สนฉัตร ไม้สนประดับยอดนิยม

7 สิงหาคม 2559 ไม้ดอกไม้ประดับ 0

สนฉัตร จัดเป็นไม้สนประดับชนิดหนึ่งที่นิยมปลูกในปัจจุบัน เนื่องจากแตกกิ่งแผ่ออกเป็นชั้น ใบมีสีเขียวสวยงาม ลำต้น และทรงพุ่มไม่ใหญ่ เหมาะสำหรับการปลูกในกระถาง และปลูกในสวนหย่อม คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นสนฉัตรไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความสนใจจากบุคคลทั่วไป เพราะ สน คือการสนใจ เห็นใจ ในสิ่งที่ดีงามนอกจากนี้ยังทำให้มีเกียรติและความสง่า เพราะ สนฉัตร มีทรงพุ่มลักษณะคล้ายเครื่องสูงที่ใช้ในพิธแห่เกียรติยศ และลักษณะการเจริญของลำต้นกิ่งก้านเด่นชัด ตระหว่านงาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Araucaria cookii R.Br. (Salisb.) Franco
ชื่อวงศ์ ARAUCARIACEAE
ถิ่นกำเนิด เกาะนอร์ฟอล์ค ออสเตรเลีย

ลักษณะ
สนฉัตรเป็นไม้ขนาดใหญ่ มีอายุนานหลายสิบปี มีลำต้นสูงมากกว่า 6 เมตร ขึ้นไป จนถึง 45-60 เมตร ลำต้นที่มีขนาดใหญ่สามารถมีขนาดได้ถึง 1.5-3 เมตร เปลือกด้านนอกสามารถแกะออกได้เป็นสะเก็ดบางๆ กิ่งแตกออกด้านข้างลำ

  • ต้นเป็นวงรอบ 4-7 กิ่ง แต่โดยทั่วไปมักจะมีประมาณ 5 กิ่ง ในแต่ละกิ่งจะมีกิ่งย่อยแตกออกตามความยาวของกิ่ง และจะโค้งขึ้นเล็กน้อยที่บริเวณปลายกิ่ง
  • ใบของสนฉัตรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มใบอ่อนที่แตกออกใหม่จะมีลักษณะโค้งเข้า มีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะนุ่ม สีเขียวสด ขนาดประมาณ 1.5 เซนติเมตร และอีกกลุ่มคือใบที่แก่แล้วจะมีลักษณะปลายใบมีขนาดเล็ก และแหลม ขึ้นเรียงซ้อนกันเป็นเกล็ดหนาทึบ และขึ้นเป็นเกลียวรอบกิ่ง อาจมีลักษณะตรงหรือโค้ง ขนาดยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร
  • ดอกสนฉัตรประกอบด้วยเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมียรวมอยู่ในต้นเดียวกันหรืออาจแยกต้นกันอยู่ ส่วนมากจะพบแยกต้นกันอยู่ แต่จะพบบ้างเล็กน้อยที่ทั้งสองเกสรอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกจะแทงออกบริเวณยอด มีดอกตัวผู้อยู่ด้านบน ก้านเกสรแต่ละอันประกอบด้วยอับละอองเกสร โดยทั่วไปจะมีสีเหลืองม่วงหรือแดงเข้ม
    ส่วนเกสรตัวเมียเกิดในกระเปราะรูปกรวย เป็นแบบ clavate หรือ sub-globose ประกอบด้วยกลีบดอกที่เป็นหมันที่อยู่ด้านล่าง ส่วนด้านบนจะเป็นที่สร้างเมล็ด และ scale จำนวนมาก เรียงซ้อนกันเป็นวงต่อเนื่องกันกับใบ ซึ่งแต่ละอันจะสร้างเป็น 1 เมล็ด
  • เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10-15 เซนติเมตร บริเวณโคน scale มีจำนวนมาก และมีการเรียงตัวแบบเกลียวอยู่ชิดซ้อนกันเป็นเกล็ดๆ ตรงส่วนปลายมีลักษณะยาวเป็นแบบ lancaolate acuminate ตรงบริเวณขอบมีลักษณะบางลงเป็นปีก (wing) ส่วนบริเวณยอดจะหนา และแข็ง และอยู่ติดกับเมล็ดเดียวแบนๆไม่มีปีก
    ในแต่ละ scale จะประกอบด้วยเมล็ด 1-6 เมล็ด มีขนาดความกว้างมากกว่าความยาว ขนาดยาวประมาณ 7.5-10 เซนติเมตร กว้าง 8.75-11.25 เซนติเมตร ตรงบริเวณปลายของ scale จะแบน และนุ่ม

sonchatton sonchatking sonchatbais

การปลูก
การปลูก และขยายพันธุ์สนฉัตรมี 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ด และการปักชำ

  1. การปลูกด้วยเมล็ด
    การปลูกด้วยเมล็ดจะมีข้อดี คือ ต้นสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีการแตกกิ่งออกเป็นชั้นๆ และมีความเป็นระเบียบ ขนาดปล้องลำต้นจะยาว แต่ไม่ค่อยนิยมสำหรับเป็นไม้ประดับ เนื่องจากต้นจะโตเร็ว ปล้องมีขนาดยาว และเมื่อปลูกนานหลายปีต้นจะสูงใหญ่ไม่สวยงาม
    การปลูกด้วยเมล็ดจะต้องใช้วัสดุดินปลูกที่มีความร่วนซุย ซึ่งควรผสมดินกับวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์ แกลบ ขี้เถ้า ขี้เลื่อย ขุ๋ยมะพร้าว เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งดินเหนียวหรือดินทรายที่มีความร่วนซุยน้อย และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
    การปลูกด้วยเมล็ดนิยมเพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อนหรือเพาะในกระถางก่อนนำลงปลูกในพื้นที่จริง ซึ่งจะช่วยในด้านความสะดวกในการกำจัดวัชพืช และการดูแลรักษา
    การเพาะเมล็ดจะใช้วิธีการหว่านลงแปลงหรือหยอดเมล็ดในกระถาง แล้วกลบด้วยดินบางๆ หรือโรยด้วยปุ๋ยคอก แล้งจึงรดน้ำให้ชุ่ม
  2. การปลูกด้วยต้นปักชำ
    การปกลูกด้วยกิ่งปักชำจะมีข้อดี คือ ให้ลำต้นเตี้ย ชั้นของกิ่งหรือปล้องของลำต้นถี่ แน่น ลำต้นไม่สูง การเติบโตช้า แต่จะให้ลักษณะสีใบ ขนาดใบ และความสวยเหมือนต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด แต่มีข้อแตกต่างที่ทรงพุ่มจะเตี้ย และมีจำนวนกิ่งที่มากกว่า
    ต้นตอที่ใช้ตัดเพื่อปักชำจะได้จากต้นตอที่ปลูกด้วยเมล็ด โดยจะให้ต้นเจริญเติบโตให้แตกกิ่งประมาณ 3-6 ขั้น ก่อนตัดปักชำ

sonchatkas sonchattang

การดูแลรักษาต้นปักชำในระยะแรก ควรให้ต้นได้รับแสงแดดพอรำไร ด้วยการขึงสะแลนกันแดดหรือวางต้นปักชำในที่ร่ม ส่วนการเตรียมดินควรใช้วัสดุปลูกที่มีความร่วนซุยดังที่กล่าวข้างต้น นอกจากนั้น ในระยะแรกควรให้น้ำเพียงวันละครั้ง ในปริมาณที่พอดินชุ่มเท่านั้น จนกว่าต้นปักชำจะติด และเกิดราก จนตั้งต้นได้ค่อยให้น้ำ 1-2 ครั้งต่อวัน ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น

sonchatyod

ที่มา: โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ดอกไม้ประดับ

แสดงความคิดเห็น