ลำดวน ไม้ยืนต้นดอกกลิ่นหอมเย็น

17 เมษายน 2558 ไม้ยืนต้น 0

ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ดอกสีเหลืองมี 6 กลีบ กลิ่นหอมเย็น ออกดอกในช่วงเดือนธันวาคม มีนาคม พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดศรีษะเกษ เนื่องจากเมื่อแรกสร้างเมือง ศรีสะเกษมีนามเมืองว่า เมืองศรีนครลำดวน เมื่อรัฐบาลมีมติให้สร้างสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ขึ้น ใน จ. ศรีสะเกษ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในปี พ.ศ.2424 โดยสร้างขึ้นที่นี่เป็นที่แรก ประชาชนจึงพร้อมใจกันปลูกลำดวนกว่า 5,000 ต้นเพื่อร่วมเฉลิมพระกียรติด้วย

lamduan

ชื่อวิทยาศาสตร์ Melodorum fruticosum Lour.
วงศ์ Annonaceae
ชื่ออื่นๆ หอมนวล (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ยืนต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกสีเทา ผิวเรียบ ทรงพุ่มรูปกรวยคว่ำ และแน่นทึบ ลำต้นตรง แตกกิ่งใบ จำนวนมาก เมื่อลำต้นแก่เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมดำ มีรอยแตกตามแนวยาวลำต้น กิ่งอ่อนมีสีเขียวสด ยอดอ่อนและใบอ่อนมีสีแดง

  • ใบเดี่ยว เรียงแบบสลับ รูปไข่ หรือรูปขอบขนาน กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร มีสีเขียวเข้มเป็นมัน โคนใบและปลายใบแหลมหรือสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า ผิวใบเกลี้ยงทั้งสองด้าน เส้นกลางใบสีออกเหลืองนูนเด่นทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 0.5-0.7 เซนติเมตร
  • ดอกเดี่ยว หรือช่อกระจุก 2-3 ดอก ออกตามซอกใบ หรือปลายกิ่ง สีเหลืองนวล มีกลิ่นหอม รูปไข่ป้อมถึงรูปเกือบกลม โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กลีบดอก 6 กลีบ หนาแข็ง สีเขียวปนเหลือง มีขนนุ่ม แยกเป็น 2 วง ชั้นนอกมี 3 กลีบ แผ่แบน รูปสามเหลี่ยมมีขนาดใหญ่กว่ากลีบดอกวงใน โคนกลีบกว้าง ปลายกลีบแหลม กว้างราว 1 เซนติเมตร ยาวราว 1.2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในงุ้มเข้าหากันเป็นรูปโดม ขนาดเล็กกว่า แต่หนาและโค้งกว่า กว้างราว 0.6 เซนติเมตร ยาวราว 0.9 เซนติเมตร ดอกบานมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีขนาดเล็ก เกสรเพศผู้และรังไข่มีจำนวนมากอยู่บนฐานสั้นๆ รังไข่ ไม่มีขน กลีบเลี้ยง 3 กลีบ มีขนาดเล็ก รูปเกือบกลม ปลายกลีบมน เกลี้ยงหรือมีขนประปราย ก้านดอกยาว 2.5 เซนติเมตร
  • ผลกลุ่ม มีผลย่อย 15-20 ผล ก้านผลยาว ผลรูปทรงกลมรีสีเขียว ขนาด 6-8 มิลลิเมตร เมื่อแก่สีแดง และผลสุกมีสีน้ำเงินดำ ภายในมีเมล็ด 1-2 เมล็ด ผลรับประทานได้มีรสหวานอมเปรี้ยว พบตามป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม ติดผลราวเดือนมกราคมถึงมีนาคม

lamduanpoomlamduanbai lamduanking lamduanpondib lamduanponkae

สรรพคุณ
ยาสมุนไพรพื้นบ้านจังหวัดอุบลราชธานี ใช้ เนื้อไม้และดอกแห้ง ต้มน้ำดื่ม ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม วิงเวียน บำรุงโลหิต บำรุงกำลัง แก้ไข้
ตำรายาไทย ดอก มีกลิ่นหอม รสเย็น จัดอยู่ในพิกัดเกสรทั้ง 9 ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาหอม ดอกแห้ง เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ บำรุงโลหิต แก้ลม แก้ไข้

lamduandok

นิเวศวิทยา มีถิ่นกำเนิดในแถบอินโดจีน พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง ทางภาคตะวันออก และภาคกลางของ ประเทศไทย
ออกดอก ธันวาคม – มีนาคม
ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้ประดับ

การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง ต้นก้าจาการเพาะเมล็ดจะโตช้า แต่แข็งแรงและทนแล้งได้ดี ใช้เวลามากกว่า 5 ปีจึงจะออกดอก กิ่งตอนออกรากค่อนข้างยาก การตอนกิ่งควรตอนจากิ่งที่ปลายยอดหรือกิ่งที่เคยออกดอกแล้ว ในปีถัดมาก็จะออกดอกกิ่งตอนที่ตอน จากกิ่งกระโดงที่โคนต้นต้องใช้เวลา 2-3 ปีจึงจะออกดอก ต้นที่ขุดล้อมมาต้องใช้เวลานานเกือบปีจึงจะฟื้นตัว

lamduandoks lamduandang

ที่มา
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 85 ถ.สถลมาร์ค ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น