สะระแหน่เป็นพืชที่ใช้แต่งกลิ่นอาหารคาวและใช้เป็นเครื่องเทศมานานแล้ว โดยใช้ใบแต่งกลิ่นอาหารจำพวกพล่าและยำ แต่งกลิ่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลอกฮอล์ สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นเลื้อยไปตามดินและแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ทุกส่วนของลำต้นมีกลิ่นหอม ใบรูปไข่ ปลายใบกลม ขอบใบหยักเป็นแบบซี่ฟัน ก้านใบสั้น ต้น สะระแหน่จะขึ้นเจริญงอกงามเมื่อปลูกในที่สูง ถ้าปลูกบนพื้นที่ราบจะเห็นดอกได้ยาก เดิมทีเป็นพืซที่ปลูกในทวีปยุโรป แต่ต่อมานำมาปลูกทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยมักปลูกสะระแหน่ตามบ้านและสวนเพื่อใช้เป็นพืชสวนครัว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Metha cordifolia Opiz.
ชื่อวงศ์ : Labiatae
ชื่อสามัญ : Kitchen Mint, Marsh Mint
ชื่ออื่น : หอมด่วน หอมเดือน (ภาคเหนือ), มักเงาะ สะแน่ (ภาคใต้), สะระแหน่สวน (ภาคกลาง), ขะแยะ (อีสาน)
สะระแหน่ เป็นพืชที่ใช้ปรุงอาหารประเภทยำ ลาบ พล่า ต้มยำ อาหารที่มีรสจัด และช่วยปรุงแต่งกลิ่นให้น่ารับประทานยิ่งขึ้น นอกจาก นั้น ยัง ใช้ทำยา และสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมอีกหลายอย่าง
สะระแหน่ เป็นพืชประเภทไม้เลื้อยคลุมดิน ใบมีลักษณะป้อม ๆ สีเขียว ขอบใบย่น ชอบดินร่วนซุย ปลูกง่าย งอกงามได้รวดเร็ว หากดูแลรักษาอย่างดี ใบจะงามและเก็บใบได้เร็วขึ้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
สะระแหน่เป็นพืชล้มลุกที่เลื้อยปกคลุมดิน มีลำต้นขนาดเล็กแตกกิ่งก้านสาขามากมาย ใบเป็นรูปไข่หรือรูปวงรีเห็นเส้นใยชัดเจน ปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ก้านใบสั้น ทั้งใบและลำต้นมีกลิ่นหอม
สะระแหน่เป็นพืชในสกุล Mentha ในวงศ์ Labiatae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับโหระพา กะเพรา พืชสกุล Mentha มักเรียกในภาษาไทยว่ามิ้นต์ มีอยู่หลายชนิด เช่น Peppermint (Mentha piperita L.), Spearmint (Mentha spicata L.) มิ้นต์ญี่ปุ่นหรือต้นน้ำมันหม่อง (Japanese mint, Mentha arvensis L. var piperascens Malinvaud) ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีเมนทอลในปริมาณสูง เป็นพันธุ์ที่ส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้าในปัจจุบันเพื่อนำมากลั่นนํ้ามันมิ้นต์และแยกสารเมนทอล เพราะจะให้เมนทอลสูงถึง 80-89% นอกจากนี้ยังมีสะระแหน่ ญวน (Mentha pulegium L.) ซึ่งปลูกมากในอินเดีย ส่วนเบอร์กามอตมิ้นต์ (.Mentha citrata L.) เป็นพืชพื้นเมืองของยุโรป นํ้ามันที่สกัดได้จะมีกลิ่นคล้ายลาเวนเดอร์ มีปลูกมากในรัฐนิวเจอร์ซี่ ฟลอริดา โอไฮโอ ของประเทศสหรัฐ อเมริกา
สำหรับสะระแหน่ที่คนไทยนำมาใช้เป็นอาหารและเครื่องเทศนั้น มีเมนทอล (menthol) และสารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ในทางเภสัซกรรมในปริมาณน้อยมาก เพียงแต่ปลูกเพื่อใช้ปรุงแต่งรสและกลิ่นอาหารเท่านั้น สารที่พบได้ในใบและลำต้นสะระแหน่ เช่น ไลโมนีน, เอททิลเอมิลคาร์บินอล (ethylamylcarbinol) และนีโอเมนทอล (neomenthol) เป็นต้น
วิธีใช้สะระแหน่เพื่อสรรพคุณด้านสุขภาพ คือ ใบสด นำมาตำแล้วพอกแก้ปวดบวม ผื่นคัน หรือใบสะระแหน่นำมาชงเป็นชาดื่มบรรเทาอาการหวัด ขับเหงื่อ ระบายความร้อน ขับลมในลำไส้ และช่วยย่อยอาหาร เพราะสารเมนทอลในสะระแหน่มีคุณสมบัติเย็นใช้รักษาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน หลอดลมอักเสบ และหอบหืด นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการปวดต่าง ๆ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ ปวดฟัน โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง รักษาอาการบิด ปวดท้อง ท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย บรรเทาอาการปวดแผล โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียดพอกบริเวณที่โดนกัด รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหูจะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วย ห้ามเลือดกำเดา ได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่หยอดที่รูจมูก และรักษาอาการหน้ามืดตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่ ที่สำคัญการรับประทานสะระแหน่ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
สรรพคุณ
สะระแหน่ นั้นมีสรรพคุณมากมาย เช่น เป็นยาดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับลม ขับเหงื่อ รักษาอาการ หวัดได้ และยังสามารถแก้อาการ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อได้ และหากนำน้ำ ที่คั้นจากต้น และใบมาใช้ดื่ม ก็จะช่วยขับลมในกระเพาะได้ หรือใครจะกินสดๆ เพื่อดับกลิ่นปากก็ยังได้ นอกจากนี้ การบริโภคสะระแหน่ ยังช่วยให้สมองปลอดโปร่ง โล่งคอ ป้องกัน ไข้หวัด บำรุงสายตา และช่วยให้หัวใจแข็งแรง
รักษาอาการปวดศรีษะ ปวดฟัน เจ็บคอ เจ็บปาก เจ็บลิ้น โดยดื่มน้ำต้มใบสะระแหน่ 5 กรัม กับน้ำ 1 ถ้วย ผสมเกลือเล็กน้อย วันละ 2 ครั้ง
รักษาอาการบิดท้องร่วง อุจจาระเป็นเลือด โดยนำใบสะระแหน่ต้มดื่มแต่น้ำ
แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย โดยตำใบสะระแหน่ให้ละเอียด พอกบริเวณที่โดนกัด
ช่วยห้ามเลือดกำเดาได้ โดยใช้สำลีชุบน้ำที่คั้นจากใบสะระแหน่ หยอดที่รูจมูก
รักษาอาการปวดหู โดยนำน้ำคั้นจากใบสะระแหน่หยอดหู จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ดี
รักษาอาการหน้ามือตาลาย โดยรับประทานน้ำต้มใบสะระแหน่และขิงสด
มีรายงานว่าใบสะระแหน่สามารถระงับอาการปวดได้ดีกว่ายาแก้ปวด
ขนาดและวิธีใช้
ถ้านำใบและก้านสะระแหน่ไปต้มและกลั่นด้วยไอน้ำจะสกัดได้น้ำมันสะระแหน่ และน้ำกลั่นสะระแหน่ ซึ่งใช้เป็นยาขับลม ดับร้อน ถอนพิษไข้ ขับเหงื่อ ใช้รักษาหวัดลมร้อน ปวดศรีษะ ตาแดง เจ็บคอ และใช้ผสมในยาแผนปัจจุบัน หรือยาอมเพื่อให้เย็นชุ่มคอชื่นใจ
ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
ใบสดและลำต้น
วิธีใช้ประกอบอาหาร
ใบสะระแหน่ใช้ลดกลิ่นคาวของอาหารจำพวกพร่า ยำ และลาบ ใช้แต่งกลิ่นเครื่องดื่มและเหล้า ข้อสังเกต/ข้อควรระวัง
ใบสะระแหน่สดและยอดอ่อน มีสรรพคุณดีกว่าใบสะระแหน่แห้ง
การปลูกสะระแหน่ ใช้วิธีการปักชำในแปลงปลูก หรือจะชำในแปลงเพาะก่อนแล้วจึงย้ายมาปลูกได้เช่นเดียวกัน แต่ข้อสำคัญคือต้องเตรียมดิน ให้ร่วนซุย ดีเสียก่อน เพราะสะระแหน่ชอบดินประเภทนี้
การเตรียมดิน ถ้าจะปลูกสะระแหน่ในภาชนะเช่น กระถางลังไม้ หรือจะปลูกเป็นสวนหย่อมประดับบ้าน ปลูกในแปลงประดับสวนเล็กๆ ที่ใช้เนื้อที่ปลูก ไม่ มาก นักควรใช้ดินผสมที่มีส่วนผสมของดิน 2 ส่วน ปุ๋ยหมัก 1 ส่วน ทราย 1 ส่วน และปูนขาวเล็กน้อย ผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี แล้ว นำไปใช้ปลูกได้
วิธีการปลูกสะระแหน่ เลือกกิ่งสะระแหน่ที่ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ปักจิ้มลงไปในแปลงเพาะชำทหรือแปลงปลูก ปักให้กิ่งเอนทาบกับดิน รดน้ำให้ชุ่มแต่อย่าให้ ถึง กับแฉะแล้วโรยแกลบทับ กลบดินเพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้หน้าดิน และเมื่อแกลบผุก็จะกลายเป็นปุ๋ยต่อไป ประมาณ 4-5 วันก็จะ แตก ใบ แตกยอดเลื้อยคลุมดิน ต้นสะระแหน่ชอบดินร่วนซุยที่ระบายน้ำได้ดี และต้องการแสงสว่าง แต่ไม่ต้องการแดดที่ร้อนจัดจน เกินไป จะปลูกในที่ร่มรำไรหรือในที่แดดก็ได้
การดูแลรักษาสะระแหน่ เมื่อสะระแหน่เจริญเติบโตจนเก็บยอดไปได้แล้ว ควรเติมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้บ้าง ไม่ควรใส่ปุ๋ยเคมี เพราะถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ ต้น สะระ แหน่เหี่ยวตาย การพรวนดินให้ต้นสะระแหน่ควรทำด้วยความระมัดระวัง เพราะสะระแหน่เป็นพืชที่มีระบบรากตื้น แผ่กระจาย อยู่ตามหน้าดิน
ป้ายคำ : ผักพื้นบ้าน