ลิ้นจี่ เป็นไม้ผลอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบรับประทาน เนื่องจากมีรสชาติดี หวาน หอม สีสวย จึงทำให้เป็นที่ต้องการทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ นอกจากจะรับประทานสดแล้ว ยังแปรรูปเป็นลิ้นจี่บรรจุกระป๋องได้ด้วย ซึ่งสามารถส่งไปขายทั้งในและนอกประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท เป็นพืชที่ชอบดินร่วน ร่วนปนทราย ร่วนปนดินเหนียว หรือเป็นดินเหนียวก็ได้ ถ้าหากมีการจัดระบบน้ำดี ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ระหว่าง 5.0-7.0 ปริมาณน้ำฝน 1200-1400 มิลลิลิตรต่อปี ช่วงการเจริญเติบโต อุณหภูมิควรอยู่ระหว่าง 15-20 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ชอบความชื้นสูงในช่วงระยะติดผล
ลิ้นจี่ (Lychee)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Litchi chinensis Sonn.
วงค์: SAPINDACEAE
ลิ้นจี่ มีต้นกำเนิดในประเทศจีนตอนใต้ และมีการปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศไทยแถบภาคเหนือ เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดียตอนเหนือ บังคลาเทศ อเมริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา
เนื้อลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามิน และเกลือแร่ เช่น วิตามินบี 1, วิตามินบี 2 ไนอะซีน, วิตามินเอ, วิตามินซี, วิตามินบี 6, วิตามินอี, โปแตสเซียม, ทองแดง, สังกะสี, ฟอสฟอรัส, ซีลีเนียม, โฟเลต และมีเส้นใยอาหารสูง
ลักษณะพันธุ์
ลิ้นจี่พบในประเทศไทยมี 2 สายพันธุ์โดยแบ่งตามพื้นที่การปลูก ดังนี้
นอกจากนี้ ลิ้นจี่ยังมีกรดอะมิโนที่เป็นโครงสร้างของโปรตีนได้แก่ ไทโรซีน, แอสปาราจีน, อะลานีน, ทรีโอนีน, วาลีน และสารประกอบไกลซีน น้ำมันจากเมล็ดลิ้นจี่มีสารประกอบ เป็นกรดไขมันที่สำคัญเช่น ปาล์มมิติก 12%, โอลิอิก 27% และไลโนเลอิค 11% ส่วนเปลือกผลมีสารประกอบประเภท ไซยานิดิน- 3 -กลูโคไซด์ และมัลวิดิน – 3 – อะเซทิล กลูโคไซด์
จากการศึกษาพบว่าในเนื้อลิ้นจี่นอกจากจะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญกับร่างกายแล้ว ก็ยังมีกรดไขมันที่สำคัญกับร่างกายอีกด้วย เช่น กรดปาล์มมิติก (Plamitic Acid) 12%, กรดไลโนเลอิก (Linoleic Acid) 11%, กรดโอเลอิก (Oleic Acid) 27% ซึ่งมีฤทธิ์ในการต่อต้านอนุมูลอิสระ
สรรพคุณของลิ้นจี่
สรรพคุณทางยา ตามที่ใช้ในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ นับมาแต่โบราณ เนื้อในผลกินเป็นยาบำรุง แก้อาการไอเรื้อรัง แก้อาการคัดจมูก รักษาอาการท้องเดิน ลดกรดในกระเพาะอาหาร และบรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร ในประเทศจีนใช้เปลือกผลลิ้นจี่ทำเป็นชา ใช้ชงเพื่อบรรเทาอาการหวัด แก้การติดเชื้อในลำคอ อาการท้องเสียอย่างอ่อน และโรคจากการติดเชื้อไวรัส
Lycheeในตำรายาจีน กล่าวเฉพาะเมล็ดลิ้นจี่ ว่ามีรสหวาน ขมเล็กน้อย สรรพคุณอุ่น ทำให้พลังชี่ขับเคลื่อน ลดอาการปวด ใช้กรณีปวดท้อง ปวดไส้เลื่อน ปวดบวมของอัณฑะ ใช้ขนาด 5-10 กรัม โดยมักผสมกับสมุนไพรอื่นอีก หนึ่งหรือสองชนิด เมล็ดลิ้นจี่ ที่แห้ง ควรนำมาบด คั่วให้แห้งโดยผสมด้วยน้ำเกลือ แล้วจึงเติมน้ำลงไปต้ม น้ำดื่ม หรือทำเป็นผง รับประทานหรือใช้ ผงยาพอกบริเวณมีอาการปวดบวม รากลิ้นจี่หรือเปลือกต้น ใช้แก้อาการติดเชื้อ ไวรัส อีสุกอีใส และเพิ่มความสามารถระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีงานวิจัยในสรรพคุณของลิ้นจี่ในด้านต่างๆ ดังนี้
งานวิจัย งานวิจัยเปลือกของผลลิ้นจี่ มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญคือ โพรไซยาไนดินบี 4 ไพรไซยา- ไนดินบี 2 และอีพิคาเทชิน ส่วนที่สำคัญคือ ไซยาไนดิน – 3 – รูตินโนไซด์ ไซยาไนดิน- 3 กลูโคไซด์ เควอเซทิน 3 – รูติโนไซด์ และเควอเซทิน – 3 – กลูโคไซด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง และสารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์ มะเร็งเต้านม ทั้งในห้องทดลองและในสัตว์ทดลอง โดยยับยั้งการขยายจำนวนเซลล์ การควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์มะเร็ง และเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง
รายงานวิจัยที่ทำในประเทศจีนอื่นๆ ยังพบว่า สารสกัดลิ้นจี่ช่วยลดขนาดเนื้องอกในสัตว์ทดลอง แต่ไม่ได้ระบุว่าเป็นสารสกัดส่วนใดของลิ้นจี่ สำหรับงานวิจัย นักวิทยาศาสตร์ของไทย พบว่าสารสกัดผลลิ้นจี่ มีฤทธิ์ในการปกป้องตับ ในหนูที่เหนี่ยวนำให้ได้รับสารพิษ และเป็นโรคตับ
ข้อควรระวัง เนื่องจากในลิ้นจี่ มี น้ำตาล และแร่ธาตุโพแทสเซียม ที่ค่อนข้างสูงจึงต้องระวังในท่านที่มีเบาหวาน, โรคไต, เด็กที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในสมอง (Encephalitis) และมีโอกาสเกิดร้อนในง่าย
คุณค่าทางโภชนาการ
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและโปรตีน ช่วยย่อยอาหาร บำรุงอวัยวะภายในต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นม้ามหรือระบบประสาท นอกจากนี้ลิ้นจี่ยังช่วยในการบรรเทาอาการกระหายน้ำได้ และหากนำเนื้อลิ้นจี่ ตากแห้งมาต้มรับประทานเป็นประจำก็จะช่วยบรรเทาอาการปวด อันเนื่องมาจากโรคไส้เลื่อนหรือลูกอัณฑะบวม และยังช่วยรักษา โรคโลหิตจางได้อีกด้วย สำหรับผู้มีอาการของท้องร่วงเรื้อรังให้นำ เนื้อลิ้นจี่มาต้มรวมกับเนื้อพุทราแล้วนำมากินกับน้ำจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงเรื้อรังได้เป็นอย่างดี
การนำไปใช้ประโยชน์
ลิ้นจี่ นอกจากจะใช้รับประทานสดได้แล้ว ยังสามารถนำมาแปรรูป เป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้อีกหลายชนิด เช่น ลิ้นจี่กระป๋องหรือบรรจุขวด ในน้ำเชื่อม
พื้นที่ปลูก
พื้นที่
ลักษณะดิน
ลิ้นจี่เป็นพืชที่ต้องการดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงหรือปานกลาง มีการระบายน้ำดีเป็นพิเศษ ดังนั้นจึงควรปลูกลิ้นจี่ในพื้นที่สูงพอสมควร เพราะมีการระบายน้ำที่ดีกว่าในพื้นที่ต่ำ ดินควรมีค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) = 5.0-7.0
สภาพภูมิอากาศ
การเจริญเติบโตของลิ้นจี่ต้องการอุณหภูมิต่ำประมาณ 20-30 องศาเซลเซียส
แต่ในช่วงก่อนออกดอกต้องการอุณหภูมิต่ำประมาณ 10-20 องศาเซลเซียส นานติดต่อกันอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์และแหล่งปลูก เมื่อติดผลแล้วอุณหภูมิสูงขึ้นก็ไม่เป็นไร แต่ไม่ควรเกิน 40 องศาเซลเซียส เพราะจะทำให้ผลแตกเสียหายได้
แหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำสะอาดที่ไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน และมีปริมาณพอที่จะใช้ได้ตลอดช่วงฤดูแล้ง
ปริมาณน้ำฝน
ปริมาณความชื้น
ปริมาณฝนที่ในปีหนึ่งๆ จะมีผลเกี่ยวข้องกับความชื้นในดิน ซึ่งมีความจำเป็นต่อลิ้นจี่ในช่วงการเจริญเติบโตทาง กิ่งก้าน การออกดอกติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว แต่ปริมาณความชื้นจะพัฒนา การของลิ้นจี่จะแตกต่างกัน
โดยทั่วไปแล้วลิ้นจี่ต้องการความชื้นในดินสูงขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน ซึ่งในช่วงนี้ ถ้าลิ้นจี่ขาดความชื้นในดิน ดอกที่ออกมามักจะแห้งหรือที่ออกดอกแล้วดอกจะร่วง ในกรณีที่มีฝนตกในเดือนเมษายนที่เรียกกันว่า ฝนแรก มักจะทำให้ผลลิ้นจี่แตกและร่วงมาก ดังนั้นการให้น้ำลิ้นจี่ในช่วงหน้าแล้ง แม้จะมีฝนตกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม จะต้องมีการให้น้ำ เพราะในระยะนี้เป็นช่วงที่มีความชื้นในดินและความชื้นในอากาศต่ำ
ในฤดูหนาวความชื้นในอากาศจะลดลงตามลำดับ และจะลดลงมากในเดือนมีนาคมถึงเมษายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อ เมื่อการระเหยของน้ำในใบมีมากขึ้น ความชื้นในอากาศที่ต่ำจึงมีส่วนทำให้สร้างเนื้อได้น้อย ผลจึงเล็กและรสเปรี้ยวจัด แม้ผิวเปลือกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูหรือแดงแล้วก็ตาม จึงจำเป็นต้องให้น้ำตามความต้องการของลิ้นจี่
พันธุ์ที่ส่งเสริม
พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทย
พันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ตามแหล่งปลูกดังนี้
ลักษณะประจำพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกทางภาคเหนือ
ลักษณะประจำพันธุ์ลิ้นจี่ที่ปลูกทางภาคกลาง
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่
การขยายพันธุ์ลิ้นจี่ทำได้หลายวิธี เช่น การเพาะเมล็ด การตัดชำ การตอนกิ่ง การทาบกิ่งและการต่อกิ่ง แต่วิธีการ ขยายพันธุ์ที่ชาวสวนนิยมมากที่สุด คือ การตอนกิ่งแบบตอนอากาศ (Air layering) เพราะว่าเป็นวิธีการที่ง่ายประกอบกับลิ้นจี่เป็นพืชที่ออกรากได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม มีเกษตรกรบางรายที่ขยายพันธุ์ลิ้นจี่โดยวิธีการ ต่อกิ่ง
การเพาะเมล็ด
การเพาะเมล็ดลิ้นจี่ โดยทั่วไปไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากมักจะมีการกลายพันธุ์ ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ด เมื่อนำไปปลูกต้องใช้ระยะเวลานานถึง 10 ปี หรือมากกว่านี้ บางครั้งอาจพบถึง 25 ปี จึงจะออกดอก นอกจากนั้นต้นกล้าที่ได้มีการเจริญเติบโตช้า และบางพันธุ์เมล็ดมักลีบ (chicken tongues) เช่น พันธุ์กวางเจา ซึ่งอาจ มีปัญหาบ้าง แต่ข้อดีของการขยายพันธุ์โดยเมล็ดคือ ได้พันธุ์ใหม่ๆ เกิดขึ้น เช่น พันธุ์ Peerless กลายพันธุ์มาก จากพันธุ์ Brewster และพันธุ์ Bengal กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ Purbi เป็นต้น นอกจากนี้การเพาะเมล็ดยังมี จุดประสงค์เพื่อที่จะใช้เป็นต้นตอสำหรับการต่อกิ่งติดตาและทาบกิ่ง
การตอนกิ่ง
การตอนกิ่งลิ้นจี่ปกติจะได้ผลถึง 95-100 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งปกติจะทำการตอนกิ่งในฤดูฝน มีเทคนิคการตอนกิ่งดังนี้
การต่อกิ่ง
จุดมุ่งหมายในการต่อกิ่งเพื่อต้องการที่จะใช้ประโยชน์จากต้นตอ ในด้านการควบคุมขนาดของทรงต้นและนิสัยการเจริญเติบโต ผลผลิต คุณภาพผล รวมถึงความต้านทานโรคต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ
วิธีการต่อกิ่ง
ใช้วิธีการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม โดยเลือกต้นตอและกิ่งพันธุ์ให้มีขนาดใกล้เคียงกัน คือ มีขนาด 3-10 มิลลิเมตร ความยาวของกิ่งพันธุ์ดี 10-15 เซนติเมตร ยอดพันธุ์ดี ควรมีใบติด 3-4 ใบ
ขั้นตอนการต่อกิ่งแบบเสียบลิ่ม
การปลูก
การเตรียมพื้นที่
หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปที่จะต้องทำคือ การเตรียมพื้นที่ปลูก ซึ่งจัดได้ว่ามีความสำคัญมาก เพราะลักษณะของพื้นที่แต่ละแห่งนั้นจะแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งได้ 2 แบบ
ระยะปลูก
การกำหนดระยะปลูกว่าจะเป็นระยะเท่าใดนั้นมีข้อพิจารณาดังต่อไปนี้
การเตรียมหลุมปลูก
ขนาดของหลุมปลูกที่เหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ถ้าดินมีความอุดมสมบูรณ์ดี มักจะใช้ขนาด 50x50x50 เซนติเมตร (กว้างxยาวxลึก)
ส่วนดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อย มักจะใช้ขนาด 80x80x80 เซนติเมตร
การขุดหลุมควรแยกดินออกเป็น 2 ส่วน คือ ดินชั้นบน และดินชั้นล่าง ในการปลูกนั้น ควรนำเอาดินชั้นบนผสมกับปุ๋ยคอกเก่าๆ หรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปี๊บ และใส่ร๊อกฟอสเฟตหรือกระดูกป่นอีก 100 กรัม คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยให้เข้ากันดี แล้วนำไปใส่หลุมและนำเอาดินชั้นล่างขึ้นข้างบนกลบทับให้เต็มหลุม โดยให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 15-20 เซนติเมตร
การชักนำการออกดอก
การชักนำการออกดอกของลิ้นจี่ ในปัจจุบันนี้ยังไม่สามารถควบคุมได้อย่างแน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้าน สภาพแวดล้อมในแต่ละปี ซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ แต่อย่างไรก็ตามมี ผู้เสนอแนวทางในการควบคุมการออกดอก ไว้ดังนี้ คือ
การดูแลรักษา
การให้ปุ๋ย
การให้ปุ๋ยต้นลิ้นจี่แบ่งออกได้เป็น 2 ช่วงคือ ช่วงต้นเล็กก่อนให้ผลผลิตและช่วงให้ผลผลิตแล้ว การให้ปุ๋ยแต่ละช่วงมีเป้าหมายต่างกัน ทำให้ต้องใช้สูตรปุ๋ย อัตราปุ๋ยและเวลาให้แตกต่างกัน
การให้น้ำ
การให้น้ำแก่ต้นลิ้นจี่ปลูกใหม่ในระยะ 2 ปีแรก โดยทั่วไปแล้วปริมาณน้ำที่ต้องรดให้แก่ต้นไม้ที่ปลูก ในปีแรกและปีที่ 2 ประมาณ 20-60 ลิตร ต่อระยะ 4-5 วัน (รดให้ดินเปียกน้ำกว้าง 0.5 และ 1.0 เมตร)
การให้น้ำแก่ลิ้นจี่อายุ 3 ปีขึ้นไป
วิธีการให้น้ำแก่ผิวดิน
การให้น้ำโดยทางผิวดิน เป็นการให้น้ำครั้งหนึ่งๆเป็นจำนวนมาก เพื่อให้ดินที่ความลึกอย่างน้อย 50 เซนติเมตร อุ้มน้ำไว้ให้มากที่สุด ให้พืชค่อยๆใช้ได้หลายวัน โดยปริมาณน้ำที่ให้จึงขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่มและน้ำที่พืชใช้ประโยชน์ได้
น้ำที่พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกันไปตามความหยาบละเอียดของดิน โดยทั่วไปแล้ว การให้น้ำทางผิวดินที่ง่ายที่สุด คือ การไขน้ำเข้าท่วมขังในพื้นที่ทั้งสวน ให้น้ำสูงเท่ากับความลึกที่ต้องการ การที่จะทำเช่นนี้ได้ พื้นที่สวนต้องราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ถ้าสวนไม่ราบเรียบเสมอกันทั้งสวน ให้ทำคันดินรอบทรงพุ่มของต้นลิ้นจี่แต่ละต้น แล้วไขน้ำเข้าขังในคันให้สูงตามต้องการ
การให้น้ำโดยสปริงเกอร์และสปริงเกอร์เล็ก
การเลือกหัวสปริงเกอร์ ต้องคำนึงถึงอัตราการซึมน้ำของดินอีกด้วย โดยต้องเลือกสปริงเกอร์ที่ให้น้ำด้วยอัตราที่ไม่เร็วกว่าที่น้ำจะซึมเข้าในดินได้ ไม่เช่นนั้นจะมีน้ำไหลล้นออกนอกทรงพุ่ม เป็นการสูญเสียน้ำ เนื่องจากการให้น้ำโดยสปริงเกอร์และมินิสปริงเกอร์สามารถทำได้สะดวก เกษตรกรสามารถให้น้ำเป็นราย 3 วัน หรือราย 7 วัน ได้โดยง่าย ดังนั้นเกษตรกรสามารถเลือกให้น้ำทุก 5-7 วัน แล้วแต่เนื้อดิน ถ้าเป็นดินร่วนปนทรายให้ทุก 5 วัน ถ้าเป็นดินเหนียวให้ทุก 7วัน เป็นต้น
การตัดแต่งกิ่ง
การควบคุมทรงต้นลิ้นจี่ต้นเล็ก
ควรจะเริ่มตั้งแต่การเลือกต้นกล้ากิ่งตอนจากกิ่งกระโดงน้ำฝน หรือต้นกล้าที่ได้จากการติดตา ต่อกิ่ง หรือต่อยอด มีหลักปฏิบัติดังนี้
การควบคุมทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งลิ้นจี่ต้นใหญ่
การจัดการวัชพืช
การจัดการวัชพืชในสวนลิ้นจี่นั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุหรือขนาดของลิ้นจี่ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ คือ ลิ้นจี่เล็กและลิ้นจี่ใหญ่
การเก็บเกี่ยวผลผลิต
ลิ้นจี่จัดเป็นไม้ผลประเภท non-climacteric หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพผลผลิต ในทางที่ดีขึ้น และ เอธิลีนไม่มีผลต่อการสุกหรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า เป็นผลไม้ที่ไม่สามารถบ่มให้สุกได้ ดังนั้นการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่จึงควรเก็บเกี่ยวในระยะผลแก่พอดีเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
โดยทั่วไปเกษตรกรจะใช้การเปลี่ยนสีของเปลือกเป็นเกณฑ์สำคัญในการตัดสินใจว่าจะเก็บเกี่ยวผลลิ้นจี่ ได้หรือไม่ โดยจะสังเกตจากเปลือกของลิ้นจี่เปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเขียวอมชมพู สีชมพูหรือสีแดง เกณฑ์การเปลี่ยนสีดังกล่าวจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ สภาพแวดล้อม และการดูแลรักษา อีกลักษณะที่ใช้ประกอบในการตัดสินใจ คือการดูหนามของผล โดยมีเกณฑ์ว่าลิ้นจี่ที่มีผลแก่ หนามบนผิวเปลือกจะห่างออกจากกัน ลักษณะที่เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสุกแก่ของลิ้นจี่เหล่านี้ เกษตรกรที่ใช้จะต้องเป็นผู้ชำนาญการพอสม ควรไม่อย่างนั้นอาจจะตัดสินใจคลาดเคลื่อนไปได้
วิธีการเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยวทำโดยใช้พะองพาดบนต้น แล้วหักกิ่งเพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งพวงและมีใบติดมาบ้างเล็กน้อย ลิ้นจี่ที่เก็บเกี่ยวแล้วจะนำมาตกแต่งช่อ คัดเกรดและบรรจุ ซึ่งอาจจะทำอยู่ภายใต้ร่มไม้ส่วนใดส่วนหนึ่ง ของสวนก็ได้
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
การลดอุณหภูมิผล
การลดอุณหภูมิผลจะช่วยลดการคายน้ำของผล ทำให้ผลลิ้นจี่มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานขึ้น มีการรายงานว่าถ้าลดอุณหภูมิอย่างรวดเร็วให้อยู่ที่ 3 องศาเซลเซียสแล้วเก็บรักษาไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส จะทำให้ผลลิ้นจี่มีการสูญเสียน้ำน้อยและถูกโรคเข้าทำลายได้ยากขึ้น
วิธีการลดอุณหภูมิของผลอย่างรวดเร็ว อาจจะทำได้โดยการใช้ลมเย็นผ่านผลอย่างรวดเร็ว (Force-air Cooling) แต่วิธีนี้มักทำให้ผลสูญเสียน้ำหนักไปบ้าง เนื่องจากความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศจะค่อนข้างต่ำ ทำให้มีการคายน้ำจากผลเข้าสู่บรรยากาศ
อีกวิธีที่แนะนำคือ การจุ่มผลลิ้นจี่ในน้ำเย็นหรือน้ำที่ผสมน้ำแข็ง (Hydro Cooling) จะช่วยลดอุณหภูมิผลได้อย่างรวดเร็วและผลไม่สูญเสียน้ำหนักในระหว่างการลดอุณหภูมิผล แต่ต้องระวังรอให้ผลแห้งก่อนการบรรจุ มิฉะนั้นจะมีปัญหาเรื่องเชื้อโรคเข้าทำลายได้ง่าย
การสูญเสียคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว
การสูญเสียคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของลิ้นจี่เกิดขึ้นเร็วมาก โดยจะเกิดการเปลี่ยนแปลงสีผิวของเปลือก ซึ่งจะเปลี่ยนจากสีแดง เป็นสีน้ำตาล ซึ่งเป็นผลมาจากการสูญเสียน้ำของเปลือก และการเปลี่ยนแปลงของ สารประกอบพวกฟีนอลภายในเปลือก มีรายงานว่าเปลือกของลิ้นจี่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งภายใน 2-3 วัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง ที่แนะนำให้เก็บรักษาลิ้นจี่อยู่ระหว่าง 0-5 องศาเซลเซียส ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการเก็บรักษา ถ้าต้องการเก็บรักษาเป็นระยะเวลานาน เช่น 3 สัปดาห์ ควรเก็บไว้อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส ทั้งนี้โดยที่ระดับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 มีรายงานว่าการรมควันด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ความเข้มข้น 2 เปอร์เซ็นต์ นาน 25 นาที แล้วนำไปแช่ในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก ความเข้มข้น 1.0 n นาน 15 นาที ก่อนที่จะนำไปเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส จะสามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่ไว้ได้นานถึง 7 สัปดาห์ โดยไม่มีการเปลี่ยนสีผิวของเปลือกลิ้นจี่
การป้องกันการเกิดสีน้ำตาล บนเปลือกลิ้นจี่โดยการเคลือบไข
ไม่สามารถช่วยยืดอายุการเก็บรักษาลิ้นจี่ได้ เนื่องจากผิวเปลือกลิ้นจี่ขรุขระ ไม่ราบเรียบทำให้ไม่สามารถเคลือบผลได้สม่ำเสมอและต่อเนื่อง จึงไม่สามารถช่วยป้องกันการสูญเสียน้ำของผล ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผิวเปลือกลิ้นจี่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและหมดอายุการใช้งาน
ที่มา:
กรมวิชาการเกษตร
ศูนย์เภสัชสนเทศ คณะเภสัชศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้จัดการออนไลน์, โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช
ป้ายคำ : ผลไม้