สมชาย จริยเจริญ ผู้บริหารท้องถิ่นนอกกรอบ

จากอดีตนิสิตจุฬาฯ ซึ่งเป็นนักกิจกรรมของมหาวิทยาลัย และมีแนวคิดในการทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด ต่อมาเมื่ออาสามาเป็นนักการเมืองท้องถิ่น สมชาย จริยเจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง จึงมีความตั้งใจพัฒนาเมืองแกลงบ้านเกิดของตนเองให้สามารถพึ่งตนเอง และมีความพอเพียงโดยเน้นที่การอยู่ดี กินดี จนได้รับการยอมรับจากชุมชน และได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรี ตำบลเมืองแกลง 3 สมัยติดต่อกัน

โดยในปี พ.ศ.2546 เป็นช่วงเวลาที่นายสมชาย ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีฯ เป็นสมัยแรก สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ชักชวนเทศบาลฯ ให้เข้าร่วมโครงการรณรงค์รักษาสภาพภูมิอากาศเพื่อเมืองน่าอยู่ ซึ่งมุ่งเน้นให้เมืองต่างๆ ได้เข้าใจและร่วมกันแก้ไขสภาพภูมิอากาศที่เลวร้าย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนรองจากการผลิตกระแสไฟฟ้า คือ การขนส่ง

จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และความกินดี อยู่ดี ของคนเมืองแกลงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการจัดระบบการขนส่ง ขสมก. หรือ ขนส่งเมืองแกลง โดยเชิญชวนประชาชนให้ใช้จักรยานแทนรถยนต์ส่วนตัว , มีรถรางบริการรับ-ส่ง ผู้สูงอายุ และประชาชนไปออกกำลักายที่สนามกีฬา และให้บริการรับส่งนักเรียน ทุกวัน

กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่น้ำประแส เช่น จัดให้มีการบำบัดน้ำด้วยถังดักไขมันก่อนปล่อยสู่แม่น้ำ , สร้างเครือข่ายอนุรักษ์ แม่น้ำประแส

กิจกรรมเกษตรเมือง เป็นการส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ในชุมชนเมือง โดยมีศูนย์เรียนรู้ ที่ดำเนินงานจริงโดยเทศบาลฯ และ ให้ประชาชนมาเรียนรู้ แบ่งเป็น โรงคัดแยกขยะ โรงกากไขมันอัดก้อน โรงเลี้ยงสัตว์ โรงหมักก๊าซชีวภาพ น้ำจุลินทรีย์ ฟาร์มไส้เดือน และโรงเลี้ยงหมูหลุม ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ล้วนช่วยแก้ปัญหา ขยะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม ได้ครบวงจร

ตลอดหลายปีที่ผ่านมา สมชาย จริยเจริญ จึงถือเป็นนักบริหารรุ่นใหม่ผู้มีหัวใจสีเขียว ที่ มุ่งพัฒนาเมืองแกลงซึ่งเป็นบ้านเกิด ด้วยการคิดนอกกรอบ และยึดประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อให้แกลงเป็นเมืองแห่งแหล่งอาหาร เมืองแห่งะรรมชาติของป่าไม้ สายน้ำ และอากาศบริสุทธ์ ตลอดไป

นายสมชาย จริยเจริญ พลิกเมืองแกลงให้เป็นเมืองสีเขียว
สิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมส่งผลดีต่อชีวิตชุมชน สุขภาพแวดล้อม ชุมชนเข้มแข็ง ผู้คนรักบ้านเกิด ไม่ทิ้งถิ่น และร่วมสร้างสรรค์สังคมที่เป็นสุข นี่คือแนวคิดของ สมชาย จริยเจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง ผู้นำรุ่นใหม่คิดนอกกรอบเพื่อการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการ พลิกเมืองแกลงที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมให้เป็นเมืองคาร์บอนตํ่าเพิ่มมูลค่าขยะ และสร้างระบบ เกษตรเมืองทำให้แกลงกลายเป็นเมืองต้นแบบของการพัฒนาเมืองสีเขียวทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศสมชาย จริยเจริญ อายุ 47 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองแกลง จังหวัดระยอง อาศัยทุนเดิมที่เคยเป็นนักกิจกรรมสมัยศึกษาอยู่ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เก็บประสบการณ์มาเป็นนักการเมืองท้องถิ่นด้วยความตั้งใจพัฒนาเมืองแกลงบ้านเกิด จนประชาชนยอมรับและได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองแกลง 3 สมัยติดต่อกันด้วยแนวคิด ยึดประชาชนเป็นที่ตั้งพัฒนาให้เมืองหวนคืนสู่อดีตเน้นความพอเพียงและพึ่งพาตนเอง

somchaijariyap

จุดเริ่มต้นนี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2546 ปีที่นายสมชาย เข้ามาดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเมืองแกลงเป็นสมัยแรก และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ชักชวนเทศบาลฯ ให้เข้าร่วมโครงการรณรงค์รักษาสภาพภูมิอากาศเพื่อเมืองน่าอยู่ (Cities for Climate Change Program-CCP) ซึ่งมุ่งเน้นให้เมืองต่างๆ มีส่วนร่วมในการแก้ไขความเสื่อมโทรมของสภาพภูมิอากาศผมเชื่อว่าคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุใกล้ตัวเช่นเกิดจากครัวเรือนการเดินทางดังนั้นเราจึงต้องปรับวิธีการดำเนินชีวิตของประชาชนและโครงสร้างของเมืองให้เอื้อต่อการลดหรือการปล่อยอากาศที่เป็นมลพิษขณะเดียวกันก็ต้องหาหนทางเพิ่มออกซิเจนและฟื้นฟูสภาพเมืองให้น่าอยู่ไปพร้อมๆกัน นายสมชาย กล่าว
การสร้างเมืองแกลงให้เป็นเมืองคาร์บอนตํ่าต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนเทศบาลตำบลเมืองแกลงเริ่มต้นด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนและเด็กนักเรียนเดินทางโดยระบบการขนส่ง ขสมก. หรือ ขนส่งเมืองแกลง ที่ให้บริการฟรีระบบขนส่งเมืองแกลง คือ

  • ทำถนนบายพาสเพื่อย่นระยะทาง
  • เชิญชวนให้ประชาชนใช้จักรยานเดินทางในระยะใกล้ แทนการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • จัดระเบียบจราจรเพื่อความคล่องตัวในการเดินทาง
  • การใช้รถรางบริการรับ-ส่ง ผู้สูงอายุและประชาชนไปออกกำลังกายที่สนามกีฬาและสวนสาธารณะ และให้บริการรับส่งนักเรียน โดยให้บริการทุกวัน (เว้นวันอาทิตย์) วันละ 2 ช่วงเวลา คือช่วงเช้า เวลา 05.00-07.00 น. และช่วงบ่ายเวลา 16.00-18.00 น. เพื่อลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว
  • การนั่งรถรางชมเมือง (City Tour) ซึ่งเป็นการให้บริการสำหรับคณะทัวร์ที่มีความประสงค์จะไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในเขตเทศบาลฯต่อมา เทศบาลฯ ทำการบันทึกข้อมูลจำนวนรถยนต์บนถนนสายหลักในเขตเทศบาล เพื่อคำนวณหาปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยสู่บรรยากาศเพื่อจัดทำโมเดลหรอื แบบจำลองสำหรับคาดการณ์จำนวนรถยนต์และปรมิ าณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นการปูทางไปสู่วิธีการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบในอนาคต

การจัดการขยะเป็นผลงานเด่นอีกเรื่องหนึ่งที่ทำให้เมืองแกลงกลายเป็นต้นแบบ โดยใช้แนวคิดมองจากต้นทาง คือครัวเรือน และจัดการให้เกิดประโยชน์ทุกขั้นตอน มีการรณรงค์ให้ประชาชนคัดแยกขยะ มีจุดบริการขยะรีไซเคิล รณรงค์ให้ติดตั้งถังดักจับไขมันจากขยะจำพวกเศษอาหารก่อนปล่อยลงแหล่งนํ้าเพื่อป้องกันนํ้าเน่าเสีย สำหรับไขมันจากบ่อดัก เทศบาลจะรับซื้อทำเป็นแท่งไขมันอัดก้อนเพื่อทำเป็นเชื้อเพลิง ส่วนขยะประเภทเศษอาหารจะนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์ (หมู แพะ กระต่าย) กิ่งไม้ ใบไม้จะถูกส่งเข้าเครื่องบดเพื่อนำไปเป็นอาหารของไส้เดือนและทำปุ๋ยหมัก พลาสติก กระดาษ และกล่องนมจากโรงเรียนถูกส่งขายต่อให้โรงงานรีไซเคิลด้วยวิธีการจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้เมืองแกลงมีขยะที่ต้องฝังกลบน้อยกว่าปริมาณขยะที่ผ่านกระบวนการต่างๆ เทศบาลมีรายได้จากการขายปุ๋ยมูลสัตว์ นํ้าจุลินทรีย์ และก้อนไขมัน ที่ย้อนกลับมาเป็นงบประมาณในการพัฒนาตำบลเมืองแกลงจากการดำเนินงาน สามารถลดปริมาณขยะได้ปีละ 23,800 ตัน และขยะที่เก็บก็สามารถนำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพได้ 635,100 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ทดแทนแก๊สหุงต้ม (แอลพีจี) ได้ 2.92 แสนกิโลกรัมต่อปี ผลิตเชื้อเพลิงขยะได้ 7,900 ตันต่อปี คิดเป็นพลังงาน 2,200 เทียบเท่านํ้ามันดิบ หรือประมาณ 16 ล้านบาร์เรลลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 5,700 ตันต่อปีกระบวนการจัดการขยะแบบครบวงจรนี้ช่วยประหยัดงบประมาณของเทศบาลฯ ตามปริมาณขยะที่ต้องจ่าย กิโลกรัมละ 1 บาท ในการกำจัด และกลายเป็นรายได้ที่กลับมาเป็นประโยชน์ทั้งด้านการเกษตรและด้านพลังงานและเป็นแหล่งดูงานจากหน่วยงานต่างๆ ในปี พ.ศ.2552-2553 มีผู้มาศึกษาดูงานจำนวนทั้งสิ้น 6,209 คน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูแม่นํ้าประแส เช่น จัดให้มีการบำบัดนํ้าดัวยถังดักไขมันและจุลินทรีย์ สนับสนุนเครือข่ายลุ่มนํ้าประแส และส่งเสริมกิจกรรมเครือข่ายนักสืบสายนํ้าให้กับโรงเรียนต่างๆ ในอำเภอแกลงเมื่ออากาศดี นํ้าดี นายกฯ สมชายก็หันมาส่งเสริมเรื่องดินดี ด้วยการทำ เกษตรเมือง เกษตรเมืองเป็นแนวคิดใหม่ เป็นการทำนาและปลูกผักสวนครัวในเขตเมืองที่มีพื้นที่ทิ้งรกร้าง หรือการทำเกษตรกรรมในพื้นที่จำกัดแต่ให้ผลผลิตแน่นอนเป็นการใช้พื้นที่การเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพแบบลดต้นทุนเพราะใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่เกิดจากกระบวนการกำจัดขยะของเมือง

ผมชักชวนให้ประชาชนหันมาทำนาและรณรงค์ให้ปลูกพืชผักสวนครัวไว้กินเองในครัวเรือนเพราะปัจจุบันดินและนํ้าของเมืองแกลงนั้นสะอาดดินก็ดีขึ้นมากการหันมาพึ่งพาตนเองจะช่วยลดการซื้ออาหารและวัตถุดิบต่างๆที่สามารถผลิตเองได้ประการสำคัญยังช่วยให้คนมีสำนึกรักธรรมชาติมากขึ้น นายสมชาย กล่าว

somchaijariya

ด้วยแนวคิดการพัฒนานอกกรอบ สามารถพลิกเมืองแกลงจากเมืองมลภาวะให้กลายเป็นเมืองสีเขียว เป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งยังเสริมสร้างหลักการพึ่งพาตนเองด้วยการทำเกษตรเมือง เป็นการบริหารงานในระดับโครงสร้างเพื่อให้เมืองแกลงเป็นสังคมที่เปี่ยมสุข

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ปราชญ์ของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น