สะเดาเทียม ไม้โตเร็ว คุณภาพดี

19 ตุลาคม 2556 ไม้ยืนต้น 0

สะเดาเทียม เป็นไม้โตเร็ว เนื้อไม้ คุณภาพดี ปลวกและมอดไม่คอยทำลาย สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน เนื้อไม้ ใช้ทำเครื่องเรือน เครื่องแกะสลัก ดอกอ่อน ใช้รับประทานได้ เมล็ด นำมาสกัดสารทำยาฆ่าแมลงเปลือก ต้มทำยาแก้บิดหรือท้องร่วง

สะเดาในไทยมี 3 ชนิดคือ สะเดาอินเดีย (ไทยเรียกควีนิน) สะเดาช้าง (ไม้เทียม ต้นเทียม สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่) และสะเดาไทย คุณสมบัติสะเดาทั้ง 3 ชนิด คล้ายคลึงกัน นำมาใช้แทนกันได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs.
ชื่อวงศ์ Miliaceae
ชื่อสามัญ สะเดาเทียม
ชื่อพื้นเมือง เทียม, สะเดาช้าง (ตรัง)

สะเดาเทียม เป็นไม้ยืนต้น ไม้ผลัดใบขนาดใหญ่ สูงถึง 30-40 ม. โตเร็ว ลำต้นเปลาตรง เปลือกไม้เรียบ เมื่ออายุยังน้อย เมื่ออายุมากขึ้นเปลือกจะแตกล่อนเป็นแผ่น โคนต้นเป็นพุพอน เนื้อไม้สีน้ำตาลแดง รูปทรง (เรือนยอด) เป็นพุ่มค่อนข้างโปร่ง มีกิ่งก้านน้อย

  • ใบ เป็นรูปช่อแบบขนนก ก้านใบยาว 20-60 ซม. ขึ้นรวมกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย ใบหนา เกลี้ยงและมีสีเขียวเป็นมัน ตามกิ่งจะเห็นเป็นรอยแผลที่เกิดจากการหลุดของก้านใบ
  • ดอก ออกเป็นช่อจามง่ามใบ ก้านดอกยาวประมาณ 1 มม. มีขนสั้นละเอียดปกคลุม กลีบดอก 5 กลีบ
  • สี สีขาวอมเขียวอ่อน
  • กลิ่น กลิ่นหอม
  • ผล รูปไข่ เมื่ออ่อนมีสีเขียว ขนาด 2.4-3.2×1.3-1.6 ซม. เปลือกผลหนามีเนื้อนุ่มภายในกลีบดูจะมียางสีขาวไหลออกมา
  • ผลแก่ สีเหลือง ไม่แตก ผลแก่ในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง มิถุนายน

sadoateamt

การขยายพันธุ์และการผลิตกล้า จะขยายพันธุ์ได้ง่ายโดยใช้้เมล็ด ผลสุกที่เก็บมาต้องเอาเนื้อหุ้มเมล็ดออกโดยการแช่น้ำแล้วขยำแล้วนำเมล็ดมาผึ่งลม เมล็ดที่ได้มาควรรีบเพาะเนื่องจากอัตราการงอกจะลดลงภายใน 2-3 สัปดาห์ การเพาะเมล็ดอาจทำโดยการหว่านเมล็ดลงในแปลงเพาะเมื่อเมล็ดงอกแล้ว ย้ายลงถุงหลังการเพาะประมาณ 7 วัน

  • ดิน ดินร่วนปนทราย ซึ่งมีการระบายของน้ำและอากาศดี
  • ความชื้น ปริมาณน้ำฝน 1,600-2,000 มม. หรือถ้าปริมาณน้ำฝนน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 600-1,400 มม.
  • การคัดเลือกพื้นที่และเตรียมพื้นที่ปลูก สะเดาเทียมสามารถเจริญเติบโตได้ทั้งในพื้นที่ราบและที่ลาดเชิงเขาที่มีดินร่วนปนทรายมีการระบายน้ำดี และเป็นพันธุ์ไม้ที่กระจายพันธุ์เฉพาะในพื้นที่ทางภาคใต้ดังนั้นภาคใต้จึงเหมาะสมกว่าภาคอื่น พื้นที่ที่เป็นที่ราบควรไดพรวนและยกร่องก่ิอนปลูก

วิธีการปลูกและระยะปลูกที่เหมาะสม ทางภาคใต้นิยมปลูกประมาณเดือนพฤษภาคมถึงธันวาคม นิยมปลูก 2 แบบ คือ 1.ขุดหลุมปลูก ขนาดหลุมประมาณ 30x30x30 ซม. วิธีนี้นิยมใช้กับกล้าถุง 2.ใช้ไม้เสี้ยมปลายแหลมนำร่องปลูก โดยนำร่องลึกพอเหมาะกับระดับคอรากของกล้าไม้ วิธีนี้เหมาะกับกล้าเปลือยรากหรือกล้าที่ดอนมาปลูกจะปลูกระยะ 2×2, 2×4 และ 4×4 ม.

sadoateambai

โรคและแมลง แมลงที่ทำลายได้แก่ ตัวแมลงกินูน จะกันกินทั้งใบอ่อน และใบแก่ หนอนคืบกินใบสะเดาเทียม จะกินจนใบต้นไม้โกร๋นทั้งแปลง

อัตราการเจริญเติบโต มีอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยปีละประมาณ 8-10 ซม. โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีแรก ค่อนข้างจะโตเร็วมาก

sadoateamp

สะเดาช่วยป้องกันศัตรูพืช
สารสกัดสะเดาที่มีในเมล็ดและใบ มีฤทธิ์ในการฆ่าแมลง ขับไล่แมลง ต่อต้านการดูดกิน ยับยั้งการเจริญเติบโต ป้องกัน และกำจัดแมลงได้หลายชนิด เช่น เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจั๊กจั่นสีเขียว หนอนกอ หนอนกอสีครีม หนอนใยกะหล่ำ หนอนใยผัก ฯลฯ
วิธีการแรกโรยเมล็ดสะเดาบดตามแปลงผักเพื่อปรับสภาพดิน นำเมล็ดสะเดากะเทาะเปลือก 1 กิโลกรัม ห่อผ้าแช่น้ำ 1 คืน ไปฉีดพ่นตามแปลงพืช อาจใช้สบู่ผสม เป็นสารจับใบ ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน ในตอนเย็น

สูตรสมุนไพรกำจัดแมลง
ใบสะเดาแก่ 2 กิโลกรัม ข่าแก่อายุ 1 ปีขึ้นไป 2 กิโลกรัม และตะไคร้หอมทั้งต้น 2 กิโลกรัม โดยนำส่วนผสมทั้งหมดตำละเอียด ไปหมักในน้ำ 1 ปี๊บ แช่ทิ้งไว้ 1 คืน (เกิน 1 คืน จะบูดใช้ไม่ได้) รุ่งเช้านำมากรองด้วยตาข่าย หรือมุ้งลวด บีบน้ำให้สะเด็ด นำน้ำยามาผสมกับน้ำในอัตราส่วน น้ำยา 1 ลิตร ต่อน้ำ 1-2 ปี๊บ นำไปฉีดต้นไม้
หมายเหตุ น้ำยาที่กรองเอากากออกแล้วอยู่ได้หลายวัน ถ้าใช้ไม่หมดให้เก็บไว้ในขวดสีชา หรือแกลลอสีดำ เก็บไว้ในที่ค่อนข้างมืด แดดส่องไม่ถึง สูตรนี้ถ้าใช้เมล็ดแทนใบ จะกำจัดแมลงทุกชนิด ยกเว้นด้วงและแมลงปีกแข็ง

สูตรไล่หอย เพลี้ยไฟ
ยูคาลิปตัส ยอดสะเดา ข่าแก่ บอระเพ็ดอย่างละ 2 กิโลกรัม จุลินทรีย์ กากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว โดยนำยูคาลิปตัส สะเดา ข่าแก่ บอระเพ็ด แต่ละอย่างแยกใส่ปี๊บ ใส่น้ำให้เต็ม ต้มให้เหลืออย่างละครึ่งปี๊บ ทิ้งไว้ให้เย็น นำมาเทรวมในถังใหญ่ ใส่จุลินทรีย์ 1 แก้ว กากน้ำตาล 1 แก้ว ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ 3-5 วัน ใช้ครึ่งแก้ว ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่น รดในแปลงผัก พืช ในนาข้าว ป้องกันใบข้าวไหม้ด้วย

sadoateamton

สะเดามีคุณสมบัติเป็นยาทั้งสิ้น

  • รากสะเดา มีรสขมฝาดเย็น แก้เสมหะ ที่จุกคอ และแน่นอยู่ในอก
  • เปลือกต้นสะเดา มีรสขมฝาดเย็น เป็นยาขมเจริญอาหาร แก้ไข บิดมูกเลือด แก้ท้องร่วง กษัย (โรคซูบผอมแห้งแรงน้อย) แก้กองเสมหะ ต้มน้ำ ใช้ชะล้างแผลที่กลาย
  • กระพี้สะเดา มีรสขมเย็นฝาดเล็กน้อย แก้น้ำดีพิการให้คลั่งเพ้อ แก้เพ้อคลั่ง บำรุงน้ำดี
  • แก่นสะเดา มีรสขมฝาดเย็น แก้คลื่นเหียนอาเจียน แก้ลม กินตัดไข้จับ แก้ไข้ตัวร้อน ไข้จับสั่น บำรุงไฟธาตุ (ช่วยย่อยอาหาร) บำรุงโลหิต
  • ใบสะเดา มีรสขมฝาดเย็น บำรุงไฟธาตุ (ขับน้ำย่อยอาหาร) ทำให้อุจจาระละเอียด พอกฝี แก้พิษฝี แก้ไข้ แก้พยาธิทั้งปวง แก้โรคในคอ บำรุงโลหิต และน้ำดี แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใบอ่อนแก้โรคผิวหนัง น้ำเหลืองเสีย
  • ดอกสะเดา มีรสขม แก้พิษโลหิตกำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอที่มีอาการคันเหมือนมีตัวไต่อยู่ บำรุงธาตุ
  • ผลอ่อน มีรสขมปร่า แก้ลมหทัยวาต (ลมเกิดในหัวใจ) ฆ่าพยาธิ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะผิดปกติ เจริญอาหาร
  • ผลสะเดา มีรสขมเย็น มีสารที่มีรสขมใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ท้องเป็นบิดมูกเลือด เป็นยาระบาย แก้โรคหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ยางสะเดา มีรสขมเย็น ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
  • น้ำมันจากเมล็ดสะเดา เรียกว่า margosa oil แก้โรคผิวหนัง

sadoateammai

ป้ายคำ :

เรื่องที่เกี่ยวข้องกับหมวด ไม้ยืนต้น

แสดงความคิดเห็น