สวนผสม

28 มิถุนายน 2021

สวนผสม เป็นสวนที่สร้างขึ้นมาใหม่ จากสวนยางพาราหมดอายุ ปรับเปลี่ยนเป็นสวนผลไม้ มีการจัดวางแผนผังเพื่อรองรับการทำผลไม้อินทรีย์ ตามรูปแบบสวนสมรม

มีรายละเอียดดังนี้
– รอบสวน จัดระบบการบังลม และป้องกันสารเคมีด้วยการปลูกไม้ยืนต้น เช่น สะเดาเทียม ตะเคียน ยางป่า จำปาทอง เหรียง และไผ่ เช่น ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่บงหวาน ไผ่ลวก ไผ่กิมซุง ไผ่ซางนวล เป็นต้น
– ผลไม้ แบ่งออกเป็นระยะให้ผล และร่มเงาบังแสง โดยการจัดระบบปลูกดังนี้

ผลไม้หลัก ได้แก่ ทุเรียน ปลูกในระยะ 9×9 เมตร และเพิ่มเติมไม้ผลอื่นในช่องว่างระหว่างแถว เช่น มะพร้าว ขนุน กระท้อน ส้มโอ ชมพู่ มะดัน มะม่วง มะกอก มะขามป้อม เป็นต้น
ผลไม้รอง ปลูกผลไม้ที่ให้ผลระยะสั้น เก็บกินได้ทั้งปี ผลไม้ขนาดเล็ก ได้แก่ หม่อนกินผล ฝรั่ง เป็นต้น
หลุมพอเพียง ในช่องว่างระหว่างแถว ใช้กล้วยเป็นพี่เลี้ยง ปลูกพืชผัก เช่น มะนาว กระเจี๊ยบแดง ถั่วดาวอินคา ชะอม เป็นต้น
พืชผักสวนครัว ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น เผือก พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือพวง ผักบุ้ง ผักเสี้ยน เป็นต้น

จัดการสวนในแบบเกษตรอินทรีย์ ห่มดินด้วยใบไม้ของพืชที่ตกลงมา ปล่อยให้หญ้าเติบโตตามธรรมชาติ แล้วตัดทำเป็นปุ๋ยพืชสดในสวน ฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ท้องถิ่น) ช่วยย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช

– รอบสวน จัดระบบการบังลม และป้องกันสารเคมีด้วยการปลูกไม้ยืนต้น เช่น สะเดาเทียม ตะเคียน ยางป่า จำปาทอง เหรียง และไผ่ เช่น ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่บงหวาน ไผ่ลวก ไผ่กิมซุง ไผ่ซางนวล เป็นต้น

sahai05
– ผลไม้ แบ่งออกเป็นระยะให้ผล และร่มเงาบังแสง โดยการจัดระบบปลูกดังนี้
>> ผลไม้หลัก ได้แก่ ทุเรียน ปลูกในระยะ 10×8 เมตร และเพิ่มเติมไม้ผลอื่นในช่องว่างระหว่างแถว เช่น มะพร้าว ขนุน กระท้อน ส้มโอ ชมพู่ มะดัน มะม่วง มะกอก มะขามป้อม เป็นต้น
>> ผลไม้รอง ปลูกผลไม้ที่ให้ผลระยะสั้น ผลไม้ขนาดเล็ก ได้แก่ หม่อนกินผล ฝรั่ง เป็นต้น
>> หลุมพอเพียง ในช่องว่างระหว่างแถว ใช้กล้วยเป็นพี่เลี้ยง ปลูกพืชผัก เช่น มะนาว กระเจี๊ยบแดง ถั่วดาวอินคา ชะอม เป็นต้น
>> พืชผักสวนครัว ได้แก่ ขิง ข่า ตะไคร้ ขมิ้น เผือก พริก มะเขือยาว มะเขือเปราะ มะเขือพวง ผักบุ้ง ผักเสี้ยน เป็นต้น

sahai03 sahai02 sahai01 sahai06 sahai04

ด้วยการอาศัยหลักของการพึ่งพาอาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มเติมความสมดุลภายในสวนด้วยการเลี้ยงดิน โดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ประกอบด้วย มูลสัตว์ (ขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ไก่แกลบ) อินทรีย์วัตถุ (แกลบ ขุยมะพร้าว เศษใบไม้) ถ่านชีวภาพ (หรือแกลบดำ) น้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์ และฮอร์โมน) อาหารจุลินทรีย์ (รำละเอียด กากน้ำตาล) ในแบบเกษตรอินทรีย์ ห่มดินด้วยใบไม้ของพืชที่ตกลงมา ปล่อยให้หญ้าเติบโตตามธรรมชาติ แล้วตัดทำเป็นปุ๋ยพืชสดในสวน ฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ท้องถิ่น ไตรโคเดอร์ม่า) ช่วยย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช

ทำการห่มดิน อย่าเปลือยดินเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้น จุลินทรีย์ทำงานได้ดี โดยการใช้วัสดุเอามาใช้คลุมดินได้แก่ ฟางข้าว ใบไม้ หญ้าแห้ง หรือวัสดุอื่นตามที่หาได้ เช่นการตัดหญ้าในสวน ทำปุ๋ยพืชสดในตัว

homdinn

สำหรับการจัดการน้ำ ขุดบ่อน้ำ เพื่อทำการสำรองน้ำในยามแล้ง และทำคลองไส้ไก่เชื่อมโยงกัน ในรูปแบบสวนผลไม้ ป้องกันน้ำท่วมด้วยการทำท่อระบายสู่ลำธารสาธารณะ