สละเป็นชื่อ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง เหมือนระกำ แต่ผลมีรสหวานคำแปลนี้ ทำให้ตีความ ได้ว่า ถ้าต้นไม้ชนิดเดียวกันนี้ ถ้ารสไม่หวาน จะจืดหรือเปรี้ยวก็ตาม เรียกว่า ระกำ คำว่า สละ ในความหมายนี้ไม่ใช่ภาษาไทยเป็นคำที่เอามา จากภาษาอินโดนีเซียว่า สะลัก (SALAK) หมายถึง ต้นไม้คล้ายระกำ รสหวาน เนื้อกรอบ การเอารสหวาน ของสละอินโดนีเซีย หรือสละชวา มาใช้จำแนกว่า ระกำเปรี้ยว เรียก ระกำ ระกำหวานเรียกว่า สละ เช่นนี้ ทำให้เข้าใจว่าคนไทยจำนวนน้อย มากที่รู้จัก สละ ของไทยเราเอง และทำให้คำว่า สละ มีความหมายสับสน นับเป็นพืชที่น่าจับตามองพืชหนึ่ง เป็นผลไม้ที่มีรสชาติหอมหวานเฉพาะตัวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และนิยมนํามาเป็นของฝาก เป็นพืชที่มีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตในเชิงการค้าได้ค่อนข้างเร็ว หากมีการดูแลปฏิบัติรักษาและจัดการปัจจัยการผลิตอย่างถูกต้องเหมาะสม
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zalacca edulis
วงศ์ Palmae
ชื่อสามัญ ซาเลา สละชะวา สลัก สะละ
ลักษณะ
สละเป็นพืชในวงศ์ปาล์มและอยู่ในสกุลเดียวกับระกำ ลักษณะต้นเป็นทรงพุ่มคล้ายระกำ มีหนามแหลมแข็ง ออกตามก้านใบ ดอกแยกเพศ สีน้ำตาล แต่เกสรตัวผู้ของสละมักไม่แข็งแรง ผสมติดน้อย เกษตรกรจึงนิยมเอาเกสรตัวผู้ของระกำมาผสมสละออกผลเป็นทะลายเรียก “คาน” ในแต่ละคานมีทะลายย่อยเรียก “กระปุก” ลักษณะผลของสละเป็นทรงยาวรี ผลอ่อนสีน้ำตาล เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกัน ผลแก่กลายเป็นสีแดงอมน้ำตาล บนผลมีขนแข็ง สั้น คล้ายหนาม ลักษณะของผลสละที่ต่างจากผลระกำคือมีเมล็ดเล็กกว่า สีเมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่า เนื้อสละเป็นสีเหลืองอ่อน ส่วนเนื้อระกำเป็นสีเหลืองอมส้ม สละมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์
ต้นสละ จะมีหนามแข็งแหลมออกจากก้านใบ ดอกแยกเพศสีน้ำตาล โดยสละออกผลเป็นทะลายเรียกว่า คาน ซึ่งในแต่ละคานก็จะมีทะลายย่อยซึ่งเราจะเรียกว่า กระปุก
ผลสละ ลักษณะของผลเป็นรูปทรงรียาว ผลอ่อนเป็นสีน้ำตาล ส่วนผลแก่เป็นสีแดงอมน้ำตาล เปลือกเป็นเกล็ดซ้อนกัน และบนผลมีขนแข็งสั้นคล้ายหนาม
โดยทั่วไปสามารถปลูกได้ดีเกือบทุกสภาพพื้นที่ แต่พื้นที่ที่เหมาะสมควร มีความลาดเอียง ไม่ควรเกิน 15% ไม่มีน้ำท่วมขัง ลักษณะดินควรเป็นดินร่วนปนทรายหรือดินร่วนปนเหนียวที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี มีชั้นดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร ระดับน้ำใต้ดินลึกมากกว่า 50 เซนติเมตร มีค่าความเป็นกรด-ด่างอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20-40 องศาเซลเซียส มีปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปีและการกระจายตัวของฝนดี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 60-70% มีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดช่วงฤดูแล้ง น้ำควรสะอาดไม่มีสารอินทรีย์และอนินทรีย์ที่เป็นพิษปนเปื้อน
การเลือกพันธุ์สละ มีวิธีการเลือกดังนี้
สำหรับสายพันธุ์สละที่นิยมปลูกในประเทศไทยก็มีอยู่หลายสายพันธุ์ เช่น สละเนินวง (ผลหัวท้ายเรียว สีส้มอมน้ำตาล มีหนามยาว ผลดิบรสฝาด ส่วนผลสุกมีรสหวานหอม), สละหม้อ (ผลยาว ปลายแหลมเป็นจะงอย และเปลือกมีสีแดงเข้ม), สละสุมาลี (ผลป้อมสั้น เนื้อมีส้มคล้ายระกำ แถมทรงต้นยังคล้ายระกำอีกด้วย)
พันธุ์ที่นิยมปลูก มีดังนี้
การปลูก
การเตรียมพื้นที่ในการปลูกสละ มีดังนี้
1. พื้นที่ดอนที่ปลูกไม้ยืนต้นไว้แล้ว
2. พื้นที่ลุ่มมีน้ำท่วมขังในฤดูฝน
วิธีการปลูก
ระยะปลูก
สัมพันธ์กับจํานวนต้นต่อพื้นที่โดยจํานวนต้นที่เหมาะสมเท่ากับ 100 ต้นต่อไร่ เช่น หากปลูกสละแบบต้นเดี่ยว ควรปลูกในระยะ 4×4 เมตร หรือ ปลูกแบบกอไว้กอละ 3 ต้น ควรปลูกในระยะ 6×8 เมตร เป็นต้น หรือสละ 1 ต้น ใช้พื้นที่14-20 ตารางเมตร
การปลูก
ขุดหลุมปลูกให้มีขนาดกว้าง ยาว ลึก ประมาณ 30 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟต อัตรา 500 กรัม/หลุม วางต้นพันธุ์แล้วกลบดินจนอยู่ระดับเดียวกับผิวดิน ควรเอาดินกลบโคนปีละ 1 ครั้ง
การพรางแสง
การดูแลรักษา
การดูแลรักษาสละในระยะก่อนให้ผลผลิต (อายุ 1-3 ปี)
การใส่ปุ๋ย
การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอประมาณ 100-118 ลิตร/กอ/วัน สําหรับระยะปลูก 6×6 เมตร
การตัดแต่งทางใบ
ไม่ควรตัดแต่งทางใบมากนักนอกจากทางใบที่แก่หมดสภาพแล้วเท่านั้น หากทางใบโน้มกีดขวางการทํางานควรใช้เชือกไนล่อนผูกรวบไว้ ทางใบที่ตัดแล้วควรนําไปปูคลุมรอบโคนต้นโดยคว่ำด้านหนามลงดิน หรือบดละเอียดด้วยเครื่องบดทางสะละเป็นปุ๋ยหมักต่อไป
การตัดแต่งหน่อและการไว้กอ
สละอายุได้ประมาณ 1 ปีจะแตกหน่อออกมาจํานวนมาก หากปลูกแบบกอควรเลี้ยงหน่อไว้เพียงหน่อเดียว (2 ต้นต่อกอรวมทั้งต้นแม่) จะทําให้สละตกผลเร็ว หลังจากนั้นค่อยเลี้ยงหน่อเพิ่มขึ้นให้ได้จํานวนต้นตามต้องการและคอยหมั่นตัดแต่งหน่อที่ไม่ต้องการออก
การดูแลรักษาสะละในระยะให้ผลผลิต (อายุ3 ปีขึ้นไป)
การใส่ปุ๋ย
การให้น้ำ
ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะในช่วงขาดฝนควรให้น้ำวันเว้นวันหรือ 100-118 ลิตร/กอ/วันสําหรับระยะปลูก 6×6 เมตร
การตัดแต่งทางใบ
การตัดแต่งหน่อและไว้กอ
หลังจากเลี้ยงหน่อได้จํานวนต้นที่ต้องการแล้วคอยหมั่นตัดหน่อที่ไม่ต้องการออกทั้งหน่อข้างต้น (หน่อต๊อก) และหน่อดินเมื่อสะละมีอายุได้ประมาณ 7-8 ปีหรือเมื่อต้นมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เมตร อาจตัดต้นแม่ออกนําไปขยายพันธุ์เพื่อให้มีช่องว่างตรงกลางกอ จะทําให้ปฏิบัติการดูแลรักษาสะดวกยิ่งขึ้น
การตัดแต่งดอก
ค้านดอกที่ออกมาในระยะก่อน 2 ปีควรตัดทิ้ง เพราะผลผลิตที่ได้ในระยะนี้จะไม่มีคุณภาพตัดแต่งช่อดอกในแต่ละคานให้เหลือปริมาณพอเหมาะกับความสมบูรณ์ต้น โดยสังเกตจากช่อดอกหากสมบูรณ์จะอวบยาว สีแดงเข้ม กาบหุ้มมีสีดําหรือสีน้ำตาล
การผสมเกสร
การโยงผล
โยงผลตามความเหมาะสมโดยเฉพาะในต้นเล็กที่กระปุกผลอยู่ใกล้พื้นดินสุขลักษณะและความสะอาด
การเก็บเกี่ยว
วิธีการเก็บเกี่ยว
วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
การเก็บรักษาผลผลิตและการบรรจุ
อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเก็บรักษาคือ 15 oC อายุของสะละที่สามารถเก็บรักษาได้นานที่สุด 37 สัปดาห์ หลังดอกบานโดยเก็บได้28 วัน เมื่อนําออกมาจากห้องเย็นยังมีอายุการวางจําหน่ายได้ อีก 3 วัน โดยคุณภาพไม่เปลี่ยนแปลง
สละเป็นผลไม้ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน บำรุงสมองเสริมสร้างความจำ เพราะมีโพแทสเซียมและเพคติน ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันอาการตาบอดตอนกลางคืน บำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ด้วยมีแคลเซียมและฟอสฟอรัส นับเป็นผลไม้ที่เหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนัก และป้องกันอาการหวัด บรรเทาอาการไอ ปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นยาขับเสมหะโดยใช้เนื้อสละ และในต่างประเทศบางแห่งมีการนำใบของต้นสละมาทำเป็นชาผสมกับน้ำผึ้ง เพื่อใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคริดสีดวง.
เนื้อนิ่ม ฉ่ำน้ำ สีน้ำตาลอ่อน รสหวานหอมของสละ มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างมาก โดยมีทั้งซูโครส ฟรักโทส และกลูโคสช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย มีเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ มีโพแทสเซียมที่ช่วยควบคุมระดับสมดุลของน้ำและความเป็นกรดด่างในเซลล์ นอกจากนี้สละยังมีวิตามินซี ฟอสฟอรัส แคลเซียม และเหล็ก สละมีสรรพคุณช่วยขับเสมหะ ป้องกันหวัด แม้แต่กลิ่นหอมของสละก็ยังมีการนำไปสกัดเป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่น ไอศกรีม ลูกอม น้ำหวานเข้มข้น
ที่มา:
กรมวิชาการเกษตร
สํานักส ่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ป้ายคำ : ผลไม้