ศูนย์เรียนรู้เกษตรวัฒนธรรมล้านนา

24 มิถุนายน 2557 แหล่งเรียนรู้ 0

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนายังมีกิจกรรมกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น ประเพณีวัฒนธรรมเกษตรล้านนา พิธีกรรมแฮกนา พิธีสู่ขวัญข้าว พิธีมัดมือควาย พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ พิธีกรรมนาข้าวขึ้นหลองข้าวการไถนาโดยใช้ควายการทาอาหารพื้นเมืองวัฒนธรรม การผลิตข้าวการดูแลป้องกันศัตรูพืชการเก็บเกี่ยว และการแปรรูปจากข้าวการปลูก ผักสวนครัวหลังบ้าน และรั้วบ้านเช่น ผักไผ่ข่า กะเพรา ผักปัง ตาลึง ตะไคร้ ตูน ใบบัวบก มะเขือเทศ ช้าพลู เป็นต้น การเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย ไก่ประดู่หางดำ เป็ดไข่ สุกร การเลี้ยงปลาในนาข้าว การเลี้ยงปลาในบ่อ การใช้ชีวิตความเป็นอยู่ตามวิถีล้านนา เกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่

ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนามีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน ๓๕ ไร่ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วน

  1. พื้นที่วิถีชีวิตเกษตรล้ำนนา
  2. พื้นที่เกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้ำนนาที่ได้รวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านการเกษตรล้ำนนา ทั้งด้ำนทฤษฏีข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลแบบสัมภาษณ์ จากปราชญ์ชาวบ้ำนการจำลองพื้นที่ให้เป็นวิถีชีวิตเกษตรล้ำนนาเหมือนจริง ความเชื่อสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ การจัดแสดงนิทรรศการการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรล้านนา และเกษตรผสมผสานทฤษฏีใหม่ตามแนวพระราชดำริ

soonlannaprach

ในศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนายังประกอบด้วย

  • บ้ำนไทโยนก จำนวน ๑ หลัง
  • บ้ำนกะเหรี่ยงปากะญอ ๔ หลัง
  • หลองข้ำว ๑ หลัง
  • โรงมองตำข้ำว ๑ หลัง
  • ศาลาจัดแสดงนิทรรศการ ๑ หลัง
  • คอกวัว-ควาย ๒ หลัง
  • โรงเรือนเลี้ยงไก่ต๊อม
  • อาบน้ำ
  • น้ำบ่อ
  • ห้างนา
  • ฯลฯ

soonlannabannsoonlannatorsoonlannatan soonlannaboo soonlannana soonlannapug

มีการปรับแต่งภูมิทัศน์โดยรอบพื้นที่ประกอบด้วยต้นไม้ประจำท้องถิ่น เช่น ต้นหมาก ต้นกล้ำย ต้นลำไย ต้นมะยม ต้นขนุน ต้นโชค ต้นมะเกี๋ยง ต้นแคนา ต้นยางนา และไม้ดอกไม้ประดับพื้นเมือง เช่น ต้นชมพอ ดอกพุดซ้อน ดอกสะบันงา โกศลใบ เล็บคุด ดอกจำปี ดอกเอื้องผึ้งฯลฯ

พื้นที่ศูนย์เรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนามีพื้นที่โดยประมาณ 35 ไร่ เป็นพื้นที่เตรียมการสาธิตด้านเกษตรล้านนา จำลองวิถีชีวิตเกษตรกรในอดีต ภูมิปัญญาเกษตรพื้นบ้านท้องถิ่นเพื่อเตรียมการรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯที่เป็นแหล่งการเรียนรู้วิถีชุมชนเกษตรวัฒนธรรมล้านนาและมหาวิทยาลัยมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้วิถีชุมชนเกษตรล้านนาจากปราชญ์ชาวบ้านในแต่ละชุมชนที่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้วิถีชีวิตเกษตรล้านนา เช่นการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกข้าวการใช้สัตว์ไถนาวิถีชีวิตเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก การเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย สุกร เป็ด ไก่ การประมงพืชสมุนไพร พืชไร่พืชสวนและผลไม้มุ่งหวังที่จะสร้างงานพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเกษตรล้านนา สนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์การเกษตรท้องถิ่นสามารถเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นคลังความรู้ของนักศึกษาชุมชน สร้างจิตสำนึกร่วมกันให้เกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนและเป็นเวทีให้คนในท้องถิ่นถ่ายทอดประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตความต้องการให้แก่คนรุ่นใหม่ และคนภายนอกได้ศึกษารวมถึงสนับสนุนให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตมีเวทีและเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริงเกิดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน ที่สามารเลี้ยงตนเองได้ในวิถีเกษตรล้านนาอย่างแท้จริง

soonlannasorn soonlannapui

งานพิพิธภัณฑ์การเกษตรและวัฒนธรรมไทย ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เลขที่ 63 หมู่ 4 อาคารอำนวย ยศสุข ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ 50290
โทรศัพท์ติดต่อ : 0-5387-5321-2
โทรสาร : 0-5387-5321
e-mail: birthd@gmail.com และ/หรือ anusorn@mju.ac.th

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด แหล่งเรียนรู้

แสดงความคิดเห็น