สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง

23 ตุลาคม 2557 ศาสตร์พระราชา 0

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 ตามพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีพระราชประสงค์ให้ชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามดอยต่าง ๆ ทางภาคเหนือเลิกการปลูกฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอย อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้และต้นน้ำลำธารของประเทศถูกทำลาย สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีที่ทดลอง ค้นคว้าวิจัยพืชเมืองหนาวเพื่อนำผลการทดลอง ค้นคว้า และวิจัยไปส่งเสริมให้ชาวไทยภูเขาในพื้นที่ปลูกทดแทนฝิ่น

angkangpay

สถานที่ตั้งและลักษณะทั่วไป

  1. ที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตหมู่บ้านคุ้มหมู่ที่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร พื้นที่ประมาณ 1,811 ไร่
  2. ภูมิประเทศ บริเวณดอยอ่างขางมีลักษณะเป็นแอ่งรูปรีคล้ายกะทะประกอบด้วยเขาหินปูน และเขาหินดินดาน ความลาดชันของพื้นที่ไหล่เขาสองด้านระหว่าง 15 – 45 เปอร์เซ็นต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดของเทือกเขาอ่างขางสูงประมาณ 1,920 เมตร พื้นที่ราบบริเวณที่ตั้งของสถานีฯ สูง 1,400 เมตร ลาดจากเหนือลงใต้
  3. ภูมิอากาศ มีอากาศหนาวเย็นยาวนานและมีอุณหภูมิต่ำมากในฤดูหนาว ภูมิอากาศปี 2554 อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 13.7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 22.0 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน (ต.ค.52-ก.ย.54) รวม 2,394.30 มิลลิเมตร

angkangbann angkangdok angkangcha angkangkaw

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นสถานีที่สำคัญเทศไทยในการวิจัยพืชเขตหนาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ผลเขตหนาว ไม้ป่าโตเร็ว พืชผัก สมุนไพร ไม้ดอกไม้ประดับ ชาจีน ฯ การดำเนินงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ คือ

1. การศึกษาวิจัยพืช เมืองหนาวได้แก่ ไม้ผล พันธุ์ไม้โตเร็ว ไผ่ พืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ กุหลาบสายพันธุ์ต่าง ๆ สมุนไพร ชาจีน ลินิน

angkangtawe

2. งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเกษตรบนพื้นที่สูง เป็นแหล่งวิชาการและเป็นศูนย์การเรียนรู้ เป็นสถานที่ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เกษตรกร นักศึกษาจากสถาบันและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ

angkangnam

3. งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขา โดยมีส่วนราชการต่าง ๆ ร่วมดำเนินงานในรูปของคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง

การดำเนินงานของสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
1.งานศึกษาวิจัย
สถานีเกษตรหลวงอ่างขางตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นตลอดปี ดังนั้นจึงเป็นสถานีหลักในการศึกษาวิจัยไม้ผลเขตหนาวของโครงการหลวงนับเป็นสถานีวิจัยไม้ผลเมืองหนาวที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยที่ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยและขยายพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ ได้แก่

  • 1.1 งานรวบรวมและศึกษาพันธุ์ไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ เช่น พี้ช , สาลี่ , พลับ , พลัม บ๊วย , กีวีฟรู้ท และสตรอเบอรี่
  • 1.2 งานศึกษาพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่าง ๆ และไผ่ต่าง ๆ สำหรับใช้ปลูกทดแทนป่าไม้ที่ถูกทำลาย เช่น ไม้โตเร็ว กระถินดอย , เมเปิลหอม , จันทร์ทอง ฯ ,เพาโลเนีย และไผ่หวานอ่างขาง ไผ่หยก
  • 1.3 งานศึกษาและทดสอบพันธุ์ไม้ตัดดอก บางชนิด เช่น กุหลาบ , ฟรีเซีย , โปรเทีย ไม้หัวและไม้ดอกกระถาง
  • 1.4 งานศึกษาและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร พืชผักเมืองหนาวชนิดต่าง ๆ และผักใหม่ชนิดต่าง ๆ

angkanghao angkangstor

2.งานเผยแพร่และฝึกอบรม
เนื่องจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นแหล่งทางวิชาการปลูกพืชบนที่สูงที่สำคัญของประเทศในแต่ละปีใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่และเกษตรกรของมูลนิธิฯ จำนวนมากประกอบกับมีผู้สนใจจากองค์กรและสถาบันต่างๆ เข้าเยี่ยมชมและดูงานเป็นอันมาก มูลนิธิ-โครงการหลวงจึงได้จัดสร้างอาคารฝึกอบรมการเกษตรที่สูง ที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมและเผยแพร่งานของโครงการหลวงในด้านต่างๆให้แก่เกษตรกรและเจ้าหน้าที่ของโครงการหลวง ส่วนราชการ ผู้สนใจ และ แก่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ธันวาคม 2540

angkangsuan80 angkangpag

งานพัฒนาและส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรเป็นการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนาอาชีพแก่เกษตรกรชาวเขาบริเวณรอบๆ สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ซึ่งเป็นชาวเขาเผ่าต่าง ๆ รวม 4 เผ่า ได้แก่ ปะหล่อง มูเซอ ไทยใหญ่ และจีนฮ่อ โดยมีส่วนราชการต่างๆ ร่วมดำเนินงานในรูปคณะทำงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงอ่างขาง

กิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผนการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการปลูกไม้ผล ไม้ตัดดอก พืชผัก ชาจีน การผลิตไหลสตอเบอรี่ การฟื้นฟูระบบนิเวศ ในพื้นที่ต้นน้ำโดยการฟื้นฟูป่าโดยธรรมชาติและการปลูกป่าชาวบ้าน

3.งานส่งเสริมที่นำไปสู่เกษตรกร ได้แก่

  1. งานทดสอบและส่งเสริมพืชเครื่องดื่มชา
    ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกชาพันธุ์ No.12 (ชาเขียวและชาอูหลง) , หย่วนจืออูหลง, พันธุ์ลูกผสม (ชาเขียวและอูหลง)
  2. งานส่งเสริมผัก
    มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักที่แปลง 2000 ,บ้านนอแล และ บ้านขอบด้งหลากหลายชนิดด้วยกัน เช่น ผักกาดหางหงส์, คะน้าใบหยิก, กะหล่ำปลีหัวใจ คะน้าฮ่องกง, ถั่วหวาน ฯลฯ
  3. งานส่งเสริมไม้ดอก
    ได้ให้เกษตรกรปลูกดอกหลายชนิดด้วยกัน เช่น กุหลาบตัดดอก (บ้านนอแล),เบญจมาศ (บ้านขอบด้ง),ยูคาลิบตัส (บ้านนอแล),ไม้กระถางสาธิต(บ้านขอบด้ง)
  4. งานส่งเสริมสตรอเบอรี่
    มีการแนะนำเกษตรกรบ้านขอบด้งในการเก็บผลผลิตสตรอเบอรี่ที่ถูกต้อง เพื่อจำหน่ายและวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูสตรอเบอรี่ รวมถึงการให้ปุ๋ย เป็นต้น
  5. งานส่งเสริมไม้ผล
    ส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูก บ๊วย, พี้ช, สาลี่, พลับ, และแนะนำวิธีการเปลี่ยนพันธุ์ ต่อกิ่ง การให้ปุ๋ย และ การดูแลรักษา
  6. งานส่งเสริมกาแฟ
    มีการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิก้า ดูแลถึงวิธีการให้ปุ๋ย การใช้สาร เพื่อป้องกันโรคและแมลง
  7. งานส่งเสริมพืชไร่
    ส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกลินิน และ ปลูกข้าวบาร์เล่ย์ (เพื่อทำดอกไม้แห้ง)
  8. งานป่าชาวบ้าน ส่งเสริมชาวเขาเผ่าปะหล่องที่เข้าร่วมโครงการป่าชาวบ้านปลูกป่าพวกพรรณไม้โตเร็วของประเทศไต้หวันและมีการตัดแต่งกิ่งไม้ที่โตแล้วนำไปใช้งาน (ทำฟืน)

angkangtor angkangtom angkangnam

http://www.angkhangstation.com
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง หมู่ 5 ต.แม่งอน อ.ฝาง จ. เชียงใหม่ โทรศัพท์ 053-450107-9
ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวสถานีฯอ่างขาง โทรศัพท์ 053-450077

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ศาสตร์พระราชา

แสดงความคิดเห็น