รัง ไม้หลักในป่าเต็งรัง

11 กรกฏาคม 2559 ไม้ยืนต้น 0

ไม้รังเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 1520 เมตร เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่องตามความยาวลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบหยักเว้า ดอกสีเหลืองออกเป็นช่อ กลิ่นหอมอ่อน เป็นไม้ที่ทนทานต่อความแห้งแล้งและไฟป่าได้ดีมาก พบมากตามป่าแดงหรือป่าเต็งรัง ทั่วไปทุกภาค ยกเว้นภาคใต้

ชื่อสามัญ Burmese sal, Ingyin
ชื่อวิทยาศาสตร์ Shorea siamensis Miq.
วงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น เปา เปาดอกแดง (ภาคเหนือ), รัง (ภาคกลาง), เรียง เรียงพนม (เขมร-สุรินทร์), ลักป้าว (ละว้า-เชียงใหม่), ฮัง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะ

  • ไม้รังเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงถึง ๒๐ เมตร เปลือกลำต้นสีเทา แตกเป็นร่องเป็นสะเด็ดหนา ๆ ไปตามยาวลำต้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ติดเรียงสลับ รูปไข่โคนใบหยกเว้าลึก ส่วนปลายใบค่อนข้างมน ใบอ่อนแตกใหม่เป็นสีแดง
  • ดอก เป็นช่อ ออกรวมกันเป็นพวงโตเหนือรอยแผลใบ ตามกิ่งและปลายกิ่ง ดอกย่อยสีเหลืองกลิ่นหอมอ่อนๆ จะออกหลังจากใบได้หลุดร่วงไปหมดแล้ว กลีบดอก มี ๕ กลีบ แทยงเวียนซ้อนกันเป็นรูปกังหัน หลายกลีบม้วนซ้อนเข้า ดอกจะหลุดร่วงง่ายมาก
  • ผล แข็ง รูปกระสวย หรือรูปไข่เล็ก ๆ ประกอบด้วยปีกสั้น ๒ ปีก ปีกยาวรูปใบพาย ๓ ปีก อาจยาวถึว ๑๐ ซม. โคนปีกห่อหุ้มตัวผล มีเส้นตามยาวของปีก ตั้งแต่ ๗ เส้น ขึ้นไป

rangbai rangdok rangton

ป่าเต็งรังเป็นป่าผลัดใบที่มีไม้วงศ์ยางบางชนิดเป็นไม้เด่น ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด โดยทั่วไปความหนาแน่นของต้นไม้ในป่าเต่งรังจะน้อยกว่าป่าเบญจพรรณ เพราะดินตื้นกักเก็บน้ำได้น้อย มีหินบนผิวดินมาก ก่อให้เกิดความแห้งแล้ง ป่าเต็งรังเป็นสังคมพืชเด่นของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดขึ้นที่ระดับความสูงประมาณ 50-1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีช่วงแห้งแล้งจัดเกิน 4 เดือนต่อปี ประกอบกับปริมาณน้ำฝนตกน้อยคือ 900-1,200 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น

ขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

rangkla

สภาพที่เหมาะสม ดินร่วนปนกรวดและดินทราย เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง
ถิ่นกำเนิด ป่าเบญจพรรณแล้ง ป่าแดงทั่วไป ทนแล้ง ทนไฟได้ดีมาก
ผลิตภัณฑ์ เครื่องมือทางการเกษตร ด้ามจอบ ด้ามมีดอีโต้ ด้ามเสียม คราด คันไถ
การใช้ประโยชน์ ขณะเป็นน้ำนำมาผสมกับน้ำมันยางชโลมตะกร้าไม้ไผ่อุดรอยรั่วเมื่อแห้งนำไปตัก น้ำได้ใบของรังเมื่อผุทับถมกันนาน ๆ ถึงฤดูฝนก็จะเป็นเชื้อเห็ดป่าที่สามารถนำมาประกอบอาหารได้ เปลือกสดเป็นยาสมุนไพร แก้อาการปวดท้อ ท้องร่วงเฉียบพลับ ท้องอืดท้องเฟ้อใช้เป็นยาระบายขับลมเปลือกแห้งทำเป็นเชื้อเพลิงได้ ควัน ระคายเคืองดวงตา

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene