สวนหม่อนไม้เป็นการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมกับภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ และปราชญ์แห่งผืนแผ่นดินไทย มาประยุกต์ สรรสร้างสวนในแนวทางของตนเอง เพื่อเป็นสถานที่รวบรวมและถ่ายทอดภูมิปัญญาแห่งการพึ่งตนเอง
ในการพึ่งตนเองเพื่อไปสู่ทางรอด ตามแนวทางพุทธวิถี โดยการนำหลักการทำงานให้ประสบความสำเร็จ หรืออิทธบาท ๔ มาใช้
๑. ฉันทะ สร้างความคิดในแนวทางที่ถูกต้อง เรียกอีกนัยหนึ่งว่า การเริ่มต้นต้องเริ่มที่ใจ นั่นคือ ต้องเชื่อมั่นในแนวทางแห่งการพึ่งตนเอง ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ด้วยการค้นคว้า เรียนรู้ หลักการ ปฏิบัติ ทดลอง ตามหลักเหตุและผล เพื่อให้ได้บทสรุปในแนวทางที่ถูกต้อง
ในปัจจุบันเป็นยุคแห่งทุนนิยมเสรี ผู้คนมีเสรีในการคิด ทำ ซึ่งนำรูปแบบการแลกเปลี่ยนด้วยระบบเงินตรามาใช้ในการจัดหาสิ่งจำเป็นในชีวิต ซึ่งเกินไปกว่า อาหาร บ้าน ผ้า และยา โดยถูกปรุงแต่งให้มีปัจจัยที่เกินความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ซึ่งเป็นการตอบสนองความอยากในทางที่ดีและไม่ดี นั่นคือ กิเลส ตันหา อันเป็นความอยากที่ไม่สิ้นสุดนั่นเอง จนสิ่งส่วนเกินเหล่านั้นเป็นค่านิยมทางสังคม ส่งแรงผลักให้ทุกคนต้องดิ้นรนตามกระแส ที่ถูกสร้างและชี้นำว่าต้องมีนั่นมีนี่ จนต้องวิ่งแสวงหาสิ่งเหล่านั้น ด้วยการหาเงิน เพราะเงินคือทุกอย่าง เมื่อถึงที่สุดก็ต้องตกในอำนาจแห่งแนวทางของทุนนิยม ทุนมากกินทุนน้อย ไม่มีทุนไม่มีโอกาส คนรวยจึงรวยยิ่งขึ้น คนจนยิ่งจนลง
ในแนวทางแห่งทุนนิยม หากไม่ผสานกับคุณธรรม ผลที่ได้ก็จนเป็นเฉกเช่นปัจจุบัน หากตั้งสติ ระลึกรู้เพื่อกลับมาเท่าทันและหาเหตุแห่งการดำเนินชิวิต จะพบว่าด้วยความต้องการแห่งชีวิต ต้องการเพียงปัจจัย ๔ อาหาร บ้าน ผ้า และยา ซึ่งทั้งหลายเหล่านี้สามารถสร้างได้ด้วยตนเอง ด้วยการสั่งสมภูมิปัญญาแห่งการพึ่งตนเองของบรรพบุรุษของเราชาวไทยและชาวโลกนั่นเอง
๒. วิริยะ เมื่อตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวความคิดที่ถูกต้องดีงามแล้ว ต้อง ททท (ทำทันที) ด้วยความมุ่งมั่น ทุ่มเท พยายามอย่างไม่ลดละ ด้วยสติและความเข้าใจที่ถ่องแท้ ความพากเพียร การการะทำที่ติดต่อ ไม่ขาดตอน เป็นระยะยาว จนประสบ ความสำเร็จ ด้วยความกล้าหาญ
จากการเรียนรู้สู้พื้นฐานในการดำรงชีวิตที่พึ่งพาธรรมชาติ ไม่ใช่การมุ่งเอาชนะธรรมชาติ และกลับมาสู่รากเหง้าของชีวิตจะพบว่า เมื่อเริ่มต้นจากความพอเพียง โดยสร้างปัจจัยพื้นฐานความจำเป็นของชีวิต อาหาร บ้าน ผ้า และยา
๓. จิตตะ ความตั้งใจที่จะทำงานให้สำเร็จต้องมีใจจดจ่อกับการทำงาน มีสติ ตามคำที่ว่า กินข้าวทีละคำ ทำทีละอย่าง เมื่อทำตามขึ้นตอนอย่างมีสติ ทำให้เกิดสมาธิ อันจะนำไปสู่ปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินชีวิตอย่างมีความมุ่งมั่น ตั้งใจกระทำ ซึ่งต้องผ่านการกระทำซ้ำๆ หลายต่อหลายครั้งจนเกิดประสบการณ์ สั่งสมประสบการณ์จนกลายเป็นความชำนาญ ลึกซึ่ง ถ่องแท้ และในที่สุดจะนำไปสู่ปัญญาที่เกิดจากความเข้าถึง และเข้าใจ ตามแนววิถีแห่งธรรม(ชาติ)
๔. วิมังสา ความสอดส่องใน เหตุและผล แห่งความสำเร็จ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ให้ลึกซึ้งยิ่งๆ ขึ้นไปตลอดเวลา รวมความหมาย ของคำว่า ปัญญา ไว้อย่างเต็มที่
ในการดำเนินชีวิตต้องมีการทบทวน หาเหตุและผล นำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเรียนรู้ และหาแนวทางที่เป็นคำตอบของชีวิต ซึ่งนั่นอาจจะเป็นเป้าหมายที่แท้จริงของการมีชีวิตของเราก็ได้
สำหรับการสร้างสวนหม่อนไม้จะแสดงถึงการนำแนวทางตามหลักแห่งวิถีพุทธ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงค้นพบ และนำมาแสดงเพื่อเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ตามทางสายกลาง ตื่นรู้และเท่าทัน นำไปสู่ ปฐมบทสู่วิถีเกษตร เริ่มต้นนับถอยหลังสู่วิถีเกษตร มุ่งหน้าสั่งสมภูมิปัญญาแผ่นดิน พร้อมกับก่อร่างสร้างสวน จนออกมาเป็น “สวนหม่อนไม้”
สวนประกอบด้วยที่ดินทั้งหมด 7 แปลง ออกแบบเป็นแปลงทดลองการทำเกษตร ตามหลักเกษตรธรรมชาติ ดังนี้