“ถ้าจะเอาชนะความยากจนให้ได้ เกษตรกรต้องหันมาสู่แนวทางเกษตรอินทรีย์” ผู้ที่กล่าวคำกล่าวนี้ อย่างเสมอ ทุกหนทุกแห่งที่มีโอกาส คือ “ท่านสมณะเสียงศีล ชาตวโร” ท่านเป็นประชาชนในสมณเพศ ที่ต่อสู้ เรื่องเกษตรอินทรีย์อย่างจริงจังมาโดยตลอดไปเยี่ยมเยือนเกษตรกร ไปให้ความรู้ ไปเป็นวิทยากร จัดรายการวิทยุ เขียนหนังสือ ก็ล้วนแต่มุ่งประเด็นที่จะให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน โดยหันมาสู่ เกษตรอินทรีย์ชีวภาพ วันนี้เรามากราบคารวะขอความรู้ ความคิดเห็นจากท่าน ซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ ต่อพ่อแม่พี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างสูงทีเดียว
ท่านสมณะเสียงศีล ชาตวโร เกิดเมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๒ โดยมีพี่น้องทั้งหมด๗คเป็นชายสามหญิงสี่ ท่านเป็นบุตรชายคนโตของครอบครัวพ่อกับแม่ตั้งเป้าหมายไว้จะให้ท่านเสียงศีลได้ศึกษาเล่าเรียนสูงๆ ท่านจบมศว.ปทุมวัน และทํางานรับราชการที่กรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ถึง๖ปี ได้มองชีวิตของตนว่าเป็นฆราวาสต่อไปก็ต้องมีครอบครัวไม่มีอะไรดีขึ้นหนําซํ้าดีไม่ดีไป ก่อกรรมทําเวรเอาเปรียบเขาสุดท้ายก็ไม่มีใครหนีตายได้ซักคนประกอบกับวัยเด็กชอบนั่งสมาธิเพราะตากับยายชอบนั่งสมาธิ ทําให้อายุยืนและจิตใจดีได้เอาข้าวไปส่งยายที่วัดทุกวันในสมัยวัยเด็กทําให้ได้ใกล้ชิดวัด ประกอบกับได้อ่านประวัติของหลวงปู่มั่น เจ้าคุณนอ ฯลฯ ทําให้เลื่อมใสศรัทธาคิดว่าบวชเป็นพระคงสงบสุขดีนะประจวบกับได้พบกับท่านโพธิรักษ์ ได้ติดสอยห้อยตามอยู่นานก่อนจะได้รับการบวชเป็นสงฆ์เมื่อปี พศ. ๒๕๑๙ โยมพ่อโยมแม่ร้องไห้เสียใจใหญ่ เพราะเป็นลูกชายคนโตหวังพึ่งพิงยามวัยชราถึงกับลงทุนปลูกบ้านเนื้อที่ประมาณ ๒ งาน ไว้ให้ลูกชายได้อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯเมื่อสมัย ๒๐ ปีก่อนสมัยบวชปีแรกๆ ท่านได้ถือสันโดษเคร่งครัดในพระธรรมวินัย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านอ่านหนังสือได้เร็วเปิดแผลบ ๆ รู้เรื่องหมดสมัยเรียนก็สอบวิชาฟิสิกส์ได้ท๊อปกินมื้อเดียวมาตั้งแต่ก่อนบวชและไม่ติดอบายมุขใด ต่อมาเห็นว่าการถือสันโดษเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้ พอดีก่อนโยมแม่เสียชีวิตได้ ๒ ปีได้ขออนุญาตท่านโพธิรักษ์ไปดูแลรักษาโยมแม่ที่ จ.สิงห์บุรี โดยมีลูกศิษย์ติดตามไปด้วยเมื่อไปอยู่ที่นั่นแล้ว ถ้าไม่มีอะไรจะทําก็เกรงกว่าลูกศิษย์จะหนีหมดจึงได้ศึกษาแนวทางการการทําเกษตรแนวชีวภาพ ทดลองหมักผลไม้เพราะมีผลไม้เยอะและมีที่ทางมาก ร่วมกับป้าเกลี้ยงซึ่งเป็นคนจีนและรู้จักวิธีการหมักเป็นอย่างดี จึงเป็นที่มาของ ชมรมเพื่อนช่วยเพื่อนจ.สิงห์บุรี ได้ทดลองทํานํ้าหมักผลไม้เพื่อสุขภาพเมื่อประมาณ ๖-๗ ปีก่อนซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกในเรื่องการทํานํ้าหมักชีวภาพสําหรับดื่มเป็นเจ้าแรกๆ โดยได้ศึกษาจากผู้รู้หลายๆท่านเช่น ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ ดร.อรรถบุญนิธีและ มร.ฮานคิวโช จากประเทศเกาหลีใต้ และพัฒนาประยุกต์เป็นแนวของตนเอง
ท่านได้ทดลองนํานํ้าหมักชีวภาพที่ผลิตได้ไปใช้กับกล้วย ปรากฏว่าได้ผลผลิตดีไม้ที่ใช้คํ้ากล้วยถึงกับหักกล้วย ๑ เครือต้องใช้คน ๒-๓ คนหามคราวหลังจึงต้องเลิกปลูกกล้วยเพราะพืชที่ปลูกด้านล่างเสียหายหมดจากการที่กล้วยล้มมาทับ จึงได้พบสัจธรรมว่าพบทางรอดแล้วที่จะช่วยเหลือเกษตรกรที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอด คราวนี้เกษตรกรรอดแน่ๆศึกษาแนวทางชีวภาพแล้วพบว่าดีกว่าเคมีปุ๋ยเคมียิ่งใส่ ดินยิ่งเสียส่วนปุ๋ยอินทรีย์ยิ่งใส่ดินยิ่งดี แล้วก็ไม่ต้องรอนานด้วยนักวิชาการบางคนบอกว่าการทําแนวเกษตรอินทรีย์ได้ผลช้า ต้องรอนานในการเปลี่ยนจากเคมีมาเป็นอินทรีย์ แต่อาตมาแนะนําให้น้องชายเปลี่ยนจากเคมีมาเป็นอินทรีย์ปีเดียวผลผลิตได้พอ ๆ กันพบว่าในแปลงที่ใช้ปุ๋ยเคมีได้ต้นข้าวประมาณ ๒๐ ต้นต่อกอขณะที่แปลงที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ข้าว ๓๐ ต้นต่อกอ แต่ละต้นสมบูรณ์ข้าวไม่ล้มขณะที่แปลงใช้ปุ๋ยเคมีข้าวงามแต่ล้มพันธุ์ข้าวที่ทดลองคือพันธุ์ขาวตาแห้ง และเมื่อนํานํ้าหมักชีวภาพไปใช้กับผักก็พบว่าได้ผลดีเช่นเดียวกัน ใช้กับผักคะน้าๆจะงามมาก ใช้กับถั่วฝักยาวฝักถั่วยาวเป็นแขนๆจึงได้เผยแพร่วิชาการ
สร้างเนินพอกิน ศูนย์เรียนรู้เกษตรอินทรีย์ต้นแบบแห่งการพึ่งตนเอง
สมณะเสียงศีล ชาตวโร ได้เริ่มไปอยู่พัฒนาตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2551 สานต่อเจตนารมณ์ของหมอฟากฟ้าหนึ่ง อโศกตระกูล โดยมีคุณยิ่งธรรม อุดมสุข ซึ่งเป็นญาติธรรม ร่วมกับคนงานซึ่งเป็นชาวบ้าน อยู่ใกล้ๆเนินพอกิน ช่วงานอยู่ก่อนแล้ว ประมาณ 5 6 คน ร่วมกันวางแผน คิดอ่านค่อยพัฒนาไปทีละขั้นตอนอย่างเป็นระบบและอย่างประโยชน์สูงประหยัดสุด จากประสบการณ์ที่บ่นเพาะมาอย่างยาวนาน ของสมณะเสียงศีลและภูมิปัญญาชาวบ้านของทีมงาน ช่วยกันปรับปรุงบำรุงดิน และจัดระบบน้ำอย่างประหยัด อะไรที่ทำเองได้ก็ทำเอง จะได้เป็นตัวอย่างแก่ผู้มาขอศึกษา ดูงาน เราตั้งใจอยากจะให้ที่นี่เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนให้กับชาวบ้านและผู้มาเยี่ยมเยียน รวมทั้งเป็นศูนย์อบรมเศรษฐกิจพอเพียง จึงต้องการเน้นพึ่งตนเอง ไม่จำเป็นต้องซื้อก็ไม่ซื้อ อย่างเช่น ปุ๋ยหมัก ก็ทำใช้เอง น้ำหมักก็ทำเอง สปริงเกอร์ก็ทำเอง ท่อน้ำก็เลือกใช้ที่ถูกและทนที่สุด ทำอย่างใช้ปัญญาและฝัมือโดยคำนึงถึงว่าคนจนที่มีทุนน้อยจะทำตามไหม การทำอะไรโดยใช้แต่เงินใช้แต่ของดี ของแพง ของสิ้นเปลือง ไม่ยากสำหรับคนมีเงิน แต่ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี คงเอาอย่างยาก เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ยังเป็นคนจน และไม่ได้ใช้ฝีมือใช้สมองอะไร
สมณะเสียงศีล ชาตวโร พัฒนาที่เนินพอกินร่วมกับทีมงานไม่ถึง 3 ปี ก็มีผัก ส่งไปเลี้ยงชุมชน จนไม่ต้องซื้อผักจากตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นผักพื้นบ้าน เช่น ผักปลัง ผักบุ้ง (มังกรหยก) มะเขือ พริก อีหร่ำ น้ำเต้า ถั่วพลู โหระพา กระเพรา ปลีกล้วย อื่นๆอีกมากมายหลายชนิด กล้วยน้ำว้าจะมีเยอะมาก ยังมีใบหม่อนส่งเจาะวิจัยทำชาใบหม่อนส่งขายจำนวนมาก ยังมีผักพื้นบ้านแปลกๆหลายสิบชนิด เช่น ผักติ้ว ผักแต้ว ผักแม็ก ผักยอดมะตูมซาอุ ฯลฯ อีก 2 3 ปี จะมีผลไม้หลายสิบชนิด เช่น มะยงค์ชิด มะปรางหวาน มะม่วงพันธุ์แปลกๆ เงาะ มังคุด ละมุด ลำใย มะเฟือง มะไฟ มะกรูด มะนาวมีหมด
ที่เนินพอกินได้สะสมพันธุ์กล้วยหายากไว้กว่า 100 ชนิด ใครสนใจศึกษาเรื่องกล้วยก็ไปดูได้ แม้แต่มะพร้าวก็มีเป็นสิบชนิด ทั้งมะพร้าวกะทิ มะพร้าวโบราณ มะพร้าวกินเปลือกได้ มะแพ้ว มะพร้าวพวงร้อย มะพร้าวหลากสี (ลูกสีแดง สีส้ม ฯลฯ) นอกจากเรื่องของผลไม้ต่างๆที่นับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ยังจะมีเรื่องพลังงานทดแทน ก็จะมีเรื่องของการใช้แสงอาทิตย์ สูบน้ำด้วยระบบของโซล่าเซล ปั่นจักรยานสูบน้ำ ได้ออกกำลังด้วย ได้ประโยชน์ด้วย การทำ Biogas ใช้เอง โดยหมักจากเศษอาหารในครัวเรือน อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังมีบ้านที่สร้างด้วยดินทั้งหลัง และบ้านที่สร้างด้วยฟางทั้งหลัง นอกจากจะประหยัดและทำได้เองแล้วยังช่วยปรับอุณหภูมิหน้าหนาว ในบ้านจะอุ่น หน้าร้อน ในบ้านจะเย็นสบาย
ป้ายคำ : ปราชญ์, เกษตรอินทรีย์, เศรษฐกิจพอเพียง