ลูกประคบสมุนไพร มรดกทางภูมิปัญญาของแพทย์แผนไทย

20 ธันวาคม 2555 สุขภาพพึ่งตน 0

ลูกประคบสมุนไพร คือ ผ้าที่ใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน นำมานึ่งให้ร้อน เป็นวิธีการบำบัดรักษาของการแพทย์แผนโบราณ แล้วประคบบริเวณที่เจ็บปวด เคล็ดขัดยอก โดยอาศัยความร้อนและคุณสมบัติสมุนไพร ทำให้อาการดีขึ้น คนไทยนิยมใช้ “ลูกประคบสมุนไพร” รักษากันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมักใช้รักษาควบคู่กับการนวดไทย คือ หลังจากนวดเสร็จแล้วจึงประคบนาบไปตามร่างกาย ผลของความร้อนที่ได้จากการประคบ ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัว และตัวยาสมุนไพรร้อน ๆ ซึมผ่านชั้นผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย และยังช่วยทำให้เนื้อเยื่อพังผืดยืดตัวออก ลดการติดขัดของข้อต่อ ลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ลดปวด ช่วยลดการบวมที่เกิดจาการอักเสบของกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อต่อ และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต

“สมุนไพร” ที่ใช้ในตำรับยา “ลูกประคบสมุนไพร” มีแตกต่างกันไปในวัตถุประสงค์ของการรักษา เช่น ตำรับแก้ปวดเมื่อย ตำรับแก้เหน็บชา ตำรับแก้อัมพฤกษ์ อัมพาต ตำหรับแก้ตะคริว เป็นต้น ตำรับแก้ปวดเมื่อยของแต่ละแห่ง อาจไม่ใช่สูตรเดียวกัน แต่มีตัวยาหลักเหมือนกัน

ส่วนมากแล้วมักใช้ “ลูกประคบสมุนไพร” ประคบกันในผู้ที่มีอาการเคล็ด ขัดยอก ซ้ำบวม แต่ถ้าต้องการประคบเพื่อคลายเครียด คลายเมื่อยล้า ก็สามารถทำได้ การประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรเพื่อคลายเครียดนี้ จะช่วยให้คุณหายจากอาการอ่อนล้า อาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้อเส้นเอ็น เกิดความกระปรี้กระเปร่า สบายเนื้อสบายตัวขึ้นมาโดยพลัน

ลูกประคบสมุนไพร” นี้ปรากฏว่ามีมาแล้วช้านาน นอกจากจะมีการนำเอาสมุนไพรต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์เป็นยากินรักษาอาการของโรคต่าง ๆ หรือนำสมุนไพรบางชนิดมาปรุงเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ขจัดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ แล้วยังสามารถนำมาใช้เป็นยารักษาอาการภายนอกร่างกายได้อีกด้วย มีทั้งที่นำมาใช้เดี่ยว ๆ หรือนำมาปรุงผสมผสานเข้าด้วยกันหลาย ๆ อย่าง เป็นยาทาก็ได้ เป็นยาพอกก็ดี เป็นยาพ่น เป่าเป็นยาสูบ ยาอม ยารมควัน หรือยาประคบก็ได้ สารพัดสารพัน นี่คือมรดกทางภูมิปัญญาของหมอพื้นบ้านหรือแพทย์แผนโบราณของไทยเราโดยแท้

prakobhor

การประคบลูกประคบสมุนไพร มี 2 ชนิด คือ

  • การประคบเปียก
  • การประคบแห้ง

ตำแหน่งการประคบ-ลูกประคบสมุนไพร
“ลูกประคบสมุนไพร” สามารถใช้ประคบได้เกือบทุกส่วนของร่างกาย ยกเว้นบริเวณผิวหน้า ขึ้นอยู่กับอาการของโรค อาทิ ท่อนขารวมทั้งขาอ่อน น่อง เข่า ฝ่าเท้า หรือ หลังเท้า นอกจากนั้นส่วนของแผ่นหลัง เอว สะโพก ช่วงไหล่ แขน หน้าท้องและชายโครง ก็ทำการประคบได้เช่นกัน

ประโยชน์ของการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

“ประโยชน์และสรรพคุณของลูกประคบสมุนไพร” มีมากมายมหาศาล อีกทั้งยังเป็นที่ยอมรับของการแพทย์แผนไทยหรือแม้แต่การแพทย์อายุรเวทในปัจจุบัน ว่าเป็นวิธีรักษาโรควิธีหนึ่ง และมีประสิทธิภาพในการบำบัดรักษา โดยเฉพาะการช่วยลดความเครียด กำจัดความอ่อนเพลีย สร้างความสดใสให่แก่อารมณ์และความรู้สึก ช่วยคลายความเนื้อ คลายเส้นเอ็น เส้นสายในผู้ป่วยให้ผ่อนคลายลง ไม่ตึงเครียดและอึดอัด

ประโยชน์ของการประคบ ลูกประคบสมุนไพร ในการรักษาอาการต่าง ๆ ดังนี้

  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อขจัดอาการของโรค
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อคลายเส้น เอ็น กล้ามเนื้อ ให้หายจากอาการเมื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อให้โลหิตไหลเวียนทั่วสรรพางค์กายได้สะดวกดีขึ้น
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อบรรเทาและรักษาอาการเหน็บชา อัมพฤกษ์และอัมพาต
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อลดไขมัน หรือละลายไขมันที่สะสมอยู่ในร่างกาย
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อลดความดันโลหิตสูงให้ลดลงมาเป็นปกติ
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อให้มดลูกเข้าอู่ได้เร็ววันยิ่งขึ้น
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อขับน้ำคาวปลาออกมาจากมดลูกให้หมดสิ้น ไม่เหลือคั่งค้างเอาไว้
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อให้ร่างกายพริกฟื้นจากความอ่อนแอ ขี้โรค ให้มีเรี่ยวแรงดีขึ้น
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อคลายเครียด สบายเนื้อสบายตัว อารมณ์แช่มชื่น ผ่องใส จิตใจ ปลอดโปร่ง
  • ลูกประคบสมุนไพร-ประคบเพื่อสร้างสมดุลให้แก่สุขภาพของตนเองแม้ว่าจะไม่เจ็บป่วย หรือมีโรคภัยใด ๆ ก็ตาม

ขั้นตอนวิธีการประคบและข้อควรระวังในการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

ขั้นตอนวิธีการประคบ ลูกประคบสมุนไพร

  1. จัดท่าผู้ป่วยให้เหมาะสม ในท่านั่งหรือนอน
  2. นำลูกประคบสมุนไพรที่นึ่งจนร้อนมาทดสอบความร้อน โดยแตะที่ท้องแขน หรือหลังมือก่อนนำไปประคบ
  3. ในการประคบสมุนไพรต้องทำด้วยความรวดเร็ว ในขณะที่ลูกประคบสมุนไพรกำลังร้อน เมื่อลูกประคบสมุนไพรเย็นลงจึงวางลูกประคบสมุนไพรไว้ได้นานขึ้น
  4. เมื่อลูกประคบสมุนไพรคลายความร้อน จึงเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน

ลักษณะประคบ ลูกประคบสมุนไพร
สังเกตุดูลูกประคบสมุนไพร ว่ามีความร้อนมากหรือเปล่า ถ้าลูกประคบสมุนไพรมีความร้อนต้องห่มผ้าขนหนูก่อนแล้วประคบ ตอนแรกห้ามประคบที่ใดที่หนึ่งนาน ๆ เพราะจะทำให้ผิวหนังผู้ป่วยพุพอง หรือผู้ป่วยตกใจอาจช้อกได้ เมื่อร้อนต้องประคบเร็ว ๆ คอยซักถามดูเรื่อย ๆ แล้วค่อยช้าลง ถ้าไม่ร้อนเอาผ้าขนหนูออก

วีธีการทําลูกประคบสมุนไพรแห้ง

อุปกรณ์

  1. ผ้าดิบสําหรับห่อลูกประคบ ขนาด 35 ซม. X 35 ซม.
  2. เชือกด้าย ยาวประมาณ 2 เมตร
  3. สมุนไพรแห้ง
  4. หม้อสําหรับผสมสมุนไพร ทัพพี
  5. เครื่องชั่ง (ที่สามารถชั่งสมุนไพรปริมาณน้อยๆได้น้ําหนักถูกต้อง)

วิธีทํา

  1. นําสมุนไพรแต่ละชนิดมาล้างน้ําหลายๆ ครั้ง ให้สะอาด แล้วผึ่งให้สะเด็ดน้ํา
  2. นําไพล ขมิ้นชัน มาหั่นเป็นชิ้นบางๆ แล้วอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง จากนั้น นํามาตําหรือบด ให้ได้ขนาดตามต้องการ
  3. นําตะไคร้ ผิวมะกรูด มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วอบที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง จากนั้นนํามาตําหรือบด ให้ได้ขนาดตามต้องการ
  4. ใบมะขาม ใบส้มป่อย อบที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส หรือตากแดดจนแห้ง
  5. นําสมุนไพรทุกชนิดมาชั่งน้ําหนักตามที่ต้องการ แล้วนํามาผสมกัน เติมการบูร พิมเสนและเกลือ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
  6. เตรียมผ้าสําหรับห่อลูกประคบ ชั่ง สมุนไพรผสม 150 กรัม วางบนผ้า แล้วจึงห่อลูกประคบ ให้แน่นด้วยเชือก

สูตรสมุนไพรลูกประคบ

  • ไพล 500 กรัม
  • ขมิ้นชัน 100 กรัม
  • ตะไคร้บ้าน 100 กรัม
  • ผิวมะกรูด 200 กรัม
  • ใบมะขาม 200 กรัม
  • ใบส้มป่อย 100 กรัม
  • การบูร 30 กรัม
  • พิมเสน 30 กรัม
  • เกลือ 20 กรัม

น้ําหนักรวมประมาณ 1,280 กรัม ทําลูกประคบขนาด 150 กรัม ได้ประมาณ 8 – 9 ลูก

การเก็บรักษาลูกประะคบหลังการใช้
ลูกประคบสมุนไพรที่ใช้แล้ว สามารถเก็บไว้ใช้ได้ 2-3 ครั้ง โดยวางลูกประคบที่ใช้เสร็จแล้วไว้ให้เย็น แล้วนําใส่ในถุงพลาสติกที่ปิดสนิท เก็บในตู้เย็นได้ 2-3 วัน ก่อนนําลูกประคบมาใช้ครั้งต่อไป ควรตรวจดูสมุนไพรในห่อลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือมีราขึ้นไม่ควรนํามาใช้อีก ถ้าลูกประคบที่ใช้แ ล้วไม่มีสีเหลืองหรือสี เหลืองอ่อนลงแสดงว่า สารสมุนไพรจางลง ไม่ควรมาใช้อีก ลูกประคบที่เก็บไว้ถ้าแห้ง ควรพรมด้วยน้ําก่อนใช้

ข้อควรระวังในการประคบสมุนไพร

  1. ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไปกับบริเวณผิวหนังอ่อนๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลง
  2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุเนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้าอาจจะทําให้ผิวหนังไหม้, พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะใช้ลูกประคบที่อุ่นๆ
  3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล อักเสบ (ปวด บวม แดง ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมงแรก อาจจะทําให้เกิดอาการบวมมากขึ้น
  4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ําทันทีเพราะจะไปชะล้างสมุนไพรออกจากผิวหนัง และทําให้ร่างกายปรับอุณหภูมิไม่ทันอาจจะทําให้เป็นไข้ได้

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สุขภาพพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น