สวนไผ่ร่วมยาง

7 กรกฏาคม 2021

สวนไผ่ร่วมยาง การปลูกพืชร่วมยางในระบบสวนยางยั่งยืน
เนื่องจากเนื่องจากเป็นพื้นที่ต่ำและรอบๆ​ทำเป็นสวนยางจึงยกร่องสวนให้เป็นที่เก็บน้ำยามแล้ง​และทำทางระบายน้ำที่ท้ายสวนให้ไหลลงไปตามลำธาร​
เมื่อปลูกยางพารา​และ ปลูกกล้วยน้ำว้าปนอยู่ในระหว่างร่องยางพารา ร่องเว้นร่อง เมื่อปลูกยางพารามาได้ 3-4 ปีจึงทำการปลูกไผ่ระหว่างกล้วยและต้นยางพารา ในรูปแบบพืชร่วมยาง
เริ่มต้นศึกษาการปลูกไผ่ในสวนยาง กรณีที่ยางมีอายุ 4 ปีขึ้นไป ต้นยางมีพุ่มใบปกคลุมพื้นที่ ปิดบังแสงใต้ต้นแล้ว ทดลองด้วยการปลูกไผ่หลายชนิด ได้แก่ ไผ่อินโดจีน ไผ่กิมซุง (ไผ่ตงลืมแล้ง) ไผ่ปักกิ่ง ซึ่งเป็นเป็นไผ่ที่ลำต้นสูงพอจะแข่งกับต้นยางได้​ ในระยะมีแสงส่องถึงพื้นน้อยลง และยังทดลองนำไผ่ขนาดเล็กมาปลูกด้วยเช่น ไผ่บงหวาน ไผ่ลวก ไผ่หวะโซว่ เป็นต้น

– เริ่มต้นทยอยตัดต้นกล้วยออก เพราะมีแสงน้อยไม่ค่อยโต ทดลองปลูกไผ่ ปี 2556 ด้วยไผ่ตงลืมแล้งอินโดจีน ไผ่กิมซุง ปี​ 2557 ลงไผ่ปักกิ่ง ในร่องยาง 6×3 เมตร ไผ่เหล่านี้เป็นไผ่ที่มีขนาดกลาง ลำต้นสูงใกล้เคียงกับต้นยางพารา และนำไผ่ขนาดเล็กมาปลูกด้วยเช่น ไผ่บงหวาน ไผ่หว่ะโซว เป็นต้น
– ระยะการเจริญเติบโตในช่วงแรกค่อนข้างช้า เพราะได้รับแสงน้อย ในช่วงปีแรก จำเป็นต้องไว้ลำทั้งหมด บางต้นไม่สามารถแทงลำใหม่แข่งกับต้นยางได้ ทำให้ยอดหัก ลำต้นบิดงอ
– เมื่อมีการสะสมอาหารมากพอจะเกิดลำใหม่ที่ใหญ่ขึ้น ต้นไผ่อยู่ในระยะปีที่ 2 จึงจะเริ่มเป็นกอ และขยายลำออก ลำต้นพุ่งสูงขึ้นแข่งในระดับเดียวกับต้นยางและสามารถเก็บหน่อไม้​บ้าง​ และนำไม้บางส่วนไปใช้งานได้​ ส่วนใหญ่จะไว้ลำก่อนเพราะจำนวนลำยังไม่มาก เลยปล่อยไว้ไม่ได้สางกอ
– เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 จะสามารถนำผลผลิตไปใช้ได้อย่างเต็มที่ทั้งหน่อไม้ และลำ รวมทั้งกิ่งเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป และเนื่องจากเป็นไผ่ที่สามารถออกหน่อตลอดทั้งปี ขึ้นอยู่กับการจัดการ จะให้ผลผลิตพอกินทั้งปี
ไผ่ร่วมยางเป็นทางออกหนึ่งในการสร้างอาหาร และไม้ใช้สอยโตเร็วในสวนยาง ในรูปแบบวนเกษตร เพราะนอกจากไผ่ ควรจะมีไม้ใช้สอยอื่นๆ ผสมผสานในสวนป่ายางด้วย

เริ่มต้นศึกษาการปลูกไผ่ในสวนยาง กรณีที่ยางมีอายุ 4 ปีขึ้นไป ต้นยางมีพุ่มใบปกคลุมพื้นที่ ปิดบังแสงใต้ต้นแล้ว ทดลองด้วยการปลูกไผ่หลายชนิด
กรณีไผ่กิมซุง (ไผ่ตงลืมแล้ง) ไผ่ปักกิ่ง เป็นไผ่ที่ลำต้นสูงพอจะแข่งกับต้นยางได้ในระยะมีแสงส่องถึงพื้นน้อย
– เริ่มต้นทดลองปลูก ปี 2556 ด้วยไผ่กิมซุง 2557 ด้วย ไผ่ปักกิ่ง ในร่องยาง 6×3 เมตร

y25571
– ระยะการเจริญเติบโตในช่วงแรกค่อนข้างช้า เพราะได้รับแสงน้อย ในช่วงปีแรก จำเป็นต้องไว้ลำทั้งหมด บางต้นไม่สามารถแทงลำใหม่แข่งกับต้นยางได้ ทำให้ยอดหัก ลำต้นบิดงอ
– เมื่อมีการสะสมอาหารมากพอลจะเกิดลำใหม่ที่ใหญ่ขึ้น อยู่ในระยะปีที่ 2 จึงจะเริ่มเป็นกอ และขยายลำออก ลำต้นพุ่งสูงขึ้นแข่งในระดับเดียวกับต้นยางและสามารถเก็บหน่อ และนำไม้บางส่วนไปใช้งานได้

y25572 y25573
– เมื่อเข้าสู่ปีที่ 3 จะสามารถนำผลผลิตไปใช้ได้อย่างเต็มที่ทั้งหน่อไม้ และลำ รวมทั้งกิ่งเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป และเนื่องจาเป็นไผ่ที่สามารถออกหน่อตลอดทั้งปี ขึ้นอยู้กับการจัดการ จะให้ผลผลิตพอกินทั้งปี

y25581 y25582 y25583 y25584

IF

ไผ่ร่วมยางเป็นทางออกหนึ่งในการสร้างอาหาร และไม้ใช้สอยโตเร็วในสวนยาง ในรูปแบบวนเกษตร เพราะนอกจากไผ่ ควรจะมีไม้ใช้สอยอื่นๆ ผสมผสานในสวนป่ายางด้วย
แต่เนื่องจากสวนยางที่ทดลองมีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่เศษ ทำให้มีจำนวนไม้ใช้สอยที่สามารถปลูกไม่มาก