Banana Society (บานาน่า โซไซตี้) คือแบรนด์ผลิตภัณฑ์กล้วยตากของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา อ.บางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยเมื่อกว่า 6 ปีที่ผ่านมาแบรนด์นี้ได้สร้างกระแสความนิยมของการบริโภคกล้วยตากแบบฉีกซองชิ้นต่อชิ้น โดยเฉพาะกล้วยตากเคลือบช็อกโกแลตที่เป็นไอเดียนำเสนอกล้วยตากแบบใหม่ในแพ็คเกจกล่องกระดาษที่มีทั้งสีเรียบขรึมแต่ดูดีมีระดับ และกล่องสีสันสดใสที่มีลูกเล่นแบบกวนๆ
กว่าจะมาเป็นกล้วยตาก Banana Society กล้วยตากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงของอำเภอบางกระทุ่มเป็นอย่างมาก ซึ่งเราได้ประกอบธุรกิจนี้มาตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งเห็นว่าผลประกอบการมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงได้จัดตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา ขึ้นในปี 2548 โดยมีแนวคิดที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการ ผลิตกล้วยตากแบบดั้งเดิมของชาวอำเภอบางกระทุ่มที่สืบทอดตำนานการผลิตกล้วยตากมามากกว่าร้อยปี ให้ได้มาตรฐานตามระบบการผลิตอาหารปลอดภัย และเพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์กล้วยตากและสร้างชื่อเสียงให้แก่จังหวัดพิษณุโลก จากการที่ได้คลุกคลีกับวงการกล้วยตากมาเป็นเวลา 15 ปี ทำให้ได้เล็งเห็นถึงช่องทางในการขยายธุรกิจนี้ให้เติบโตขึ้นอีก โดยพบว่าผู้บริโภคในปัจจุบันหันมาใส่ใจด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และคุณภาพอาหารมากยิ่งขึ้น จึงได้หาแนวทางการตากกล้วยให้ได้มาตรฐานตามระบบการผลิตอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยได้รับความช่วยเหลือจาก รศ.ดร.เสริม จันทร์ฉาย ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และกรมพลังงานมาร่วมสร้างเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบกรีนเฮาส์(พาราโบลาร์โดม) ที่มีขนาดกว้าง 8 เมตร ยาว 20 เมตร รวมพื้นที่ 160 ตารางเมตร สามารถอบกล้วยตากได้ครั้งละประมาณ 1,400 หวี ซึ่งขณะนี้มีอยู่ 4 โดม
นอกจากเทคโนโลยีในการ อบแห้งที่ดีแล้ว เราต้องควบคุมกระบวนการผลิตตั้งแต่ การรับวัตถุดิบ การบ่ม การตัดแต่ง การอบแห้ง การบรรจุ จนถึงการขนส่ง ผลิตภัณฑ์เพื่อขายสู่ ผู้บริโภค ซึ่งขณะนี้เรากำลังมุ่งสู่การจัดทำระบบสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ตามมาตรฐาน Codex ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ชุดโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) และโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จนได้ผ่านการรับรองมาตรฐานระบบสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) ตามมาตรฐาน Codexในปี 2551 เพื่อให้เกิดกล้วยตาก ที่มีก าลังการผลิตสูงมีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคนอกจากนี้เรายังมีทีมงานที่มีประสบการณ์ และความชำนาญในระบบการผลิตกล้วยตากทั้งแบบลานตากกติและการตากแบบพาราโบลาร์โดม ซึ่งต้องอาศัยเทคนิคพิเศษและความรู้ความสามารถในการจัดการภายในโดมเป็นอย่างมากจึงจะให้ดีผลิตภัณฑ์กล้วยตากที่ดี สะอาด ปลอดภัย มีคุณภาพการผลิตที่สม่ าเสมอ และเกิดการสูญเสียน้อยที่สุดซึ่งปัจจุบันเราสามารถ ตากกล้วยได้ สูงถึง 90% ซึ่งทำให้ลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย
อย่างไรก็ตามในกระบวนการผลิตกล้วยตากก็ยังมีกล้วยตากที่ตกเกรด ซึ่งตามมาตรฐาน มอก. 586 – 2528 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกล้วยอบกระทรวงอุตสาหกรรม ได้แก่ กล้วยตากที่มีขนาดเล็กเกินไปและกล้วยตากที่เกิดความผิดปกติในส่วนของสีบริเวณผิวที่ไม่สม่ าเสมอหรือมีต าหนิต่าง ๆ จึงทำให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผาพบกับปัญหาการตกค้างของกล้วยตากที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะราคาจ าหน่ายของกล้วยตากตกเกรดมีราคาถูกมากจึงต้องหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดย สร้างแบรนด์สินค้า บานาน่า โซไซตี้ (Banana Society) โดยใช้ สโลแกน ว่า บานาน่า โซไซตี้ สังคมดีสู่คุณภาพ
“บาน่านา โซไซตี้ คือ ความสำเร็จของผู้ประกอบการไทยที่ขายกล้วยตาก อยู่ในอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัด พิษณุโลก สาเหตุที่กล่าวเช่นนั้น เพราะผู้บริโภคทั้งคนไทยและชาวต่างชาติให้การยอมรับในรสชาติ คุณภาพ และกระบวนการผลิต เนื่องจากสินค้าได้รับเครื่องหมาย HACCP และโคเด็กซ์ (CODEX) บ่งบอกถึงมาตรฐานการผลิตที่สูงระดับสากล ฉะนั้นปลอดภัยต่อผู้บริโภคอย่างแน่นนอน
ในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กล้วยตาก ซึ่งได้ผลการตอบรับที่ดีจากกลุ่มผู้บริโภควิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผาต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก
สำหรับสินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่าย ปัจจุบันมีหลายรูปแบบ อาทิ ผลิตภัณฑ์กล้วยตากพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งแบบกล่อง และแบบแพ็คเป็นซอง ซึ่งได้พัฒนาเคลือบรสช็อคโกแลตด้วย นอกจากนี้ ยังผลิตน้ำเชื่อมกล้วยตาก หรือผลิตภัณฑ์ไซรับกล้วยตาก ขณะนี้กำลังผลิตสบู่จากน้ำเชื่อมกล้วยตาก และอนาคตจะพัฒนาน้ำส้มสายชูกลั่นจากกล้วยตาก ซึ่งล้วนผลิตและพัฒนาในโรงงานเนื้อที่ 5 ไร่แห่งนี้
Banana Society (บานาน่า โซไซตี้)
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกล้วยตากบุปผา 2/3 หมู่ 4 ต.เนินกุ่ม อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก 65210 โทรศัพท์ 089 460 779, 081 805 3325 www.banana-society.com
ป้ายคำ : ภูมิปัญญา, ศูนย์เรียนรู้