวกับบอระเพ็ดดองน้ำผึ้ง
ด้าน น.ส.เบญจวรรณ หมายมั่น แพทย์แผนไทยประยุกต์ กล่าวว่า ยาดองเหล้า มักจะใช้เหล้าขาว 40 ดีกรี ระยะเวลาดองอย่างน้อย 1 เดือน สมุนไพรที่นำมาดอง มักมีสรรพคุณบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย มีลักษณะเป็นเหง้า รากแก่น ยาดองแป้งข้าวหมาก ใช้เวลาหมักประมาณ 3 วัน ปกติจะมีลูกแป้งข้าวหมากอยู่แล้ว นำมาดองกับสมุนไพรต่าง ๆดองเปรี้ยว เช่น ยาดองน้ำมะกรูด สรรพคุณเน้นบำรุงเลือดลม แก้ประจำเดือนไม่ปกติ ใช้เวลาดองประมาณ 1 เดือน ดองน้ำผึ้ง สมุนไพรที่นำมาดอง เช่น มะขามป้อม กล้วย ยอ บอระเพ็ด อย่างกล้วยจะเหมาะกับผู้ชายเพราะเป็นยาบำรุงกำหนัด โดย ส่วนยอจะเหมาะกับสตรี แก้ปัญหาเลือดสม ดองเกลือ เป็นการใช้เกลือสกัดสารสมุนไพร เช่น เอายอฝังลงไปหมักในเกลือ ใช้เวลาดองอย่างน้อย 3-6 เดือน พอครบกำหนดเอาลูกยอที่ดองมากินทั้งลูกเลย
ที่มา ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร เภสัชกรเชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรมการผลิต หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
ภญ. ผกากรอง ขวัญข้าว กลุ่มงานเภสัชกรรม รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร จ.ปราจีนบุรี
ป้ายคำ : สุขภาพ, สุขภาพพึ่งตน