สารพัน ลูกประคบ

20 กันยายน 2557 สุขภาพพึ่งตน 0

การประคบร้อนเป็นการใช้ความร้อนประคบไปบนร่างกายโดยผ่านสื่อนำความร้อน (สื่อหรือตัวนำความร้อนบางอย่างก็มีความเป็นยาด้วยเช่นกัน)ที่แตกต่างกัน รวมใช้แรงกดแตกต่างกันไปตามลักษณะของสิ่งที่ใช้ประคบ สภาพร่างกาย รวมถึงอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายบริเวณที่ถูกประคบ

ลูกประคบสมุนไพร สูตร 1

ส่วนผสม
1. น้ำมันงา (ชนิดหีบเย็น) 3/4 แก้ว
2. มะพร้าวขูด 1 ขีด
3. มะนาวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (เหมือนกินกับเมี่ยงคำ) ครึ่งลูก
4. ไพล (ล้างสะอาด ปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และตำให้แหลก 3/4 แก้ว
5. ขมิ้นชัน (ล้างสะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ตำพอแหลก) 1/2 แก้ว
6. ใบรักหั่นฝอย 3/4 – 1 แก้ว
7. ใบละหุ่งหั่นฝอย 3/4 – 1 แก้ว
8. ใบมะขาม 3/4 แก้ว
9. งาดำดิบตำพอแหลก 1/4 แก้ว
10. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

prakobpai

สรรพคุณ
ใช้ประคบตามร่างกาย แก้เคล็ด ขัดยอก กล้ามเนื้อตึงเกร็งเรื้อรัง บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ

วิธีทำ
เทน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ เมื่อน้ำมันร้อนใส่มะนาวลงทอดสักพัก เติมมะพร้าวขูดและไพลลงผัดพอให้มีกลิ่นหอม เติมใบรัก ใบละหุ่งลงผัดให้เข้ากันสักห้านาที แล้วใส่ใบมะขามลงผัดพอให้เข้ากัน จากนั้นเติมงาดำและเกลือป่นลงผัดให้เข้ากัน แล้วยกลง ตักยาแบ่งใส่ผ้าดิบ 2 ผืน (ขนาดประมาณ 15 x 15 นิ้ว) โดยกะให้ปริมาณเท่ากัน จากนั้นห่อและมัดทำเป็นลูกประคบ
โดยไม่ต้องมัดจนแน่นมาก แล้วนำลูกประคบใส่ในชามสแตนเลส และเติมน้ำมันงาลงไปประมาณ 1/2 แก้ว

วิธีประคบ
เติมน้ำพอประมาณลงในกระทะหรือกะละมังสแตนเลสที่มีขนาดใหญ่กว่าชามที่ใส่ลูกประคบ แล้วนำ าชามที่ใส่ลูกประคบวางในกะละมังที่ใส่น้ำ(คล้ายกันนึ่ง) จากนั้นนำ ากระทะไปวางบนเตา ใช้ไฟปานกลาง เมื่อลูกประคบเริ่มร้อน หยิบลูกประคบมาปาดกับขอบชาม (เพื่อไม่ให้มีน้ำมันเยิ้ม) แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ

prakobwat

เวลาหยิบลูกประคบจากกระทะมาประคบที่ร่างกายใหม่ๆ ควรใช้วิธีแตะลูกประคบที่ผิวหนังแล้วยกขึ้นทันที จนกระทั่งลูกประคบไม่ร้อนมากแล้วจึงวางลูกประคบนานขึ้นพร้อมกดและนวดเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เมื่อลูกประคบหายร้อนแล้วเปลี่ยนลูกประคบที่อยู่ในชามมาประคบ สลับกันไปเช่นนี้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง

ข้อควรระวัง
ผู้ประคบต้องสังเกตว่าลูกประคบร้อนเกินไปหรือไม่ โดยเมื่อหยิบลูกประคบขึ้นจากกระทะแล้ว อาจมาแตะที่ฝ่ามือและยกขึ้นทันที ถ้าลูกประคบร้อนเกินไป ควรถือไว้สักพักเพื่อให้ลดความร้อนลงก่อน จึงค่อยเอาไปประคบ ระหว่างที่ประคบ ควรสังเกตดูน้ำในกระทะ หากน้ำแห้งต้องเติมน้ำลงไป มิฉะนั้นกระทะจะไหม้

หมายเหตุ
1. ก่อนที่จะประคบ ควรใช้น้ำ ามันงาอุ่นๆ หรือน้ำมันยา ทาและนวดบริเวณที่จะประคบสักพักหนึ่ง เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และการไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตัวยาจากลูกประคบซึมซาบเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
2. ลูกประคบหนึ่งคู่ใช้ได้ประมาณ 5-7 วัน
3. นอกจากใบละหุ่ง ใบรัก หรือใบมะขามแล้ว ยังอาจใช้ใบไม้อย่างอื่นแทนหรือเพิ่มลงไป เช่น ใบมะรุม ใบคนทีเขมา ใบคนทีสอ นอกจากนี้ยังสามารถเพิ่มเทียนตาตั๊กแตน (ตำให้แหลก) เพิ่มลงไปได้ เทียนตาตั๊กแตนมีคุณสมบัติร้อน ช่วยลดอาการปวดและขับลมที่อยู่ในกล้ามเนื้อและข้อได้
4. ส่วนผสมที่ระบุนี้ เนื่องจากมีมะพร้าวและงาซึ่งมีคุณสมบัติมัน รวม
ทั้งเวลาประคบใช้วิธีแช่ลูกประคบในน้ำมัน (ไม่ได้ใช้วิธีนึ่ง) จึงเหมาะ
สำหรับลดความตึงเกร็งของกล้ามเนื้อ ร่วมกับมีอาการปวดเรื้อรัง


ลูกประคบสมุนไพร สูตร 2

ส่วนผสม
1. น้ำมันงา (ชนิดหีบเย็น) 3/4 แก้ว
2. มะนาวหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (เหมือนกินกับเมี่ยงคำ) ครึ่งลูก
3. ใบคนทีสอหรือคนทีเขมา ล้างสะอาด สับเป็นชิ้นเล็กๆ 2 แก้ว
4. ใบละหุ่ง ล้างสะอาด ตัดก้านใบทิ้ง แล้วสับเป็นชิ้นเล็กๆ 2 แก้ว
5. ใบมะรุม ล้างสะอาด 1 แก้ว
6. ใบมะขาม ล้างสะอาด 3/4 แก้ว
7. เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ

prakobsan

สรรพคุณ
ใช้ประคบ (ร้อน) แก้เคล็ด ขัดยอก ปวด (สามารถใช้ประคบเพื่อลดอาการปวดข้อในกรณีของข้ออักเสบได้)

วิธีทำ
เทน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ เมื่อน้ำมันร้อนแล้วใส่มะนาวลงทอดสักพัก จากนั้นเติมใบไม้ทั้งหมดลงผัดและคลุกเคล้าให้เข้ากันสักพัก แล้วเติมเกลือและคลุกเคล้าให้เข้ากัน จึงยกลงจากเตา ตักตัวยาแบ่งใส่ผ้าดิบ 2 ผืน (ขนาด ประมาณ 15 x 15 นิ้ว) โดยกะปริมาณให้เท่ากัน จากนั้นห่อและมัดเป็นลูกประคบโดยไม่ต้องมัดจนแน่นมาก แล้วนำลูกประคบใส่ในชามสแตนเลส เติมน้ำมันงา
ลงไปประมาณ 1/2 แก้ว

วิธีประคบ
เติมน้ำพอประมาณลงในกระทะหรือกะละมังสแตนเลสที่มีขนาดใหญ่กว่าชามที่ใส่ลูกประคบ แล้วนำ าชามที่ใส่ลูกประคบวางในกะละมังที่ใส่น้ำ(คล้ายกันนึ่ง) จากนั้นนำ ากระทะไปวางบนเตา ใช้ไฟปานกลาง เมื่อลูกประคบเริ่มร้อน หยิบลูกประคบมาปาดกับขอบชาม (เพื่อไม่ให้มีน้ำมันเยิ้ม) แล้วนำมาประคบบริเวณที่มีอาการ เวลาหยิบลูกประคบจากกระทะมาประคบที่ร่างกายใหม่ๆ ควรใช้วิธีแตะลูกประคบที่ผิวหนังแล้วยกขึ้นทันที จนกระทั่งลูกประคบไม่ร้อนมากแล้วจึงวางลูกประคบนานขึ้นพร้อมกดและนวดเบาๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย เมื่อลูกประคบหายร้อนแล้วเปลี่ยนลูกประคบที่อยู่ในชามมาประคบ สลับกันไปเช่นนี้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง

prakobchai

ข้อควรระวัง
ผู้ประคบต้องสังเกตว่าลูกประคบร้อนเกินไปหรือไม่ โดยเมื่อหยิบลูกประคบขึ้นจากกระทะแล้ว อาจมาแตะที่ฝ่ามือและยกขึ้นทันที ถ้าลูกประคบร้อนเกินไป ควรถือไว้สักพักเพื่อให้ลดความร้อนลงก่อน จึงค่อยเอาไปประคบ ระหว่างที่ประคบ ควรสังเกตดูน้ำในกระทะ หากน้ำแห้งต้องเติมน้ำลงไป มิฉะนั้นกระทะจะไหม้

หมายเหตุ
1. ก่อนที่จะประคบ ควรใช้น้ำ ามันงาอุ่นๆ หรือน้ำมันยา ทาและนวดบริเวณที่จะประคบสักพักหนึ่ง เพื่อให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย และการไหลเวียนดีขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ตัวยาจากลูกประคบซึมซาบเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้น
2. ลูกประคบหนึ่งคู่ใช้ได้ประมาณ 3-5 วัน
3. ลูกประคบสูตรนี้ เหมาะสำ าหรับใช้ประคบเพื่อบรรเทาอาการเคล็ด ขัดยอก หรือปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ รวมทั้งปวดตามข้อ แต่ไม่เหมาะกับกรณีที่มีอาการบวมและร้อน
4. นอกจากใบไม้ที่กล่าวมาแล้ว อาจใช้ใบต่อไปนี้แทนหรือเสริมได้ เช่น ใบกระดูกไก่ดำ (บ้างก็เรียกขาไก่ดำ หรือปีกไก่ดำ) ใบรัก ใบลำโพงกาสลัก (ดอกสีม่วง)

prakob

ลูกประคบสมุนไพร สูตร 3

ส่วนผสม
1. ใบมะตูม ล้างสะอาด 1 แก้ว
2. ใบมะขาม ล้างสะอาด 1 แก้ว

สรรพคุณ
ใช้ประคบ (ร้อน) แก้อาการปวดหู

วิธีทำลูกประคบ
ตำใบมะตูมและใบมะขามพอแหลก แล้วห่อด้วยผ้าดิบ ทำเป็นลูกประคบ 2 ลูก ขนาดประมาณมะนาวลูกโตๆ

วิธีประคบ
เติมน้ำใส่หม้อสแตนเลสหรือภาชนะทนความร้อน เติมเกลือลงไปเล็กน้อย หาผ้าดิบมัดปากหม้อ แล้วยกขึ้นตั้งไฟ จนน้ำเดือดวางลูกประคบที่เตรียมไว้บนผ้าดิบ พอลูกประคบร้อน ให้นำลูกประคบมาประคบบริเวณรอบๆ หู รวมทั้งบริเวณขมับ พอลูกประคบไม่ร้อน สลับใช้ลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน ประคบนานประมาณ 15 นาที แล้วจึงปิดไฟ

ข้อควรระวัง
ผู้ประคบต้องสังเกตว่าลูกประคบร้อนเกินไปหรือไม่ โดยเมื่อหยิบลูกประคบขึ้นจากปากหม้อ (ที่มีผ้าดิบปิดฝาหม้อ) แล้ว อาจมาแตะที่ฝ่ามือและยกขึ้นทันที ถ้าลูกประคบร้อนเกินไป ควรถือไว้สักพักเพื่อให้ลดความร้อนลงก่อน จึงค่อยเอาไปประคบ น้ำที่ใส่ในหม้อหรือภาชนะสำ าหรับประคบ ต้องไม่ให้น้อยเกินไป เพราะหากประคบนาน น้ำอาจระเหยจนแห้ง

หมายเหตุ
1. ใบมะตูมมีสรรพคุณแก้อาการเกี่ยวกับหูได้ดี ส่วนใบมะขามมีสรรพคุณลดอาการอักเสบได้ เมื่อนำใบไม้ทั้งสองชนิดมาทำเป็นลูกประคบจึงใช้บรรเทาอาการปวดหู (ซึ่งอาจเกิดจากมีอาการอักเสบในช่องหูได้)
2. ลูกประคบใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดเท่านั้น หากมีอาการหูอักเสบเรื้อรังควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาและแก้ที่สาเหตุ

ลูกประคบข้าว
ส่วนประกอบ
1. รากขัดมอนแห้ง (บดหยาบ) 120 กรัม
2. ข้าวสาร (ตำหรือบดพอแหลก) 150-175 กรัม
3. นมจืด 1 ลิตร
วิธีเตรียมลูกประคบ
1. ใช้รากขัดมอน 120 กรัม แช่น้ำพอท่วมยา ทิ้งไว้ 2-3 ชั่วโมง จากนั้น
เติมน้ำ1.5 ลิตร ซีซี แล้วต้มโดยใช้ไฟปานกลาง ต้มจนเหลือน้ำยา(หลังจากกรองแล้ว) 1 ลิตร แล้วกรองเอาแต่น้ำยา (แบ่งยาต้ม 600 ซีซี สำหรับเตรียมลูกประคบ อีก 400 ซีซี สำหรับใช้ประคบ)
2. แบ่งยาต้มรากขัดมอน 600 ซีซี เทใส่กระทะ เติมนมจืด 600 ซีซี น้ำเปล่า 400 ซีซี และข้าวสารบดลงไป ยกขึ้นตั้งไฟ ต้มด้วยไฟปานกลาง โดยคนเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้ข้าวติดกระทะ
3. เมื่อข้าวเริ่มเดือดแล้ว ต้องหมั่นคน ต้มไปเรื่อยๆ จนข้าวสุกและน้ำงวด ข้าวที่ได้จะมีลักษณะคล้ายข้าวต้มแห้งๆ
4. แบ่งข้าวใส่ผ้าดิบ (ชนิดไม่หนามาก) ผืนขนาดประมาณ 15 x 15 นิ้ว 2 ผืน ห่อและมัดทำเป็นลูกประคบ 2 ลูก
วิธีประคบ
นำยาต้มรากขัดมอนส่วนที่เหลือ (400 ซีซี) ใส่หม้อหรือกระทะ เติมนมจืด 400 ซีซี ตั้งไฟอ่อนถึงปานกลาง เมื่อยาในหม้อร้อนดีแล้ว (สังเกตว่ามี ควันลอยขึ้น) นำลูกประคบ 2 ลูกใส่ในหม้อ แล้วประคบตามร่างกาย เมื่อลูกประคบหายร้อน ให้เปลี่ยนลูกประคบอีกลูกมาประคบต่อ สลับกันไป ประคบเป็นเวลา 30-45 นาที วันละครั้ง เช้าหรือเย็น
หมายเหตุ :
1. ก่อนจะทำการประคบ ให้ใช้น้ำมันงาอุ่นๆ หรือน้ำมันยา ทาและนวดตามร่างกาย ระหว่างที่นวดน้ำมัน สามารถเอาหม้อที่ใส่ยาต้มผสมนมตั้งไฟโดยใช้ไฟอ่อนๆ กะว่าเมื่อนวดร่างกายเสร็จแล้ว ยาร้อนพอดี จึงนำลูกประคบใส่ในหม้อ แล้วทำการประคบ
2. การประคบด้วยลูกประคบข้าวนี้ มีสรรพคุณบำรุงร่างกาย เนื่องจาก มีส่วนผสมของรากขัดมอน (ซึ่งมีชื่อเรียกในทางอายุรเวทของอินเดียว่า bala หรือ พลา ซึ่งแปลว่า พลัง, รากขัดมอนถือว่าเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกาย และเสริมสร้างพละกำลังให้แก่ร่างกาย), ข้าว และนม ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ในการเพิ่มมวลให้ร่างกาย จึงเหมาะที่จะใช้สำหรับผู้ที่ร่างกายซูบ กล้ามเนื้อลีบและอ่อนแอ
3. การประคบด้วยลูกประคบข้าว จะแตกต่างจากการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร กล่าวคือการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพร มักใช้วิธีวางลูกประคบลงไปบนผิวหนังแล้วยกขึ้น หรืออาจกดคลึงเบาๆ เมื่อลูกประคบร้อนในระดับที่ผู้ถูกประคบสามารถทนได้ แต่ในการประคบด้วยลูกประคบข้าว จะใช้วิธีเคลื่อนลูกประคบไปตามร่างกาย (ส่วนที่ทำการประคบ) อย่างต่อเนื่องโดยไม่ยกขึ้น
ข้อควรระวัง
ไม่ควรนวดน้ำมันหรือประคบเวลาที่มีไข

prakobap prakobapi

ที่มา : สุขภาพสร้างได้ 35 หลักสูตรดูแลสุขภาพตนเอง
ศูนย์การเรียนรู้การดูแลสุขภาพภาคประชาชนด้านการแพทย์แผนไทย อภัยภูเบศร

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด สุขภาพพึ่งตน

แสดงความคิดเห็น