ละมุดเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย ผลกลมรีเหมือนไข่ไก่สีน้ำตาล มีรสหวาน รับประทานเมื่อผลสุก หลังจากปอกเปลือกแล้ว เนื้อของละมุดจะมีสีน้ำตาลแดง ผลละมุดมีสารอาหารหลากหลาย และมีสรรพคุณใช้เป็นยาสมุนไพร ยางละมุดซึ่งมีสีขาวอยู่ทั่วทุกส่วนของลำต้น มีประโยชน์สำหรับนำไปใช้ทำหมากฝรั่ง
สรรพคุณทางยาสมุนไพรเปลือกต้นละมุดฝรั่งนำมาต้มเป็นยาแก้บิด ผลละมุดสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือเตรียมผลไม้ ยางจากละมุดดิบใช้เป็นยาถ่ายพยาธิอย่างแรง เมล็ดละมุดเป็นยาบำรุง คุณค่าทางโภชนาการและอาหาร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manilkara achras Fosberg
วงศ์ : Sapotaceae
ชื่อสามัญ : Spodilla
ชื่ออื่น : สวา
ลักษณะ
ละมุดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นพุ่มทึบ กิ่งก้าน แตกออกรอบลำต้นเป็นชั้น ๆ ใบ เป็นใบเดี่ยว ท้องใบมีสีน้ำตาลอมเขียว มักออกเป็นกระจุก ตามปลายกิ่ง ดอก ออกดอกเดี่ยว ตามง่ามกิ่ง กลีบรองดอกเรียงกัน เป็น 2 ชั้น กลีบดอกเชื่อมกันและยกตั้งขึ้น มี 6 กลีบ มีสีเหลืองนวล ผล เป็นรูปไข่ หรือรูปปลายข้างหนึ่งแหลมเล็กน้อย ผิวผลมีสีน้ำตาล ผลยังไม่สุกมียางสีขาว รสฝาด แข็ง เมื่อสุกจะนิ่ม หวาน ไม่มียาง มีเมล็ดรูปยาว รี ผิวสีดำฝังอยู่ในเนื้อ ผลละ 2-6 เมล็ด
ละมุดมีชื่อสามัญเรียกว่า Sapodilla และมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Achras Zapota Linn อยู่ในวงศ์ Sapotaceae ละมุดเป็นผลไม้ที่มีรสหวาน กลิ่นหอมอร่อยมาก ใช้รับประทานเป็นของหวานหรือของว่าง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ละมุดเป็นผลไม้ที่โตเร็วและให้ผลเร็ว และให้ผลทุกๆ ปี เป็นไม้ผลที่ไม่ผลัดใบและออกดอกออกผลอยู่ตลอดปี และเป็นไม้ผลที่ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิดไม่ว่าเป็นดินทราย ดินเหนียวหรือดินลูกรังผุๆ ก็ตามจะเจริญเติบโตเร็ว ให้ผลแน่นอน ทั้งการปฏิบัติบำรุงรักษา ก็ไม่สู้จะลำบากยากเย็นอะไรเหมือนกับผลไม้อื่นๆ เช่น เงาะ ทุเรียน ลางสาด ส้มต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น ละมุดยิ่งแก่จะให้ผลดกมากยิ่งขึ้น ละมุดในประเทศไทยมีอยู่ 2 อย่างคือ
1. ละมุดไทยหรือละมุดสีดา เป็นพันธุ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยมานานแล้ว เป็นไม้ผลที่มีทรงพุ่มไม่ทึบ และใบมีลักษณะโคนเรียว ปลายใบมน ท้องใบมีสีขาวเหลือบ มีผลเล็ก ผลมีสีน้ำตาลปนแดง ใบเป็นมัน ลักษณะผลคล้ายๆ กับมะเขือเทศสีดา ในปัจจุบันนี้ ไม่ใคร่มีใครนิยมปลูกกันมากนัก จึงรู้สึกว่าไม่ใคร่มีจำหน่ายในท้องตลาด
2. ละมุดฝรั่ง คำว่าละมุดฝรั่งนี้ส่วนมากมักจะไม่ใคร่ได้ยินหรือเรียกกัน จะได้ยินกันก็แต่ว่า ละมุด เฉยๆ เท่านั้น แต่ความจริงแล้วละมุดมีชื่อเรียกเต็มว่า ละมุดฝรั่ง เพราะฉะนั้นคำว่าละมุดหรือละมุดฝรั่ง จึงเป็นผลไม้อย่างเดียวกัน ขอท่านนักเกษตรกรพึงเข้าใจตามนี้ด้วย ละมุดฝรั่งนี้เป็นละมุดที่กสิกรนิยมปลูกกันมาก เพราะเป็นพืชที่เป็นสินค้าชั้นนำอยู่พืชหนึ่งเหมือนกัน ละมุดนี้เท่าที่ทราบและมีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 6 พันธุ์ด้วยกัน คือ พันธุ์ล่าลี พันธุ์สาลี่ พันธุ์ฝาชี พันธุ์กระสวย พันธุ์ไข่ห่าน และพันธุ์มะกอก ส่วนพันธุ์กระสวยนั้นมีรสและคุณภาพเหมือนพันธุ์มะกอก ผิดกันแต่ลักษณะของผลละมุดกระสวยนั้นหัวและท้ายของผลเรียวเท่านั้น แต่การติดผลของพันธุ์กระสวยนั้นติดผลห่าง ถ้าจะปลูกละมุดพันธุ์นี้เพื่อเป็นการค้าแล้ว จะได้ผลไม่คุ้ม จึงทำให้นิยมปลูกกันน้อย เว้นไว้แต่จะปลูกเพื่อเป็นของแปลกๆ บ้านละต้นสองต้นเท่านั้น
ในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
ถิ่นกำเนิดละมุด
ละมุดเป็นต้นไม้ผล ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตร้อน ได้แก่ประเทศเม็กซิโก อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก ซึ่งภายหลังก็ได้กระจายทั่วๆ ไปในเขตประเทศร้อน จนกระทั่งมาถึงประเทศไทย และไม่ทราบว่าเข้ามาในสมัยใด
ชนิดของพันธุ์
ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ละมุดมีประมาณ 6 พันธุ์ด้วยกัน และเท่าที่นิยมปลูกกันทั่วๆ ไป ก็มีอยู่เพียง 2 พันธุ์เท่านั้น คือ
1. ละมุดพันธุ์ไข่ห่าน มีลักษณะใบยาวรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวอ่อน ลักษณะและขนาดของผลใกล้เคียงกับไข่ห่าน เปลือกบาง เวลาสุกเนื้อค่อนข้างหยาบไม่แข็งกรอบ เนื้อสีน้ำตาลอ่อน รสหวานเย็น เป็นพันธุ์ที่ให้ผลไม่ดก
2. ละมุดพันธุ์มะกอก มีลักษณะยาวรี มีใบแคบกว่าพันธุ์ไข่ห่าน หลังใบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ผลเมื่อเล็กมีลักษณะกลม ต่อมาจึงค่อยๆ ยาวขึ้นเหมือนผลมะกอก เมื่อแก่จัดผิวของผลจะมีสีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีน้ำตาลอมแดง เนื้อในแข็งกรอบ รสหวานแหลม ละมุดพันธุ์นี้มีผู้นิยมปลูกเป็นอาชีพกันมาก เพราะนอกจากเนื้อกรอบหวานรสดีแล้ว ยังให้ผลดกอีกด้วย ในต่างประเทศมีละมุดหลายพันธุ์มากกว่าของประเทศไทยเรา ทั้งนี้เพราะสาเหตุจากการปลูกด้วยเมล็ดมักจะกลายพันธุ์ จึงทำให้มีลักษณะแตกต่างไปจากพันธุ์เดิม
การขยายพันธุ์
1. การเพาะเมล็ด (Seeding)
การขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ส่วนมากมีการทำไม่สู้มากนัก ทั้งนี้เพราะสาเหตุจากการเพาะเมล็ดทำให้กลายพันธุ์ได้ และส่วนมากที่กลายพันธุ์มักจะกลายไปในทางที่เลวมากกว่าในทางที่ดี แต่ถึงกระนั้นก็ตาม
ก็ยังมีผู้กระทำการเพาะละมุดปลูกอยู่อีกเป็นจำนวนมากเหมือนกัน ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุต่างๆ ดังต่อไปนี้
การเพาะเมล็ดตามธรรมดาละมุดเป็นพืชที่มีเปลือกของเมล็ดแข็ง ถ้าเพาะทั้งเปลือกแล้วต้องใช้เวลานานกว่าจะงอก ควรจะใช้กรรไกรหรือมีดคมๆ ตัดตอนปลายของเมล็ดออกเสียเล็กน้อยพอให้ความชุ่มชื้นซึมเข้าไปได้จะทำให้งอกเร็วขึ้น การเพาะเมล็ดอย่างธรรมดาจะราวๆ ประมาณ 30-40 วัน แต่ถ้าตัดปลายเมล็ดแล้ว เมล็ดละมุดจะงอกเร็วขึ้น ซึ่งจะใช้เวลาเพียง 15-25 วัน วิธีเพาะควรทำกะบะเพาะ กะบะเพาะจะใช้กว้าง 1 เมตร ยาว 4 เมตร แล้วบรรจุทรายหรือขี้เถ้าแกลบลงให้เต็ม การใช้ขี้เถ้าแกลบควรใช้ขี้เถ้าแกลบค้างปี แต่ถ้าขี้เถ้าแกลบเก่าๆ ไม่มีจะใช้ขี้เถ้าแกลบใหม่ก็ได้ แต่ก่อนใช้ต้องเอาน้ำรดขี้เถ้าเสียก่อน จะทำให้ความเป็นด่างของขี้เถ้าน้อยลง หรือจับดูหยดน้ำใต้กะบะ ถ้าไม่มีเมือกลื่นติดมือก็ใช้ได้ แล้ววางเมล็ดละมุดที่เตรียมไว้ให้เป็นแถวตามความยาวของกะบะให้ห่างกันประมาณ 10-15 ซ.ม. ระหว่างเมล็ดและระหว่างแถว จนเต็มกะบะเพาะ กลบเมล็ดพอมิด แล้วรดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอจนเมื่อละมุดงอกมาแล้ว ควรฉีดยาป้องกันโรคและแมลงไว้ พอมีใบจริง 2 คู่ ควรย้ายไปชำในที่อื่นเสียใหม่ เพื่อให้ต้นละมุดเจริญเติบโตต่อไป ภาชนะที่จะย้ายละมุดไปชำนั้นควรเป็น กระถางหม้อ หรือถุงพลาสติคอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้ แล้วผสมดิน 3 ส่วน ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 2 ส่วน ผสมดินและปุ๋ยนี้ใส่กระถางหม้อ หรือถุงพลาสติคเพื่อชำละมุดต่อไป ถ้าจะใช้ถุงพลาสติคควรจะเจาะรูให้น้ำไหลทางก้นถุงได้ เมื่อชำเสร็จแล้ว ควรนำภาชนะที่ชำไปวางไว้ในที่ร่มในแปลงเพาะ อย่าวางไว้กับดินเฉยๆ เพราะรากละมุดอาจไชลงไปในดินได้ ควรวางไว้บนกระดาน อิฐ หรือพื้นซีเมนต์ หรือใช้ผ้าพลาสติกปูลงบนพื้นดิน แล้วจึงวางถุงต้นไม้ลงบนผ้าพลาสติค จะทำให้รากของละมุดไชลงไปในดินได้ พอต้นละมุดตั้งตัวได้ควรใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-13 ใส่ต้นละหยิบมือ โรยรอบๆ โคนต้นและควรใส่ทุกๆ เดือนได้ยิ่งดี ใส่ไปจนกว่าจะย้ายไปปลูกเพื่อเร่งให้ต้นเจริญเติบโตและควรฉีดยาดีลดริน 50% ชนิดละลายน้ำได้ หรือคาบาริล 85% อย่างใดอย่างหนึ่ง 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดป้องกันแมลงที่จะมาทำลายใบเสีย อนึ่งต้นกล้าที่อยู่ในกะบะเพาะก็ดีหรืออยู่ในที่ชำก็ดีมักมีเชื้อราทำอันตราย ดังนั้นจึงควรใช้สารผสมคอปเปอร์อ๊อกซี่คลอไรด์ เช่นคูปราวิท 2-3 ช้อนแกงต่อน้ำ 1 ปี๊บ ฉีดกันไว้เสียก่อนที่โรคจะเกิดขึ้น เมื่อต้นกล้าที่ย้ายมาชำเจริญเติบโตและสูงประมาณ 50 ซม. ก็ย้ายไปปลูกได้ การย้ายไปปลูกใหม่ไม่ควรย้ายขณะที่ต้นกล้าแตกยอดอ่อน เพราะอาจทำให้ยอดอ่อนเหี่ยวและแห้งตายได้ ควรย้ายปลูกเมื่อต้นกล้าใบยอดเป็นเพสลาดแล้ว
2. การขยายพันธุ์ โดยการตอน
การขยายพันธุ์ โดยการตอน ชาวสวนส่วนมากรู้จักวิธีการตอนต้นไม้กันดีอยู่แล้วและชอบทำการขยายพันธุ์ไม้โดยวิธีนี้เป็นส่วนมาก เพราะ
เครื่องมือที่ใช้ในการตอนมีดังต่อไปนี้
ฤดูที่ควรตอน
ตามปกติแล้วการตอนกิ่งไม้ทุกชนิดจะตอนกันในฤดูฝนคือตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม เพราะในระยะนั้น ต้นไม้กำลังอยู่ในระยะที่กำลังเจริญเติบโตมีความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องเสียเวลาเสียแรงงานรดน้ำให้กับกิ่งตอน
ต้นที่จะทำการตอน
การตอนกิ่งละมุดนั้นก่อนจะตอน ต้องมีการคัดเลือกกันเสียก่อน เพราะต้นแม่พันธุ์เป็นของสำคัญ ถ้าต้นแม่พันธุ์ไม่เจริญเติบโตแข็งแรง รสไม่ดี ผลไม่ดกแล้ว ก็ไม่ควรตอนเพราะจะได้พันธุ์ไม่ดีไปปลูก ฉะนั้นก่อนตอนควรถือหลักในการคัดเลือกต้นแม่พันธุ์ ดังนี้
การเลือกกิ่งที่จะตอน
การเลือกกิ่งที่จะตอนนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากเหมือนกัน แต่ส่วนมากชาวสวนมักไม่ค่อยคำนึงถึงกัน สักแต่ว่ามีกิ่งใดที่พอจะตอนได้ก็ตอนหมด ซึ่งยังไม่ถูกต้อง เพราะเหตุว่าต้นไม้แต่ละต้นมีกิ่งที่มีความเจริญเติบโตสมบูรณ์ไม่เท่ากัน บางกิ่งก็แข็งแรงดี บางกิ่งก็แคระแกรนอ่อนแอ บางกิ่งก็แก่เกินไป และบางกิ่งก็อ่อนเกินไป ฉะนั้นควรจะเลือกกิ่งตอนดังนี้คือ
การขวั้นกิ่ง
การขวั้นกิ่งหรือการตอนกิ่งนั้น สำหรับละมุดชาวสวนมักจะขวั้นตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ หรือเดือนสาม เมื่อขวั้นแล้วปล่อยทิ้งไว้ มาหุ้มกิ่งในต้นเดือนพฤษภาคม การขวั้นนั้นให้ขวั้นใต้ข้อของกิ่งเสียก่อนแล้วจึงค่อยมาขวั้นส่วนล่างรอยขวั้นห่างกันเท่ากับความยาวของเส้นรอบวงของกิ่งที่จะขวั้นกรีดตามยาวของกิ่ง จากรอยขวั้นข้างบนถึงรอยขวั้นข้างล่างแล้วลอกเปลือกตรงรอยขวั้นออก ถ้าลอกเปลือกได้ง่าย รากจะงอกเร็วกว่าที่ลอกเปลือกออกยาก ใช้สันมีดขูดเยื่อทางเดินอาหารออกให้หมด เพื่อป้องกันมิให้ทางเดินอาหารมาประสานกันได้ ถ้ามีโอกาสส่งอาหารได้แล้วรากจะไม่งอก
การหุ้มดิน
การหุ้มดินนั้นหุ้มให้ปิดรอยที่ขวั้นตอนบน ส่วนตอนล่างจะไม่ปิดก็ไม่เป็นไร บีบดินให้แน่นติดกับกิ่ง ระวังกิ่งจะหัก แล้วหุ้มกาบมะพร้าวกับดินอีกที ให้กาบมะพร้าวยาวเกินกว่าที่ดินหุ้ม แล้วมัดหัวท้ายของกาบมะพร้าวด้วยตอกให้แน่น ให้กาบมะพร้าวแน่นติดกับดิน อย่าให้ดินที่หุ้มกิ่งนั้นคลอนหลวมตัวได้ ใช้ใบตองแห้งที่เตรียมเอาไว้หุ้มอีกทีหนึ่งแล้วเอาตอกมัดให้แน่น ถ้ากิ่งตอนเอนควรจะเปิดใบตองแห้งด้านบนให้รับน้ำฝนได้ จะช่วยให้ได้รับความชุ่มชื้นขึ้นได้มากขึ้น การหุ้มกิ่ง โดยใช้ผ้าพลาสติคหุ้ม และใช้ผงมะพร้าวแทนดินก็ทำวิธีเดียวกันคือ เอาพลาสติคที่ตัดไว้หุ้มกิ่งตอนเป็นรูปกรวยกลมๆ แล้วมัดด้วยเชือกตอนล่างของกรวยพลาสติคเสร็จแล้วเอาผงมะพร้าวที่แช่น้ำไว้มายัดใส่ลงบนกรวยให้แน่นแล้วมัดตอนบนอีกที ด้วยเชือกอะไรก็ได้
การปฏิบัติบำรุงรักษากิ่งตอน
เมื่อหุ้มกิ่งตอนแล้ว ถ้าฝนหยุดตก 5-6 วันควรจะรดน้ำที่กิ่งตอนนั้นให้ชุ่มชื้น หลังจากนั้นต้องหมั่นคอยดูมดและปลวกมักจะชอบไปทำรังอยู่ในตุ้มโดยเฉพาะในฤดูฝน ถ้าปรากฎว่ามีมดหรือปลวกให้รีบกำจัดเสีย โดยใช้ยาดีลดริน 50% 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำหนึ่งปี๊บ พ่นที่ตุ้มกิ่งตอนนั้น หากตุ้มชำรุดควรรีบทำการซ่อมแซมเสียใหม่
การตัดกิ่ง
เป็นการยากที่จะบอกให้แน่ชัดลงไปว่า กิ่งตอนจะออกรากและตัดออกจากต้นได้เมื่อไร โดยปกติแล้ว กิ่งตอนจะรีบออกรากประมาณตั้งแต่ 1-3 เดือน แล้วแต่ชนิดของต้นไม้แต่ก็มีข้อสังเกตได้ว่า จะตัดกิ่งตอนได้เมื่อไร คือถ้ากิ่งตอนออกรากเป็นสีน้ำตาลยังตัดไม่ได้ จะตัดได้ต่อเมื่อรากสีน้ำตาลนั้นแตกรากสีขาวเป็นฝอยออกมาอีก จึงจะตัดได้ เพราะรากสีขาวหรือรากฝอยนั้นเป็นรากที่ดูดอาหาร การตัดกิ่งเอาไปปลูกหรือชำนั้น ควรตัดในตอนเย็น เพราะเป็นระยะที่ใบหยุดการคายน้ำ กิ่งจะไม่เหี่ยวหรือเฉาได้ง่าย การตัดควรใช้กรรไกรตัดกันการชอกช้ำ เมื่อตัดกิ่งตอนออกจากกันแล้ว ควรตัดกิ่งและใบที่มีมากเกินไปออกเสียบ้าง เพื่อป้องกันน้ำระเหยออกจากกิ่งและใบ ก่อนที่จะนำไปปลูกหรือชำก็ตาม ควรแช่กิ่งตอนไว้ในน้ำท่วมตุ้มไว้สักประมาณ 1-5 ชั่วโมงจึงแก้มัดใบตองออก แล้วนำไปปลูกหรือชำต่อไป
เฉพาะละมุดนั้นควรชำให้รากงอกและขยายตัวเสียก่อนจะดีกว่าตัดมาแล้วปลูกเลย การชำควรชำไว้สักประมาณ 1-2 เดือน เมื่อรากเดินดีและตั้งตัวได้แล้ว ข้อสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การตัดกิ่งตอนอย่าตัดขณะที่กำลังแตกยอดอ่อน เพราะถ้าตัดกิ่งตอนระยะนั้นเมื่อนำมาชำ จะทำให้ยอดที่กำลังแตกยอดอ่อนจะเหี่ยวและอาจตายได้ การชำใส่ดินให้มิดตุ้มกิ่งตอนก็พอแล้ว อย่าใส่ดินให้สูงกว่าตุ้มเพราะจะทำให้เป็นโรคโคนเน่าในโอกาสต่อไป เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วถึงวิธีการตอนละมุด จะเห็นได้ว่าการตอนละมุดไม่เป็นของยากเลย เว้นเสียแต่ต้องใช้เวลานานกว่าการตอนไม้ผลชนิดอื่นๆ และกิ่งตอนต้องไม่แก่และอ่อนเกินไป ส่วนใดที่มีพันธุ์ละมุดเป็นพันธุ์ดีอยู่แล้ว สามารถตอนได้เองจะเป็นการทุ่นการลงทุนไปได้ ทั้งยังได้พันธุ์ดีตามที่ต้องการอีกด้วย
3. การขยายพันธุ์โดยการตัดตา
การขยายพันธุ์ โดยวิธีนี้ยังไม่มีใครเคยทำการขยายเลยในประเทศไทย เพราะคนไทยนิยมการตอนเสียมากกว่า แต่การตัดตานั้นก็เหมือนวิธีการตัดตาทั่วๆ ไปนั่นเอง แต่ข้อสำคัญต้นตอพันธุ์ที่จะใช้ในการตัดตาได้นั้น คือละมุดสีดาพิกุล และเกตุ เพราะฉะนั้นควรเพาะเมล็ดละมุดสีดา เมล็ดพิกุล และเมล็ดเกตุ เพื่อเลี้ยงเป็นต้นตอ พอต้นโตขนาดแท่งดินสอดำ ก็ใช้ตัดตาได้ ส่วนการให้ผลนั้นจะเป็นอย่างไรนั้นไม่ทราบ เพราะยังไม่ได้ทำการทดลอง
วิธีปลูกละมุด
ตามธรรมดาละมุดจะตัดชำได้ก็ประมาณ 45-60 วัน หลังจากหุ้มกิ่งตอนแล้ว ถ้าลงมือหุ้มกิ่งตอนปลายเดือน 5 (เมษายน) ก็จะออกรากประมาณกลางเดือน 7 (กรกฎาคม) แล้วชำอีก 1 เดือน เวลาประมาณกลางเดือน 8 จึงจะปลูกได้ ก่อนปลูกควรกะระยะหลุมปลูกเสียก่อน ละมุดควรปลูกระยะห่างกัน 88 เมตร หรือประมาณไร่ละ 25 ต้น หลุมปลูกควรกว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร และลึก 1 เมตร ก้นหลุมควรใส่หญ้าแห้งรองก้นหลุมไว้ เสร็จแล้วเอาดินปั้นใส่ลงไปก่อน ส่วนดินล่างให้ผสมปุ๋ยคอก 1 ส่วน ใส่ให้เต็มหลุมและให้สูงขึ้นจากปากหลุมประมาณ 25 ซม. เพื่อกันดินยุบ ขณะที่หญ้าแห้งยุบลง ดินจะยุบลงเหลือแค่ปากหลุมพอดี
เมื่อได้เตรียมหลุม ไว้สำหรับปลูกกิ่งตอนชำต่อไปกิ่งตอนชำที่จะนำมาปลูกนั้นถ้าชำในหม้อ กระถาง หรือถุงพลาสติค ก็ควรเอาต้นละมุดออกเสียจากภาชนะที่ใช้ชำเสียก่อน โดยพยายามให้ดินติดกิ่งตอนให้มากๆ แล้วเอาต้นละมุดที่ชำไว้วางลงในหลุมที่ขุดไว้ ตั้งให้ต้นตรง เมื่อกลบดินแล้วกะให้ดินเสมอกับตุ้มของกิ่งตอน การกลบดินควรใช้ดินละเอียดกลบรากให้แน่น เพื่อให้รากจับดิน รากจะได้หาอาหารได้เร็วเสร็จแล้วปักหลักให้ชิดกับลำต้น ให้หลักหยั่งลงไปในดินแล้วผูกกิ่งตอนให้ติดกับหลัก 2 เปลาะ เพื่อกันลมโยก ควรทำที่บังลมให้ด้วย เพราะการทำเพิงกันแสงแดดให้ต้นละมุดจะทำให้ต้นละมุดตั้งตัวและเจริญเติบโตได้รวดเร็ว แล้วรดน้ำให้ชุ่ม ถ้าดินยุบควรกลบดินเสียให้เต็มอย่างเก่า ระยะที่รากเริ่มเจริญละมุดจะแตกใบอ่อน ระยะนี้ควรฉีดยาดีลดริน 50% หรือเซริน 85% โดยใช้ยาดังกล่าวแล้ว 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 2 ปี๊บฉีด เพื่อป้องกันแมลงที่จะมาทำลายใบและยอดอ่อนของละมุดในระหว่างที่ละมุดยังไม่ได้ให้ผลนี้ จะปลูกพืชล้มลุกจำพวกแตงโม ถั่วต่างๆ พริก มะเขือ แซมระหว่างแถวก็ได้ เพื่อหารายได้มาจุนเจือขณะละมุดไม่ให้ผล หรือจะปลูกกล้วยน้ำว่าแซมก็ได้ ถ้าจะปลูกกล้วยแซมควรแซมให้ห่างจากต้นละมุดประมาณ 1.50 ม. กล้วยนี้จะใช้แซมเพียง 2 ปี แล้วก็ต้องเอาออกเสียให้หมด เพื่อให้ละมุดเจริญเติบโตต่อไป ในระหว่างปลูกพืชแซมอยู่นี้ละมุดก็จะแตกกิ่งก้านสาขา บางครั้งกิ่งล่างทึบไปก็ต้องตัดทิ้งเสียบ้าง ควรตัดกิ่งเตี้ยๆ ที่อยู่กับพื้นดินออกให้หมด ให้กิ่งที่เหลืออยู่ห่างจากพื้นดินประมาณ 70 เซ็นติเมตร เพื่อให้โคนต้นโปร่ง กิ่งข้างบนจะได้เจริญอย่างรวดเร็ว เพราะไม่ถูกแย่งอาหาร ในปีหนึ่งๆ ควรใส่ปุ๋ย 2 ครั้ง โดยใช้ปุ๋ยคอก ถ้าต้นยังเล็กอยู่และยังไม่ได้ผลควรใส่ต้นฤดูฝน 1 ครั้ง และติดผลแล้วขนาดหัวแม่มืออีกครั้งหนึ่ง จำนวนปุ๋ยใส่ก็ใช้ครึ่งหนึ่งของจำนวนปุ๋ยที่ได้ใส่ 1 ปี โดยใส่ปีแรกครึ่งกิโลกรัม ปีที่ 2 หนึ่งกิโลกรัม ปีที่ 3 สองกิโลกรัม ปีที่ 4-5 เพิ่มขึ้นอีกปีละหนึ่งกิโลกรัม การใส่ปุ๋ยมีวิธีคือ ใส่ได้หลายวิธีด้วยกัน โดยการพรวนให้รอบๆ ปลายทรงพุ่มแล้วโรยปุ๋ย เมื่อโรยปุ๋ยแล้วพรวนกลบอีกทีหนึ่ง หรือจะทุบเป็นร่องรอบๆ นอกทรงพุ่มของต้นละมุดแล้วโรยปุ๋ยลงไปในร่องแล้วกลบทับ ส่วนปุ๋ยคอกที่ใช้ผสมในปีแรกควรใส่ 1 บุ้งกี๋ ปีต่อๆ ไปควรใส่ 2 บุ้งกี๋ และทวีขึ้นเรื่อย ๆ ปีละ 1 บุ้งกี๋ ถ้าเป็นสวนยกร่อง ควรยกร่องปลูกให้กว้าง 6 เมตร และให้หลังร่องสูงกว่าระดับน้ำในร่องประมาณ 75 เซ็นติเมตรและควรปลูกละมุดกลางร่องห่างกัน 8 เมตร การปลูกพืชแซมก็คงทำอย่างเดียวกัน เว้นไว้เสียแต่การยกร่อง ควรสาดเลนขึ้นหลังร่องทุกๆ ปี เพื่อให้เป็นปุ๋ย แต่อย่าให้เลนนั้นทับต้นละมุดได้ การปลูกพืชแซมควรทำเพียง 2 ปีเท่านั้น เพราะระยะต่อไปละมุดจะเจริญเติบโตแตกพุ่มเริ่มจะตกผลแล้ว และไม่ควรขุดดินเข้ามาในทรงพุ่มเลย เพราะจะทำให้รากละมุดและทำให้ต้นละมุดชะงักงันไปได้ เพียงแต่ถางหญ้าที่มีอยู่ในทรงพุ่ม ส่วนนอกทรงพุ่มนั้น ควรพรวนดินทุกปี เพราะจะทำให้รากสามารถออกไปหาอาหารได้ไกลๆ ขึ้นอีก
แมลงศัตรูละมุดและการป้องกันกำจัด
แมลงที่จะทำอันตรายต้นละมุด มีอยู่เพียง 4-5 ชนิดด้วยกัน คือ
นอกจากศัตรูดังกล่าวแล้วยังมีศัตรูจำพวกกระรอก กระแต ค้างคาว นกต่างๆ คอยกัดกินจิกผลที่กำลังสุก การป้องกันใช้ปี๊บผูกติดไว้ในที่สูงๆ ทำลูกตุ้มไว้ในปี๊บเวลามีศัตรูจำพวกดังกล่าวแล้วเข้ามารบกวน ก็ดึงลูกตุ้มให้ถูกปี๊บมีเสียงดัง มันก็จะตกใจและหนีไปได้
การบังคับ
ละมุดแม้จะทนต่อความแห้งแล้งก็ตาม แต่ในฤดูแล้งบางปี น้ำในดินไม่เพียงพอ ก็กระทบกระเทือนความเจริญเติบโตและการออกดอกออกผลเหมือนกัน ฉะนั้น ควรหาน้ำมารดให้ความชุ่มชื้นไว้เสมอ และควรหาหญ้าฟางมาช่วยคลุมดินโคนต้น เพื่อช่วยสงวนความชุ่มชื้นไว้ด้วย ละมุดจึงเจริญเติบโตโดยไม่ชะงักงันจะออกดอกออกผลเร็วกว่า ที่จะปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ และยิ่งระหว่างที่ละมุดติดผลแล้ว ยิ่งจำเป็นที่จะให้ดินมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ผลละมุดจะเจริญเติบโตมีรสหวาน ถ้าเป็นสวนยกร่องในฤดูแล้งบางแห่งน้ำเค็มท่วมถึง เพื่อสะดวกที่จะใช้น้ำควรสูบน้ำเข้าร่องสวนไว้เสียให้เพียงพอก่อน แล้วปิดร่องกักน้ำไว้ใช้ในระยะที่มีน้ำท่วมถึง น้ำที่กักไว้นี้จะทำให้ดินบนหลังร่องชุ่มชื้นขึ้นเอง แม้จะรดน้ำไม่พอบ้างก็ตาม น้ำในร่องก็เข้าไปบนร่อง ทำให้เกิดความชุ่มชื้นในดินขึ้นเอง
การตัดแต่งกิ่ง
การตัดแต่งกิ่งนี้เริ่มทำได้ตั้งแต่กิ่งละมุดยังเล็กอยู่คือ ตัดกิ่งที่ไม่ได้รูปทรงออกเสียบ้าง และให้กิ่งล่างอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 18 นิ้ว เมื่อต้นโตขึ้นต้องหมั่นคอยตรวจดู ว่าถ้ามีกิ่งแซมกิ่งเบียด กิ่งที่ทำให้ทรงพุ่มทึบ ก็ตัดออกเสียบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้แสงแดดส่องผ่านต้น และพื้นดินได้ตลอด เพื่อป้องกันมิให้เกิดโรคราขึ้นได้ และยิ่งกว่านั้นการตัดแต่งกิ่ง นอกจากจะทำให้ต้นโปร่งไม่เป็นที่อาศัยของแมลงแล้ว ยังทำให้ต้นละมุดหักโค่นได้น้อยลง เพราะลมสามารถพัดผ่านไปได้ การตัดแต่งกิ่งควรให้ชิดโคนกิ่ง หรือถ้าตัดกิ่งตอนปลายเพื่อให้แตกกิ่งใหม่ ควรตัดฝานบวบ เพื่อป้องกันน้ำเข้าไป ใช้ปูนแดงหรือสีทาบ้านป้ายรอยตัดไว้ เพื่อกันเชื้อโรคเข้าทางแผลการตัดแต่งกิ่งเสร็จแล้วจะต้องใช้ปุ๋ยและฉีดยาป้องกันโรคและแมลงไว้ทุกๆ ครั้ง
การออกผลของละมุด
ละมุดจะเริ่มให้ผลตั้งแต่ปีที่ 3 และจะทยอยออกตลอดปี รุ่นแรกจะออกดอกเดือนธันวาคม เก็บผลได้ในเดือนมิถุนายน ทยอยกันตลอดปี
การให้ผลของละมุดจะทวีขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเจ้าของสวนเอาใจใส่ปฏิบัติบำรุงรักษาให้ดีแล้ว ละมุดจะมีอายุยืนไปถึง 70-80 ปี
การเก็บผลละมุด
การเก็บผลละมุดเป็นเรื่องสำคัญเหมือนกัน เพราะการที่จะทราบว่าผลไหนแก่หรือยังนั้นลำบาก เพราะละมุดอยู่สูงดูยากจะต้องใช้ความสังเกตและความชำนาญ ว่าจุดแหลมซึ่งเป็นยอดของเกษรตัวเมียที่ก้นนั้นหลุดไปแล้ว และมีผิวค่อนข้างเต่งและใสก็ให้ทำการเก็บได้แล้ว ถ้าผู้เก็บยังไม่ชำนาญพอ การเก็บครั้งแรกอาจมีการผิดพลาด การเก็บละมุดขณะเมื่อต้นยังต่ำหรือเตี้ยอยู่นั้นใช้เก็บด้วยมือ ทางที่ดีควรใช้กรรไกรตัด การตัดให้ตัดที่ก้านขั้ว เอาก้านไว้ยาวๆ หน่อย เพราะอาจจะทำให้น่ารับประทานขึ้น แต่พอต้นละมุดสูงขึ้นๆ ควรทำบรรไดสำหรับเก็บ เพราะสะดวกกว่าใช้ไม้หรือตะกร้าสอย ละมุดจะไม่ช้ำเมื่อเก็บผลมาใหม่ๆ จะมียางไหลที่ก้าน ควรจุ่มน้ำหรือล้างออกเสียทีหนึ่งก่อน
เมื่อเก็บผลมาแล้วควรคัดขนาดผล การคัดขนาดผลควรแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็ก และควรคัดผลที่ชอกช้ำและมีตำหนิออกทิ้งไป เมื่อคัดขนาดแล้วทำความสะอาดผิว การล้างใช้สวิงตาห่างๆ ใส่ละมุดลงไปให้เต็มแล้ว รอบปากสวิงให้อยู่ระดับผิวน้ำแล้วเขย่า ผลละมุดจะเสียดสีกันจะทำให้ขุยที่ติดอยู่ที่ผลหลุดไปจนทำให้ผิวสะอาดแล้วน้ำมาผึ่งให้เสด็จน้ำเอามาทำการย้อมสีต่อไป
การย้อมสีละมุด
ละมุดที่ได้ทำการล้างน้ำจนผิวสะอาดดีแล้ว นำมาย้อมสีเพื่อทำให้สวนงามน่ารับประทานยิ่งขึ้น การย้อมสีแบ่งออกเป็น 2 อย่างด้วยกัน คือ
การบ่มละมุด
การบ่มละมุดก็คือการอบทำให้ละมุดสุก และเพื่อให้ยางที่เปลือกผลผิวหมดไปด้วย ผลละมุดที่บ่มสุกแล้วจะมีรสหวานไม่ฝาด การบ่มนั้นจะใช้ภาชนะอะไรก็ได้ที่หาได้ง่ายๆ แล้วใส่ละมุดลงไปให้เต็ม เว้นช่องว่างไว้เล็กน้อย แล้วจึงใช้กระสอบปิดให้มิดชิด ถ้าเป็นหน้าร้อนการบ่มเพียง 2 คืน ก็ใช้ได้ บางแห่งนิยมใช้จุดธูป เพื่อเพิ่มอุณหภูมิให้ร้อนขึ้น และเร่งทำให้ละมุดสุก มีสีสวยเร็วขึ้น ถ้ามีละมุดเป็นจำนวนมากอาจดัดแปลงที่บ่มเป็นห้องก็ได้ โดยทำให้มิดชิด อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วทำเป็นชั้นสำหรับวางละมุดไว้เป็นชั้นๆ และอาจจะต้องมีการรมควันด้วย เพื่อทำให้อากาศภายในห้องอบอุ่น ละมุดจะได้สุกตามกำหนด ละมุดต้นหนึ่งๆ จะให้ผลเก็บที่ประมาณต้นละ 2,000-3,000 ผล ทั้งนี้ต้องประกอบด้วย
จะเห็นได้ว่าละมุด 1 ต้น เมื่อได้ผลเต็มที่แล้วจะได้ประมาณ 2,000-3,000 ผล ถ้ามีละมุดเพียง 25 ต้น เท่ากับเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ จะได้ละมุด 50,000-75,000 ผล ถ้าคิดมูลค่าผลละ 10 สตางค์ จะได้เงิน 5,000-7,500 บาท ต่อไร่ ซึ่งนับว่าเป็นรายได้ที่น่าภูมิใจมิใช่น้อยทีเดียว ฉะนั้นเกษตรกร ควรจะให้ความสนใจบ้าง อย่าได้มองข้ามละมุดไปเสีย
ป้ายคำ : ผลไม้