ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง

28 มิถุนายน 2559 แหล่งเรียนรู้ 0

ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ตั้งอยู่ที่ หมู่ 9 ตำบลไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจุดเด่นที่เกษตรกรสามารถรวมกันจัดตั้งโรงงานแปรรูปยางพารามีการบริหารจัดการภายในกลุ่มอย่างเป็นระบบและพัฒนาให้เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรในจังหวัดอื่น ๆ ด้วยsonnmaireangsa

ศูนย์ก่อตั้งเมื่อปี 2535 โดยนายประยงค์ รณรงค์ ปราชญ์ชาวบ้าน เดิมทำสวนยางพาราและได้เห็นปัญหาต่าง ๆ ของชาวสวนยางพาราในชุมชน จึงได้ร่วมกับผู้นำชุมชนออกแบบสอบถามข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อให้รู้สาเหตุแห่งการเป็นหนี้สินโดยการจัดทำบัญชีครัวเรือน และจัดตั้งกลุ่มปรับปรุงคุณภาพยางและขายยางพารารวมถึงการพยายามพัฒนากระบวนการแปรรูปยางพาราด้วยการระดมทุนจัดตั้งโรงรมยางและเป็นต้นแบบให้ภาครัฐ สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่น ๆ ที่ทำอาชีพสวนยางพารา รวมทั้งได้ร่วมกับผู้นำเกษตรกรชาวสวนยางพาราภาคใต้จัดทำแผนพัฒนายางพาราไทยฉบับประชาชนตามแนวทางที่นำไปสู่การพึ่งพาตนเองตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และจากการเป็นผู้นำชุมชน/เครือข่ายที่มีประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง ทำให้นายประยงค์เข้าไปมีบทบาทในองค์กรที่สนับสนุนการพัฒนาชุมชนอยู่ในปัจจุบันจนได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติหลายรางวัลอาทิ รางวัลแมกไซไซสาขาพัฒนาชุมชน ครูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 1 ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนาธรรมไทย คนดีศรีสังคม ผู้นำอาชีพก้าวหน้าของกระทรวงมหาดไทย เป็นต้นโดยศูนย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาตามแนวทฤษฎีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี 2550

sonnmaireanga sonnmaireangob

ปรัชญาของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง คือ เรียนในสิ่งที่ต้องการทำ ทำในสิ่งที่รู้แล้ว ซึ่งได้มีการนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมพัฒนา และภายหลังได้มีการเพิ่มเติมปรัชญาใหม่เข้ามาในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในครึ่งหลังปี พ.ศ. 2540 คือ เรียนในสิ่งที่ต้องรู้ เรียนในสิ่งที่ควรรู้ เนื่องจากเห็นว่าชาวชุมชนควรจะมีการเรียนรู้เพิ่มเติม เพื่อเป็นการเตรียมตัวให้พร้อมที่จะรับมือและดำรงอยู่ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกิจกรรมต่างๆ นั้นเกิดขึ้นภายใต้การจัดการความรู้ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ซึ่งเป็นการนำความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชนและความรู้จากภายนอกชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชาวชุมชนในการสร้างอาชีพเสริม การจัดการความรู้ได้ส่งผลให้เกิดหลักสูตรการฝึกอบรมเกษตรกรทั่วไปในตำบลไม้เรียง ซึ่งประกอบด้วย 8 กิจกรรม จากนั้นจึงมีการเพิ่มเติมกิจกรรมใหม่เข้ามา คือ กิจกรรมโรงเรียนมังคุด ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น กิจกรรมการเพาะเลี้ยงกบ ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงได้อาศัยปัจจัยต่างๆ ในการเอื้อหรือสนับสนุนต่อการดำเนินกิจกรรม ซึ่งปัจจัยภายใน ได้แก่ โครงสร้างของศูนย์ฯ ด้านระบบการถ่ายทอดความรู้ของศูนย์ฯ ผู้นำชุมชนและคณะทำงานของศูนย์ฯ ด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์ การจัดการ ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ปัจจัยด้านนโยบาย จากการจัดการความรู้ได้ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียงขึ้น ทำให้ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง ได้มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยการถ่ายทอดความรู้ให้กับชาวชุมชนด้วยรูปแบบของศูนย์เรียนรู้ และจากกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวได้นำไปสู่การเรียนรู้ของชาวชุมชน

sonnmaireango

ปัจจุบันศูนย์มีศักยภาพในการจัดฝึกอบรม สามารถรองรับได้ 100 คน มีที่พักจำนวน 1 หลัง เต็นท์ที่พัก จำนวน 50 หลัง พร้อมเครื่องนอนมีห้องน้ำจำนวน 10 ห้อง มีวัสดุและอุปกรณ์การฝึกอบรมที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมทั้งมีวิทยากรซึ่งเป็นบุคลากรในพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการทำการเกษตรหลักสูตรที่อบรมประกอบด้วย การจัดทำแผนแม่บทชุมชน การพัฒนาอาชีพและการสร้างเสริมอาชีพ การจัดศูนย์เรียนรู้ชุมชน การพัฒนาองค์กร และการวางระเบิดวิสาหกิจชุมชน (การแปลงแผนสู่การปฏิบัติ)

sonnmaireangpray

เกษตรกรหรือผู้สนใจเข้ารับการการอบรมเกี่ยวกับการจัดทำแผนชุมชน การสร้างเสริมอาชีพ ติดต่อได้ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนไม้เรียง โทรศัพท์ 081-9560865 หรือ081-2589432

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น

Niño Polla Xxx Folla Con Su Padre KetoSex - الفلم الخالد... اجمل نيك طيز عربي 1 -xnxx سكس مترجم - سكس العرب jav subthai phim sex vietsub xnxx hd Desi Indian Hot Bengali Couple Sex Scene