เห็ดระโงกจัดเป็นราไมคอร์ไรซา (mycorrhizas) ที่มีความสัมพันธ์กับไม้วงศ์ยางในลักษณะการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน เอื้ออำนวย ประโยชน์ซึ่งกันและกันกับเซลล์ของรากพืช โดยที่ต่างฝ่ายก็ได้รับประโยชน์ (mutualistic symbiosis) ราจะช่วยดูดน้ำและธาตุอาหารจากดิน โดยเฉพาะฟอสฟอรัส (P) ให้แก่พืช ส่วนราก็ได้สารอาหารจากพืชที่ขับออกมาทางรากสำหรับใช้ในการเจริญเติบโต เช่น น้ำตาล โปรตีนและวิตามินต่างๆ
การสร้างสวนเห็ดระโงกมี 2 วิธี
การเพาะเห็ดระโงกนั้น เมื่อนำน้ำที่มีเชื้อเห็ดผสมอยู่ไปรดรากกล้าไม้แล้ว ประมาณ 4-6 เดือน จึงค่อยนำกล้าไม้ไปปลูกลงดิน ปีที่ 3 เห็ดจะเริ่มงอก ปีที่ 5-6 เห็ดจะเริ่มงอกเยอะขึ้น เราสามารถเพิ่มเชื้อเห็ดได้ระหว่างปลูกต้นกล้า
ไม้วงศ์ยางที่เหมาะสมในการปลูกเห็ดระโงก ได้แก่ ตะเคียนทอง พะยอม ยางนา กระบาก รัง ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดเห็ดระโงก ได้แก่ แสง อุณภูมิ ความชื้น ความหนาแน่นของฮิวมัส ชนิดของพืชที่ปลูกร่วม ถ้าบริเวณที่เพาะเห็ดระโงกมีพืชตระกูลขิงข่า เห็ดระโงกมักไม่เกิด
หมายเหตุ
เห็ดระโงกมี 3 ชนิด คือ เห็ดระโงกเหลือ เห็ดระโงกขาว และ เห็ดระโงหแดงส้ม โดยชื่อของเห็ดบ่งบอกถึงสีของเห็ด โดยเห็ดระโงกเหลืองจะมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูงกว่าชนิดอื่น
ข้อควรต้องระวัง
นอกจากเห็ดระโงก 3 ชนิดดังกล่าวที่กินได้ ยังมีเห็ดระโงกชนิดที่กินไม่ได้ เพราะเป็นเห็ดพิษ มีอันตรายถึงตาย คือเห็ดละโงกหิน การกินเห็ดละโงกหิน โดยหลงผิดว่าเป็นเห็ดระโงกขาว เห็ดไข่ เห็ดไข่ห่าน และการจำแนกเห็ดผิดพลาดมักเกิดกับเห็ดตูม หรือยังอยู่ในสภาพเหมือนไข่ หรือเห็ดไข่นั่นเอง
เห็ดละโงกหินและเห็ดพิษกลุ่มเดียวกันนี้ เป็นเห็ดในสกุล แอมอะนิต้า ( Amanita) ซึ่งมีทั้งกินได้ และเป็นเห็ดพิษ มีลักษณะสำคัญคือ ลำต้นขาว ครีบใต้หมวกมีสีขาว สปอร์ขาว มีวงแหวนที่ลำต้นบริเวณใต้หมวก มีปลอกหุ้มโคนต้น ส่วนด้านบนของหมวกเห็ดมีได้หลายสี คือ สีแดงหรือชมพูมีกระหรือเศษปลอกสีขาวติดเป็นดวง นี้เป็นเห็ด แอมอะนิต้า มัสคาเรีย หรือหมวกเห็ดสีขาวปนน้ำตาลมีลายจุดแบบลายเสือดาว เป็นเห็ด แอมอะนิต้า แพนเธอริน่า เห็ดสองชนิดนี้ออกฤทธิ์เร็วใน 15 นาที ปกติคนไข้อาจไม่ถึงตายถ้าไม่กินมากเกินไป เพราะออกฤทธิ์เร็วก็ช่วยให้อาเจียน สำรอกเห็ดพิษออก ส่งแพทย์ให้ช่วยล้างท้องได้ทันที ที่มักตายแน่นอนคือเห็ดละโงกหิน หมวกเห็ดสีเขียวตอนอ่อน หรือสีเทาดำ หรือสีหม่น โคนต้นแน่นและตัน พิษอยู่ภายในเซลล์ไม่สลายด้วยความร้อน ต้องกินและย่อยเห็ด พิษจึงจะเข้าไปสู่กระแสเลือด แสดงอาการหลังกินเห็ดแล้ว 6 ชั่วโมงไปแล้ว ผู้ใหญ่กิน 3 ดอกก็มีโอกาสตายแล้ว
ที่มา
http://www.thaigreenagro.com/aticle/aticle.aspx
http://it.doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_7-aug/korkui.html
ป้ายคำ : เพาะเห็ด