ลิ้นมังกรเดิมมีถิ่นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการปลูกลิ้นมังกร มาเป็นเวลานานแล้วโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย ลิ้นมังกร มีมากกว่า 50 สายพันธุ์ายพันธุ์จะมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป โดยแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีความสวยงามที่แตกต่างกันออกไป
ชื่อสามัญ Mather – in – law’s Tongue
ชื่อวิทยาศาสตร์ Sancivieria..
ตระกูล AGAVACEAE
ถิ่นกำเนิด แถบทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ
ลักษณะ
ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้าน จะช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกร บางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าหอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งของพระอินทร์ ที่ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก ดังนั้นลิ้นมังกรจึงเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล
ตำแหน่งที่ปลูกและผู้ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เอาประโยชน์ทั่วไปทางใบให้ปลูกในวันอังคาร
การปลูก มี 2 วิธี
การปลูกและการดูแลรักษา
ป้ายคำ : ไม้ประดับ