ต้นลำพู นอกจะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพระบบนิเวศ เป็นที่อยู่อาศัยของนกและหิ่งห้อย เป็นโรงงานผลิตออกซิเจนให้แก่โลกแล้ว ดอกลำพูยังเป็นของเล่นให้เด็ก ๆ อีกด้วย ต้นลำพู เป็นไม้ชายเลนและชายคลอง สามารถเติบโตได้ดีได้ในที่ทั้งสามน้ำ คือ น้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม
เป็นไม้พุ่ม มีใบมาก ใบสีเขียวบางเป็นมัน เจริญเติบโตได้ดีใน น้ำกร่อย จนถึงน้ำจืด มีรากอากาศหายใจขนาดใหญ่
ใช้แทนไม้ก๊อกเป็นจุกขวดและทุ่นลอยได้ ดอกสีขาวและสีชมพู มีกลิ่นหอมน้อย ๆ
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Sonneratia caseolaris (L.) Engler
ชื่อท้องถิ่น : ลำพู
วงศ์ : SONNERATIACEAE
ลักษณะ
ต้นลำพู เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปในดิน มีรากพิเศษออกตามลำต้น เป็นรากหายใจรูปคล้ายกรวยคว่ำ เรียวแหลมไปทางปลายราก ลำต้น ต้นตรงมีเนื้อไม้ ไม่ผลัดใบ กิ่งห้อยย้อยลง ต้นที่อายุน้อยเปลือกเรียบ แต่เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะหยาบ แตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ด ขึ้นในเขตป่าชายเลนค่อนข้างจืด หรือมีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยเป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่ม ตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก
ลักษณะเด่น ฐานกลีบดอกด้านในเป็นวงสีแดงเลือดนก มีจุดประขาวอยู่ในวงสีแดง โคนใบ หรือบริเวณกิ่งและก้านตรง ยอดอ่อนเป็นสีชมพู
ลำพูไม่มีรากแก้ว จะเกิดรากแผ่กระจายไปด้านข้างขนานกับผิวดินตื้นๆ และมีรากเล็กๆ แตกแขนงทางด้านล่างทำหน้าที่ยึดเกาะ และมีรากฝอยอีกชั้นทำหน้าที่ดูดซึมน้ำและสารอาหาร ลำพูยังมีรากพิเศษช่วยในการหายใจ ลักษณะรูปกรวยแหลมยาวแทงโผล่พื้นดินรอบโคนต้น มีความยาวประมาณ 10-50 ซม. ใหญ่และยาวกว่าไม้ชนิดอื่น รากหายใจ (pneumatophore) ของลำพูนี้เจริญได้รวดเร็ว และทนทานน้ำท่วมได้เป็นเวลานาน
นิเวศวิทยา ขึ้นในเขตป่าชายเลนที่น้ำกร่อยจนถึงน้ำค่อนข้างจืด หรือ มีช่วงระยะเวลาที่ระดับความเค็มของน้ำน้อยกว่า 10% เป็นเวลานาน มักขึ้นเป็นกลุ่มตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่เป็นดินเลนเหนียวและลึก
ออกดอกเดือนสิงหาคม – ธันวาคม และออกผลเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์
ประโยชน์
ไม้ลำพู ต้น ราก ใช้ทำจุกขวด ภาชนะปิดฝาโอ่ง ไห ที่มีคุณค่ามากมาก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นวัสดุอื่นแทน จึงทำให้ต้นลำพูหมดค่าขาดการดูแลขยายพันธุ์ ต้นลำพูยังป้องกันพื้นตลิ่ง กันน้ำเซาะได้ดี และดูดซึมน้ำเสียเป็นน้ำดีด้วย
ต้นลำพู เป็นไม้ที่ขึ้นตั้งแต่น้ำกร่อยจนถึงน้ำจืด เป็นพันธุ์ไม้ที่พบในป่าชายเลนริมน้ำ มักขึ้นปะปนกับแสม มีรากอากาศขนาดใหญ่และยาวกว่าชนิดอื่น ๆ บนต้นลำพูเป็นที่อยู่อาศัยของหิ่งห้อย
ผลสุก มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย มีกลิ่นหอมคล้ายกลิ่นเนย สามารถรับประทานได้ จะใช้จิ้มพริกเกลือหรือน้ำปลาหวานก็ได้ อร่อยมาก ผลห่ามเปรี้ยวจัดทำแกงส้ม หรือกวนทำซอส ดอกลวกพอช้ำรับประทานกับน้ำพริกหรือยำดอก “ลำพู” รสชาติเด็ดขาดจริง ๆ (อ้างอิง : นายเกษตร-ไทยรัฐ)
ผลแก่รับประทานได้ รสอมเปรี้ยว มีเมล็ดมาก เมื่อผลแก่หลุดจากขั้วจะลอยน้ำไป แพร่พันธุ์ได้อีก มีไม้สกุลเดียวกันที่คนมักจำสับสนกัน คือ ต้นลำแพน
ลำพูทะเลหรือลำแพน (ลำแพน ใบกลม, ลำพู ใบแหลม) มักขึ้นปะปนกับแสมทะเล พบมากบริเวณชายคลองชายฝั่งทะเลที่มีดินงอกใหม่
ประโยชน์ ผลสุกมีกลิ่นหอมและนิ่มรับประทานได้ รากหายใจ นำไปทำจุกไม้ก๊อกปิดขวด ทำเป็นทุ่นลอยในการประมง เนื้อไม้แข็งแรงทนทานใช้ประโยชน์มากมายหลายอย่าง
ป้ายคำ : ป่าชายเลน