สวนยางสมรม

14 กรกฏาคม 2021

สวนยางสมรม เป็นรูปแบบการปรับระบบสวนสมรมมาผสมผสานกับสวนยางพารา ด้วยการปลูกไม้หลากหลายชนิดปะปนในสวนยาง เน้นไม้ผลเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น
ไม้ยืนต้น เป็นไม้ชั้นบนระดับสูง ได้แก่ ทุเรียนบ้าน ยางนา สะตอ เหรียง ตะเคียน ยาง เป็นต้น ต้นไม้บางต้นเป็นไม้เดิมที่ไม่ได้ทำการโค่นทิ้งเมื่อเริ่มปลูกยางใหม่
ไม้ยืนต้นและไม้ผล เป็นไม้ชั้นบนระดับกลาง ได้แก่ ยางพารา มังคุด ลางสาด ลางสุก ทุเรียนสวน ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่บงหวาน ไผ่ซางนวล ไผ่หว่ะโซว มะไฟ มะดัน หมาก มะพร้าว ขนุน กล้วย เป็นต้น
ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร เป็นไม้ชั้นบนระดับล่าง ใช้แสงน้อย ได้แก่ ดาหลา ข่า สละอินโด เหลียง ชะอม อ้อดิบ เตยหอม เป็นต้น
และไม้เลื้อย ได้แก่ พริกไทย โดยใช้ต้นทุเรียน สะตอ เหรียง เป็นเสาให้พริกไทยเกาะเกี่ยว เลื้อยไปบนต้น

ด้วยการอาศัยหลักของการพึ่งพาอาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มเติมความสมดุลภายในสวนด้วยการเลี้ยงดิน โดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ประกอบด้วย มูลสัตว์ (ขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ไก่แกลบ) อินทรีย์วัตถุ (แกลบ ขุยมะพร้าว เศษใบไม้) ถ่านชีวภาพ (หรือแกลบดำ) น้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์ และฮอร์โมน) อาหารจุลินทรีย์ (รำละเอียด กากน้ำตาล) ในแบบเกษตรอินทรีย์ ห่มดินด้วยใบไม้ของพืชที่ตกลงมา ปล่อยให้หญ้าเติบโตตามธรรมชาติ แล้วตัดทำเป็นปุ๋ยพืชสดในสวน ฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ท้องถิ่น ไตรโคเดอร์ม่า) ช่วยย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช

สำหรับการจัดการน้ำ ขุดบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อทำการสำรองน้ำในยามแล้ง และยกร่องน้ำให้เชื่อมโยงกัน ในรูปแบบสวนผลไม้ ป้องกันน้ำท่วมด้วยการทำท่อระบายสู่ลำธารสาธารณะ

สวนยางสมรม เป็นรูปแบบการปรับระบบสวนสมรมมาผสมผสานกับสวนยางพารา ด้วยการปลูกไม้หลากหลายชนิดปะปนในสวนยาง เน้นไม้ผลเป็นหลัก โดยแบ่งออกเป็น

ไม้ยืนต้น เป็นไม้ชั้นบนระดับสูง ได้แก่ ทุเรียนบ้าน ยางนา สะตอ เหรียง ตะเคียน ยาง เป็นต้น

yangsomrom17 yangsomrom16

ไม้ยืนต้นและไม้ผล เป็นไม้ชั้นบนระดับกลาง ได้แก่ ยางพารา มังคุด ลางสาด ลางสุก ทุเรียนสวน ไผ่เลี้ยงหวาน ไผ่บงหวาน ไผ่ซางนวล ไผ่หว่ะโซว มะไฟ มะดัน หมาก มะพร้าว ขนุน กล้วย เป็นต้น

yangsomrom0 yangsomrom1 yangsomrom3 yangsomrom11 yangsomrom10

ไม้ผล พืชผัก สมุนไพร เป็นไม้ชั้นบนระดับล่าง ใช้แสงน้อย ได้แก่ ดาหลา ข่า สละอินโด เหลียง ชะอม อ้อดิบ เตยหอม เป็นต้น

yangsomrom4yangsomrom2

และไม้เลื้อย ได้แก่ พริกไทย โดยใช้ต้นทุเรียน สะตอ เหรียง เป็นเสาให้พริกไทยเกาะเกี่ยว เลื้อยไปบนต้น

yangsomrom14

ด้วยการอาศัยหลักของการพึ่งพาอาศัย และความสัมพันธ์ระหว่างพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ช่วยเพิ่มเติมความสมดุลภายในสวนด้วยการเลี้ยงดิน โดยการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ ประกอบด้วย มูลสัตว์ (ขี้หมู ขี้วัว ขี้ไก่ ขี้ไก่แกลบ) อินทรีย์วัตถุ (แกลบ ขุยมะพร้าว เศษใบไม้) ถ่านชีวภาพ (หรือแกลบดำ) น้ำหมักชีวภาพ (จุลินทรีย์ และฮอร์โมน) อาหารจุลินทรีย์ (รำละเอียด กากน้ำตาล) ในแบบเกษตรอินทรีย์ ห่มดินด้วยใบไม้ของพืชที่ตกลงมา ปล่อยให้หญ้าเติบโตตามธรรมชาติ แล้วตัดทำเป็นปุ๋ยพืชสดในสวน ฉีดน้ำหมักชีวภาพผสมจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์จาวปลวก จุลินทรีย์ท้องถิ่น ไตรโคเดอร์ม่า) ช่วยย่อยสลาย และปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช

pui1 yangsomrom19

สำหรับการจัดการน้ำ ขุดบ่อกักเก็บน้ำ เพื่อทำการสำรองน้ำในยามแล้ง และยกร่องน้ำให้เชื่อมโยงกัน ในรูปแบบสวนผลไม้ ป้องกันน้ำท่วมด้วยการทำท่อระบายสู่ลำธารสาธารณะ

yangsomrom13 yangsomrom5